เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

คัมภีร์การจัดการในยุคการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ : Managing In A Time Of Great Change

   
ผู้เรียบเรียง : ดรักเกอร์, ปีเตอร์ เอฟ 
สำนักพิมพ์ : คู่แข่งบุ๊คส์
จำนวนหน้า : 302 หน้า
ราคา : 250 บาท
ผู้สรุป : ห้องสมุด  
   
   
บทสรุป :

ผู้นำระดับโลก คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ย่อมแสดงให้เห็นว่า เขามีสิ่งแตกต่างจากคนอื่น

สิ่งนั้นคือ  วิธีคิด และสิ่งที่เขาทำ  การคิดและการกระทำที่จะทำให้ตนประสบความสำเร็จ ไม่มีใครสามารถ

หวงแหนได้ ใครจะทำก็ได้ ต่างแต่เพียงว่าเราจะรู้หลักอย่างนั้นหรือไม่

                อย่างเช่นกรณีของ "เหมา เจ๋อ ตุง" ผู้นำจีนในยุคที่ประเทศจีนเรืองอำนาจมาก  ท่านมีอมตะวาจาคำหนึ่ง คือ

 "แมวไม่ว่าจะสีอะไรขอให้จับหนูได้ก็เป็นพอ" อมตะวาจานี้เกิดขึ้นมาจากหนู

                เรื่องมีอยู่ว่า ภรรยาของท่านประธานเหมาชื่อ  "เจียง ชิง"  นางเป็นนักช็อปปิ้ง ที่มักซื้อโน่นซื้อนี่เก็บสะสมไว้ในบ้านเป็นจำนวนมาก  จนดูเกะกะรุงรัง ต่อมาเกิดมีหนูแอบเข้ามากัดแทะข้าวของที่นางเจียง ชิง ซื้อมาเก็บไว้จนเสียหาย นางจึงไปฟ้องท่านประธานเหมา  ท่านประธานเหมาจึงแนะนางว่า ให้หาแมวมาเลี้ยงสิเพื่อจะได้จับหนู  

นางเจียง ชิง ก็บอกกับท่านว่า  ขอเป็นแมวสีสวาทนะ  ท่านประธานเหมาส่ายหน้า  แล้วพูดวาจาอันเป็นอมตะว่า

                "อย่าไปเลือกสีเลย  แมวไม่ว่าจะสีอะไร  ก็จับหนูได้ทั้งนั้น แมวไม่ว่าสีอะไร  ขอให้จับหนูได้เป็นพอ"

                นี่เรียกว่า วิธีคิด และสิ่งที่เหมา เจ๋อ ตุง ทำ ซึ่งถือว่า เป็นหลักคิดที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะดำเนินกิจกรรมทางการเมือง หรือกิจกรรมทางธุรกิจ

                ในเรื่องของ "ผู้นำ" มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Managing in a Time of Great Change ของ  "ปีเตอร์ เอ็ฟ

ดรักเกอร์"  เขียนไว้เมื่อ 15 ปีที่ผ่านมา แม้วันนี้ท่านจะถึงแก่กรรมไปแล้ว แต่ความคิดในหนังสือเล่มนี้ก็ยังทรง

"พลังทางความคิด" และ "ทันสมัย" อยู่เสมอ

                แนวคิดของดรักเกอร์ ได้ระบุครอบคลุมกว้างไกลในหลายๆ เรื่องทั่วโลก นับตั้งแต่การเติบโตของ

จีนแผ่นดินใหญ่ การใช้ข้อมูลข่าวสาร ผู้ค้ารายย่อย ฯลฯ รวมถึงกฎ6ข้อสำหรับผู้นำที่จะต้องคิด และทบทวนตัวเองอยู่เสมอๆ

                ก็ขอนำเนื้อหาบางส่วนมาสรุปย่อๆ ให้เข้าใจในหลักการแบบกว้างๆ ถึงวิธีคิดของผู้นำ  ซึ่งดรักเกอร์บอกว่า"หากได้ทำตามกฎทั้ง6 นี้ จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลเต็มประสิทธิภาพ ส่วนคนที่มีฝีมือกล้าแข็ง

สักเพียงใดก็ตาม หากได้ฝ่าฝืนกฎเหล่านี้ ย่อมจะมีสูญเสียพลังฝีมือไปหมดสิ้น"

