เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

องค์กรนี้ (ต้อง) มีพี่เลี้ยง

   
ผู้เรียบเรียง : อุไรวรรณ อยู่ชา 
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จำนวนหน้า : 288 หน้า
ราคา : 200 บาท
ผู้สรุป : พูนสุข มนัสวิวัฒน์  
   
   
บทสรุป :

                      

                                                            

              ผู้เขียนเป็นพนักงานใหม่ของเครือซีเมนต์ไทยเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา  มีพี่เลี้ยงที่คอยดูแล  ตั้งแต่วันแรกในชีวิตการเป็นพนักงาน  จึงประทับใจในการนำเสนองาน  เกิดความศรัทธาเชื่อถือในความสามารถของพี่เลี้ยง  ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งไปทำงานกับบริษัทใหม่ สังกัดเครือซีเมนต์ไทย  3  ปีผ่านไป  ได้รับหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับน้องใหม่  เธอดีใจและยินดีที่จะถ่ายทอดประสบการณ์  ปัจจุบันได้ลาออกจากบริษัทในเครือ  มารับบทบาทใหม่เป็นผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาบุคลากร Thaiskillplus  และเป็นวิทยากรบรรยายให้แก่องค์กรต่าง ๆ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาพนักงานด้วย

                                หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่อ่านเข้าใจง่าย  ผู้เขียนถ่ายทอดความรู้อย่างไม่ปิดบัง  โดยได้กล่าวถึงเหตุผลที่ต้องมีพี่เลี้ยง  ขั้นตอนและกระบวนการต่าง ๆ ในการนำระบบพี่เลี้ยงเข้ามาใช้  แถมท้ายด้วยภาคผนวกซึ่งรวบรวมตัวอย่างแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง  ตลอดจนได้นำ “คู่มือพี่เลี้ยงพนักงานใหม่เครือซีเมนต์ไทย “ มาเผยแพร่อีกด้วย

                                สรุปสาระสำคัญของการมีพี่เลี้ยง  และมุมมองของพี่เลี้ยงมีดังนี้

                                v   องค์กรและธุรกิจ  ต่างมีจุดเริ่มต้นและเติบโตยั่งยืนอยู่ได้ด้วยพลังของคนทำงานจากหลายอาชีพลำพังความรู้ความสามารถที่แต่ละคนมีติดตัวมาไม่เพียงพอ  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการสร้างระบบพี่เลี้ยง

v      ผู้ที่เหมาะสมจะทำหน้าที่พี่เลี้ยง  ควรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์กับเรื่องราวในองค์กร

มามากพอสมควร  ที่สำคัญ  คือ  การมีทัศนคติกับองค์กร  คิดเชิงบวก  มนุษย์สัมพันธ์ดี  ชอบมีสังคม

                                v   พี่เลี้ยงจะต้องเป็นคนมีใจในการให้  มีใจรักและชอบสอน  เต็มใจถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์

                                v   พี่เลี้ยงต้องเป็นคนที่รุ่นน้องให้ความเชื่อถือศรัทธา

                                v   มีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ  จะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเรียนรู้ทั้งเรื่องของระบบต่าง ๆ และเรื่องของคนในองค์กร  ทำให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็วขึ้น 
                                v   พี่เลี้ยงเป็นบุคคลที่สำคัญในการเปิดโลกทัศน์ของการเรียนรู้  ทำหน้าที่ในการสร้างแรงจูงใจ  สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานให้แก่น้อง  ซึ่งจะต้องส่งเสริมให้น้อง ๆ ปฏิบัติงานอย่างมีความสุข

v   พี่เลี้ยงจะเป็นผู้ถ่ายทอดวิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานจริงจากประสบการณ์ตรงของพี่เลี้ยงซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหาอ่านได้จากตำราใด ๆ

                                v   พี่เลี้ยงเป็นคนสำคัญในการปั้นรุ่นน้องควรเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมที่ดี  มีความกระตือรือร้นและใส่ใจในการพัฒนา

