เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

THINK SMART ACT SMART คิดให้ล้ำ ทำให้สำเร็จ

   
ผู้เรียบเรียง : ดาร์เรน บริดเจอร์และเดวิด ลูวิส 
สำนักพิมพ์ : บริษัท เกียวโต เนชั่น พริ้นติ้ง จำกัด
จำนวนหน้า : 140 หน้า
ราคา : 175 บาท
ผู้สรุป : พูนสุข มนัสวิวัฒน์  
   
   
บทสรุป :

       

      

           ผู้เขียนทั้งสองคนเป็นนักจิตวิทยาและเป็นผู้ก่อตั้งองค์กรด้านการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านพัฒนาทักษะการคิด

                                หนังสือเล่มนี้บรรจุเนื้อหาที่เป็นประโยชน์หากลงมือทำจะก้าวไปถึงเส้นชัยและประสบผลสำเร็จ

                                ติดตามสรุปรูปแบบที่นำไปปฏิบัติได้ทุกประการ สาระสำคัญ  คือ  การตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะต้องพึ่งความคิดที่มีจินตนาการและกำหนดจิตใจให้จดจ่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

                                ผู้สรุปขอแนะนำผู้ที่เป็นวิทยากรไม่ควรพลาดอ่านหนังสือเล่มนี้  เพราะมีแบบฝึกหัดฝึกฝนความคิดและแบบประเมินผล  รวมถึงมีภาพประกอบที่นำไปใช้ได้อย่างสบาย  ยิ่งวิทยากรที่มีความคิดที่สร้างสรรค์ก็จะทำให้ผู้ฟังการบรรยายไม่เบื่อแถมสนุกสนานอีกด้วย  เริ่มอ่านกันเลยค่ะ

                                *  ต้องมีความเด็ดขาดในการตัดสินใจว่าเรื่องใดควรเร่งทำและเรื่องใดควรรอไว้  เพราะจะทำให้มีความคิดก่อนตัดสินใจที่มีความยืดหยุ่นและสร้างสรรค์

                                *  ให้บันทึกว่า  เวลาไหนคุณมีสมาธิดีที่สุดเพื่อประมวลการให้คะแนน แล้วเลือกเวลาที่จะปฏิบัติโดยมุ่งหวังให้งานมีประสิทธิภาพ

                                *  เมื่อเผชิญกับปัญหาที่ไม่คุ้นเคย ให้ศึกษาข้อมูลรายละเอียดและคิดหาวิธีแก้ไขอย่างสุขุม  รอบคอบ

                                *  ขั้นตอนการระดมสมอง มี 2 ขั้นตอน

ขั้นแรก     คือ  การเสนอความคิดให้มากที่สุด

ขั้นที่สอง  คือ  การประเมินผล

                                *  ลองแบ่งเวลาอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมงเพื่อผ่อนคลายด้วยการทำให้เกิดมโนภาพ  ด้วยวิธีดังนี้   

                1. หลับตา  นั่งตัวตรงที่สุด

                2. ขยี้เปลือกตาเบา ๆ จะทำให้เกิดภาพขึ้นมาซึ่งเกิดจากแรงกดบนจอประสาทตา

                3.จ้องไปที่หน้าต่าง  หลังจากนั้นหลับตาจะเกิดภาพที่ติดตาอยู่  ให้จ้องภาพนั้นแล้วปล่อยให้เปลี่ยนไปเป็น

ภาพอื่น ๆ

                -  นั่งมองดูท้องฟ้า จ้องมองเมฆและทำตัวสบายแล้วค่อย ๆ ปล่อยให้จินตนาการของคุณสร้างรูปภาพต่าง ๆ จากโครงร่างของเมฆ

                *  นำสัญชาตญาณมาใช้ประโยชน์  นั่นคือ  การได้รับแรงผลักดันจากจิตใต้สำนึก อย่างลึกลับและเข้าใจได้ยากมาเป็นความคิดสร้างสรรค์

                * ความผิดพลาดส่วนใหญ่ในการตัดสินใจนั้นไม่ได้ผิดพลาดเรื่องการใช้เหตุผล  แต่มันผิดพลาดที่การรับรู้เรื่องนั้นในตอนแรก  ดังนั้นการมองดูสิ่งต่าง ๆ จากมุมมองที่แตกต่างจึงเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่ง

                *  การวิเคราะห์ทางเลือก  คือ  กุญแจสำคัญของการตัดสินใจที่ดี ต้องเข้าใจว่าปัญหานั้นเป็นรูปแบบใด

 เป็นปัญหาที่พอที่จะควบคุมได้หรือไม่ได้  จึงควรคิดอย่างมีเหตุผลรวมถึงการนำประสบการณ์ในอดีตมาใช้ด้วย

                *  วิธีจัดการปัญหาที่มีทางออกทางเดียว คือ ต้องรีบกำจัดทางตันออกไป

                *  แผนผังทางแก้ปัญหา ต้องทำดังนี้

-          เขียนจุดเริ่มต้น

-          เขียนช่องแต่ละช่องที่เป็นทางแก้ปัญหาแล้วลากเส้นเชื่อมโยงกับจุดเริ่มต้น