                1. สิ่งแรกที่ประธานาธิบดีต้องทำคือ ถามว่า มีอะไรจำเป็นต้องทำบ้าง..? จะต้องไม่ดื้อแพ่ง ทำแต่ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ อย่างกรณีของ "แฮร์รี เอส. ทรูแมน" ได้เป็นประธานาธิบดีเมื่อเดือนเมษายน 1945 และมีความเชื่อเหมือนกับชาวอเมริกันว่า สงครามกำลังจะสิ้นสุดลง และควรหันไปพัฒนาในประเทศ แต่ปรากฏว่า ท่านกลับให้ความสำคัญด้านกิจการต่างประเทศมากเป็นอันดับสำคัญสูงสุดอีกครั้ง จากการรุกรานของ "สตาลิน" ทั้งๆ ที่ท่านไม่ได้ชอบเท่าไรในเรื่องนี้ แต่เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำ

                2. อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน หมายความว่า ทุกสิ่งอาจไม่เป็นไปตามที่คาดคิดเสมอ ในสมัยประธานาธิบดี "ธีโอดอร์ รูสเวลท์" ได้ครองตำแหน่งสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น และยังสามารถควบคุมสภานิติบัญญัติของสหรัฐฯ ได้อย่างเต็มอำนาจ

                แต่ "รูสเวลท์" มีความเชื่ออย่างแรงกล้า ว่าแผนที่จะจัดการกับศาลสูงสุด อันเป็นการกำจัดอุปสรรคสุดท้ายสำหรับโครงการปฏิรูป  "นิวดีล"  เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และเขามั่นใจมากจนไม่ได้แม้แต่จะทำการทดสอบแผน ก่อนที่จะประกาศออกไป ทำให้กลายเป็น "แรงระเบิด" กลับมาจนไม่สามารถควบคุมสภาฯ อย่างเต็มอำนาจได้อีกต่อไป

                3. ผู้นำ  "จะต้องไม่เข้าไปยุ่งกับรายละเอียดจนเกินไป" เพราะงานที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต้องทำด้วยตัวเองนั้น มีมากจนเกินกว่าคนที่จัดระเบียบตัวเองได้ดีที่สุด และมีพลังงานมากที่สุดจะทำได้สำเร็จอยู่แล้ว ดังนั้น สิ่งไหนที่ประธานาธิบดีไม่จำเป็นต้องทำเองแล้ว ก็ไม่ควรจะไปทำมัน

                4. จงมีสมาธิ โรนัลด์ เรแกน ได้ใช้แนวทางเหล่านี้ในการตัดสินใจของท่านในปี 1981คือ การหยุดสภาวะ

เงินเฟ้อ ซึ่งท่านถือว่า เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และเพื่อที่จะทำให้บรรลุผล ทำให้ต้องยกอัตราดอกเบี้ยสูงลิบลิ่ว ทำให้เศรษฐกิจถดถอยอย่างแรง และคนว่างงานเพิ่มขึ้น ทำให้เขาได้รับการต่อต้านอย่างหนัก แต่ก็ต่อสู้ด้วยสมาธิ อดทน และมุ่งมั่นในแนวทางแก้ไขของตัวเอง

                ซึ่งการตัดสินใจของเรแกนในครั้งนี้ ได้วางรากฐานสำคัญให้มีการขยายตัวด้านการจ้างงานอย่างมากมายในประวัติศาสตร์อเมริกา และยังส่งผลให้เขาได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ตลอดระยะเวลาที่ครอบครองตำแหน่ง

                5. ผู้นำต้อง "ไม่มีเพื่อนในฝ่ายบริหาร" ซึ่งเป็นหลักประจำใจของ "อับราฮัม ลินคอล์น" และเป็นกฎข้อที่ 5ด้วย ประธานาธิบดีคนใดไม่ปฏิบัติตาม ย่อมจะต้องชดใช้ความผิดพลาดด้วยความเสียใจไปตลอดชีวิต

       เพราะไม่มีใครยอมให้ความไว้วางใจในเพื่อนของประธานาธิบดี แต่ความเป็นเพื่อน มีผลให้ประธานาธิบดีมีใจเอนเอียงได้ และอยากให้เข้ามาร่วมในฝ่ายบริหาร ขณะเดียวกันก็อึดอัดใจมาก หากต้องกำจัดเพื่อนผู้ขาดความสามารถ หรือทรยศออกไป