                                v   พี่เลี้ยงเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติการปรับตัว  การวางตัว  เป็นผู้มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับองค์กร นโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ วินัยและกิจกรรมของบริษัท และมีความรู้หลักการเป็นพี่เลี้ยงที่ดี

                                v   พี่เลี้ยงที่แสนดีเป็นบุคคลที่สำคัญที่คอยส่งเสริมและสนับสนุนให้รุ่นน้องได้มีโอกาสเติบโตในหน้าที่

                                v   พี่เลี้ยงต้องเป็นตัวอย่างที่ดี  ซึ่งมีทั้งความแม่นยำในหลักการ  และเชี่ยวชาญในการปฏิบัติจริง  แถมมีกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหา  และละเอียดรอบคอบ

                                ความจำเป็นของการมีพี่เลี้ยง  สรุปได้ดังนี้

                                v   หัวหน้าส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลที่ลูกน้องเกรงใจไม่ค่อยกล้าเข้าไปขอคำปรึกษา  โดยเฉพาะพนักงานที่เข้าใหม่

                                v   สาเหตุของการลาออกของหลายองค์กร  พบว่าหัวหน้าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้พนักงานลาออก

v   ไม่ควรให้หัวหน้าทำหน้าที่พี่เลี้ยง  เพราะจากประสบการณ์ของหลายองค์กร  พบว่าหัวหน้าที่ทำหน้าที่พี่เลี้ยง  95%  ไม่ประสบความสำเร็จ

                v   ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะทำหน้าที่คัดเลือก  พนักงานในหน่วยงาน  แล้วนำเสนอชื่อผู้ที่ผ่านการตัดสินใจให้ทำหน้าที่พี่เลี้ยงต่อผู้บังคับบัญชา

                                v   ระบบพี่เลี้ยงช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการลาออกของพนักงานใหม่ที่เกิดจากการปรับตัวเข้ากับองค์กรไม่ได้  การขาดความอบอุ่น  การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กร

                                v   ระบบพี่เลี้ยงที่ล้มเหลว  ส่วนใหญ่เกิดจากผู้บริหารระดับสูงไม่เห็นความสำคัญ  ไม่ส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจัง

                                v   ผู้ที่ทำหน้าที่พี่เลี้ยง  จะมีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนเองในการให้คำปรึกษา  แนะนำดูแลพนักงานใหม่และเรียนรู้สิ่งใหม่  ที่สำคัญคือ  ความภาคภูมิใจกับคุณค่าของตนเอง

                                v   องค์กรที่ประสบความสำเร็จในการสื่อสารระบบพี่เลี้ยงจะเริ่มจากการสื่อสารให้คณะผู้บริหารได้รับทราบและเห็นความสำคัญของระบบพี่เลี้ยงก่อน

                                v   ก่อนที่จะนำระบบพี่เลี้ยงมาใช้ในองค์กรจะต้องตรวจสุขภาพขององค์กร โดยการจัดทำแบบสำรวจสุขภาพขึ้นมา  มีหัวข้อที่ครอบคลุมกับการบริหารองค์กร เช่น นโยบายการดูแลพนักงาน  ระบบงานต่าง ๆ ความท้าทายงาน  การได้รับการยอมรับและมีคุณค่าในองค์กร  เป็นต้น

                                v   Webster  ได้ให้ความหมายของคำว่า  “พี่เลี้ยง” ไว้ว่า  เป็นผู้มีความใกล้ชิด  ไว้วางใจได้  เป็นผู้ที่มีประสบการณ์  สามารถเป็นที่ปรึกษาและแนะนำให้แก่ผู้อื่นได้

                                อ่านจบแล้ว  เก็บมาคิดว่า  ธ.ก.ส.  องค์กรที่รักของเราควรมีพี่เลี้ยงได้แล้ว  ย้อนคำนึงถึงวันแรกที่ทำงานเป็นเลขานุการของท่านอาจารย์จำเนียร  สาระนาค  ผู้จัดการ  ธ.ก.ส. คนแรก  แล้วก็นับว่าโชคดีเพราะมีพี่เลี้ยงที่ทำหน้าที่ธุรการ  คอยสอนงานให้  จึงทำงานได้อย่างราบรื่นค่ะ              

   
สารบัญ