-          เพิ่มขั้นตอนที่พอจะเป็นไปได้เรื่อย ๆ จนกว่าจะคิดไม่ออก

*  เรื่องที่เราพยายามจะควบคุมให้ได้อยู่เสมอแต่ความจริงแล้วทำไม่ได้ คือ

-          การกระทำของคนอื่น

-          ความคิดและความรู้สึกของคนอื่น

-          ผลลัพธ์ตอนสุดท้ายของเหตุการณ์ทั้งหลาย

-          ความรู้สึกของเราเอง

*  หลักการเคารพตนเองที่ นาธาเนียล  แบรนเดน  นักจิตวิทยา แนะนำให้ฝึกปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

 มี 6 ข้อ ดังนี้

-          ใช้ชีวิตอย่างมีสติ หมายถึง พยายามให้รู้ตัวตลอดเวลา ทำอะไรให้เหมาะสมกับสถานการณ์และไม่ปฏิเสธความเป็นจริง

-          ยอมรับข้อดีและข้อเสียของตนเอง

-          รับผิดชอบตัวเอง

-          กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก

-          ใช้ชีวิตอย่างมีจุดหมาย

-          ซื่อสัตย์ต่อตนเอง

*  ศาสตราจารย์แฮดดอน  ดับเบิลยู  โรบินสัน นักเทววิทยาชาวอเมริกัน เคยเขียนไว้ว่า วิธีกำจัดความกังวลเพื่อให้เกิดความสมดุลในการกระตุ้นจิตใจ มีดังนี้

-          อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง  เพราะความกังวลเหมือนวัชพืชที่โตขึ้นในสวนอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ต้องกำจัดเสียแต่เนิ่น ๆ ซึ่งจะทำได้ง่ายกว่า แทนที่จะปล่อยให้มันฝังรากลึก

-          ยิ่งผัดผ่อนการตัดสินใจ ยิ่งก่อให้เกิดความกลุ้มใจอย่างไม่รู้จบกับผลลัพธ์อันน่ากลัวที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น ขอให้ลงมือทำ

-          การใช้กลยุทธ์เพิ่มความเคารพนับถือตนเองจะช่วยให้คุณลดหรือถึงขั้นขับไล่ความกังวลได้

*  ขอให้หลีกเลี่ยงการตัดสินใจ เมื่อ

-          รู้สึกเหนื่อย

-          รู้สึกกังวลมากเกินไป

-          รู้สึกโกรธหรืออารมณ์เสีย

-          สมองไม่ปลอดโปรง

-          รู้สึกแย่

                *  ให้ดื่มน้ำอยู่เสมอ เพราะการสูญเสียน้ำจะลดทอนสมาธิ และความแข็งแรง อันเป็นสัญญาณเตือนของ

การเปิดปัญหาเมื่อเวลาหมกหมุ่นกับงานจึงมักไม่สนใจว่ากำลังกระหายน้ำ

                *  การศึกษาทางวิทยาศาสตร์  บ่งชี้ให้รับรู้กันว่าการถูกแสงไฟฟ้าเป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดความเครียดทางกายและใจ จึงขอให้หาโอกาสไปถูกแสงธรรมชาติกันบ้าง

                *  มีการวิจัยพบว่า การมองหญ้าและต้นไม้ช่วยให้ลดอาการปวดหัว ปวดตา ลดการปวดกล้ามเนื้อ และสร้างความรู้สึกปลอดภัย

                *  เทคนิค NLP  (NEURO  LINGUISTIC  PROGRAMMING) การบริหารจัดการด้วยระบบประสาท

เป็นวิธีการคิดอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น โดยยอมทิ้งความเชื่อเก่า ๆ แล้วคิดในรูปแบบใหม่ อันเป็นการเปลี่ยนการใช้ความคุ้นเคยแบบเก่า ๆ การสร้างจินตนาการและความตื่นเต้น

*  เป้าหมายช่วยให้ทำสิ่งต่าง ๆ ได้สำเร็จจะต้องชัดเจน แล้วนำเป้าหมายไปตรวจสอบกับวิธีการ

SMART คือ

                                SPECIFIC (เฉพาะเจาะจง) เป้าหมายควรกำหนดออกมาให้ชัดเจน

                                MEASURABLE (วัดผลได้) เป้าหมายควรมีผลลัพธ์ที่วัดผลได้ เพื่อให้สามารถติดตามความคืบหน้าได้

                                ACHIEVABLE (สามารถทำให้สำเร็จได้) เป้าหมายที่กำหนดไว้ไม่ว่าจะยากหรือง่ายและท้าทายนั้นก็ไม่ควรเกินความสามารถที่ทำได้

                                REWARDING  (มีผลตอบแทนรางวัล) เพื่อจูงใจให้ทำได้สำเร็จตามเป้าหมาย

                *  ความคิดเห็นที่ได้กลับมา หรือ Feedback ที่ถูกต้องและแม่นยำจะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานได้ ทำให้รู้ผลลัพธ์ที่ออกมาอย่างชัดเจน โดยสามารถนำความเห็นในแบบนี้ไปใช้เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลและป้องกันมิให้ถูกหลอกเอาได้อีกด้วย

                *  สามารถใช้ความคิดเห็นที่ได้รับกลับมาเพื่อช่วยวางแผนแนวทางปฏิบัติในอนาคต โดยการเขียนสิ่งที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับความคาดหวังในผลที่เกิดขึ้นจริง ๆ

                *  การวิเคราะห์ความคิดเห็นจะช่วยให้เห็นคำตอบอย่างชัดเจนและในที่สุดก็จะสามารถนำไปปรับใช้กับทั้งการลงมือทำและการตัดสินใจในอนาคตได้

   
สารบัญ