                ดังนั้น หลักข้อหนึ่งของผู้นำเช่น รูสเวลท์ แม้จะเป็นประธานาธิบดี เขาก็ยังใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างน่าตื่นเต้น แต่กระนั้นก็ตาม หาได้มีหนึ่งในจำนวนเพื่อนผู้สนิทสนมของเขา ก้าวเข้ามาอยู่ในฝ่ายบริหารไม่

       6. สำหรับกฎข้อที่ 6 เป็นคำแนะนำของ "แฮร์รี เอส. ทรูแมน" ได้เคยให้ไว้กับประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ทีเพิ่งได้รับเลือกเข้ามาใหม่ว่า

                "เมื่อใดที่คุณได้รับการเลือกเข้ามาแล้ว จงหยุดหาเสียง"

                หลักการของผู้นำตามกฎ 6 ข้อของ "ดรักเกอร์" ต้องบอกว่า ยังทันสมัยอยู่เสมอๆ แม้จะล่วงเลยเวลามาแล้วกว่า 15 ปี ซึ่งสามารถนำไปใช้กับทุกๆ กิจกรรมของการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี เพราะหากจะนำผู้อื่นๆ ได้ ท่านจะต้องมีวิธีคิดอย่างผู้นำ คิดและตัดสินใจอย่างผู้นำ จึงจะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆที่จะเกิดขึ้นไปได้ด้วยดี

ผู้นำคิดอย่างผู้นำ ผู้ตามคิดอย่างผู้ตาม สัจธรรมของโลก คือ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก”

                ประโยคข้างต้นจำไม่ได้ว่า ใครเป็นคนคิด หรือเขียนขึ้นมา แต่สิ่งที่อยากจะบ่งบอก คือ การจะเป็นปลาใหญ่นั้น ควรจะเป็นปลาใหญ่ที่ไม่รังแกใคร   ซึ่งในหนังสือเรื่อง  “ฉลาดคิดอย่างผู้นำโลก” ได้กล่าวถึงวิธีคิดและการปฏิบัติของคนดังระดับผู้นำโลก ๒๘ ท่าน

แต่ในที่นี้จะขอนำมาขยายความ และกล่าวถึงแบบย่อเพียงบางท่านเท่านั้น  และสะท้อนให้เห็นว่า ในโลก

ใบนี้ไม่มีอะไรมาก ก็แค่ปลาใหญ่กินปลาเล็ก คนเข้มแข็งรังแกคนอ่อนแอ ก็เท่านั้นเอง

                ฉบับที่แล้วได้กล่าวถึง “แมวของเหมา เจ๋อ ตุง” ที่บอกว่า   “แมวไม่ว่าจะสีอะไรขอให้จับหนูได้ก็เป็นพอ”    ซึ่งหลักการนี้ท่านประธานเหมาได้นำไปใช้ในการบริหารบ้านเมือง กล่าวคือ

                 “ท่านไม่สนใจรูปลักษณ์ภายนอกของคน แม้คนที่ท่านใช้งานจะมีหน้าตาขี้ริ้วขี้เหล่ แต่ถ้ามีสติปัญญา

และความซื่อสัตย์ ท่านก็เอามาใช้งาน แม้บางคนนิสัยไม่ดี แต่ถ้ามีความรู้ความสามารถ ทำประโยชน์ให้ท่านได้

ท่านก็เรียกมาใช้งาน”

จึงไม่แปลกใจว่า ประเทศจีนในยุคนั้นเข้มแข็ง และมั่นคงขึ้นมาได้ ก็ด้วยเหตุที่ว่า ท่านประธานเหมา เจ๋อ ตุงเห็นแก่ประโยชน์มากกว่าการตำหนิเพียงเล็กน้อย

                 อีกท่านหนึ่งเอ่ยขึ้นมา ทั่วโลกรู้จักกันดี และถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์นั้น คือ ฮิตเลอร์ ซึ่งถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้เผด็จการของเยอรมัน  เป็นผู้ก่อสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ทำให้มนุษย์ต้องตายไปหลายสิบล้านคน

                แต่ในด้านนี้ก็จะขอยกเว้นไม่ไปเอ่ยอ้างถึง  แต่จะหยิบยกข้อคิดในส่วนที่น่าคิดของฮิตเลอร์ว่า  จากเด็กที่

ไม่มีอะไรเลย เขาก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำโลกได้อย่างไร..?

                ครอบครัวของฮิตเลอร์เค่อนข้างมีปัญหา  จึงหนีออกจากโลกแห่งความจริง ไปอยู่ในโลกจินตนาการผ่าน

การอ่านหนังสือ ทำให้ฮิตเลอร์เป็นหนอนหนังสือตัวยง  โดยเฉพาะหนังสือที่เป็นวิชาการ และหนังสือเกี่ยวกับประวัติบุคคลสำคัญของโลก ที่ส่งเสริมให้เกิดความรู้ความคิด  ทำให้ฮิตเลอร์เป็นผู้ที่มีคารมคมคายเป็นนักพูด

ฝีปากกล้าคนหนึ่ง

                ฮิตเลอร์มีความมักใหญ่ใฝ่สูง จากการที่เป็นคนชอบอ่านหนังสือ   โดยเฉพาะประวัติบุคคลสำคัญของโลก ทำให้ฮิตเลอร์ทนไม่ได้ ที่จะต้องเป็นลูกน้องคนอื่น เขาจึงตั้งพรรคนาซีขึ้นมาปกครองเยอรมนีได้สำเร็จ

                คติที่สำคัญของเขา คือ “ผู้นำตายได้ เปลี่ยนแปลงได้ แต่พรรคนาซีจะต้องอยู่คู่ประเทศเยอรมนี” ความสำคัญของคติฮิตเลอร์ คือ อย่าเห็นบุคคลสำคัญกว่าระบบ และ ระบบสำคัญกว่าทุกสิ่งในโลก

                ด้วยเหตุนี้ เยอรมนีจึงก้าวขึ้นเป็นประเทศมหาอำนาจ เพราะไม่มีใครมีความสำคัญกว่าใคร ทุกอย่างเป็น

ไปตามระบบ สิ่งนี้จึงทำให้คนเยอรมันมีระเบียบวินัยสูงมาก ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า

                ซึ่งการยึดถือระบบยังสำคัญอีกอย่างคือ ทำให้คนเคารพกติกาในการอยู่ร่วมกัน คนทุกคนล้วนมีความต้องการ และจะทำทุกอย่าง  เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ เมื่อทุกคนมีความต้องการและทำอย่างนั้น คนเราก็ต้องขัดกัน จะต้องทะเลาะกัน เช่นนี้จึงต้องมีกฎหมายเพื่อให้คนมีกติกาเหมือนกัน ทำไปตามกติกาจึงไม่ขัดกัน ไม่ทะเลาะกัน

อยู่รวมกันได้ ประเทศที่พลเมืองเคารพกฎหมาย ประเทศนั้นจึงเจริญ

               

ฮิตเลอร์ทำให้คนในชาติเห็นความสำคัญของระบบ จึงทำให้ประเทศเยอรมนีในยามนั้นเข้มแข็ง ที่สุดท้ายฮิตเลอร์นำพาเยอรมนีก่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ และนั่นคือจุดจบของฮิตเลอร์ เยอมนีแพ้สงครามต่อพันธมิตร ฮิตเลอร์

ฆ่าตัวตาย  แต่...เยอรมนีก็ยังอยู่ต่อไป

                แม้ว่าในอดีตคนเยอรมันพ่ายแพ้ สิ้นเนื้อประดาตัว แต่คนเยอรมันมีระเบียบวินัย ได้ระเบียบวินัยช่วย

สร้างชาติขึ้นมาใหม่ ไม่กี่ปีผ่านไป เยอรมนีก็กลับมาแข็งแกร่งเหมือนเดิม

                ถามว่า เราได้อะไรจากชีวิตฮิตเลอร์ และชีวิตของผู้ยิ่งใหญ่ของโลก คำตอบคือ เราได้พื้นฐานชีวิตของ

พวกเขา ที่ทุกคนล้วนรักการอ่านหนังสือ ถ้าหากพ่อแม่อยากให้ลูกได้ดี ยิ่งใหญ่ จะต้องปลูกฝังให้ลูกรักการอ่านหนังสือ

                ข้อคิดผู้นำโลกอีกประการหนึ่ง ที่เรียนรู้จากฮิตเลอร์ คือ อย่าไปรบในสมรภูมิที่ตัวเองไม่มีวันชนะ!

                 ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ฮิตเลอร์แพ้สงครามโลกครั้งที่สอง คือ ไปรบในสมรภูมิที่ไม่มีวันชนะ โดยการเปิดแนวรบอีกด้านหนึ่ง คือ การรบกับโซเวียต ทำให้ฮิตเลอร์ต้องแบ่งกำลังส่วนหนึ่งไปรบกับโซเวียต ส่งผลให้กำลังรบอีกด้านหนึ่งลดน้อยลง

                เรื่องนี้ไม่ต่างไปจากกรณีของ “นโปเลียน”  ที่พ่ายแพ้สงคราม ก็เพราะไปรบกับโซเวียต ต้องผ่านอากาศหนาวทารุณของโซเวียต ทหารก็หนาวตายมาก การส่งกำลังเสบียงก็ทำไม่ได้ เพราะติดหิมะ ผิดกับทหารโซเวียต

ที่รบอย่างสบาย เพราะคุ้นเคยกับสภาพอากาศอันหนาวทารุณ จึงทำให้สุดท้ายทัพฝรั่งเศสของนโปเลียนต้องพ่ายแพ้

ในที่สุด

                ดังนั้น การที่เราไปรบในสมรภูมิที่เราไม่มีวันชนะ จะทำให้เราเสียโอกาสไปรบสมรภูมิอื่นที่สามารถ

เอาชนะได้ ทำให้เราได้รับความพ่ายแพ้แทนการได้รับชัยชนะ”

                 การที่เราจะดูว่า   สมรภูมิใดเราจะชนะได้หรือไม่ได้นั้น ก็ให้เราดูตัวเองให้ดี ให้เห็นความเป็นตัวที่เรามี

ว่า  เรามีดีอะไรบ้าง ขาดเหลืออะไรบ้าง แล้วดูน้ำหนักของศัตรูว่า    มีดีอะไรบ้าง ขาดเหลืออะไรบ้าง ดูสถานการณ์แวดล้อม  และดูว่าเราจะมีแผนทำลายมันอย่างไรได้บ้าง แล้วศัตรูจะทำลายเราอย่างไรได้บ้าง

                ท่านสุดท้ายที่จะกล่าวถึงในที่นี้คือ   ลุงโฮ   บุคคลที่ชาวเวียดนามเรียกท่านเต็มยศว่า โฮจิมินห์ บิดาแห่งเวียดนาม..!

ลุงโฮ เป็นผู้ที่สนใจใฝ่รู้ในการศึกษามาก จึงเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมาก ในสมัยของลุงโฮ เป็นช่วง

ที่ฝรั่งเศสเข้าปกครองประเทศเวียดนาม ลุงโฮเป็นผู้หนึ่งที่ตั้งหน้าตั้งตาในการกอบกู้เอกราชของประเทศ โดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก

                ลุงโฮสละทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนมี    เพื่อปลดแอกประเทศเวียดนามอันเป็นสุดที่รัก สุดท้ายกองทัพของลุงโฮได้ทำศึกครั้งใหญ่กับฝรั่งเศส เรียกว่า สงครามเดียนเบียนฟู และทิ้งช่วงเวลาไม่นานนัก  ประเทศเวียดนามก็ได้เป็นประเทศเอกราช

ตามประวัติศาสตร์นั้น   ลุงโฮเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเวียดนาม และหลังจากนั้นเวียดนามก็เจริญรุดหน้าเป็นลำดับ แม้จะต้องมีศึกสงครามมาก เช่น อเมริกาทำสงครามกับเวียดนาม แต่สุดท้ายกองทัพอเมริกา

ที่ว่าแน่ๆ   ก็พ่ายแพ้ใจและความสามัคคีของคนเวียดนาม

                ยิ่งในปัจจุบัน เวียดนามได้พัฒนาประเทศจนเจริญก้าวหน้าใกล้เคียงกับประเทศไทยแล้ว  ถึงกับมีบางเรื่องก้าวล้ำนำหน้าไทยไปเรียบร้อย และยังต้องเจอกับคำถามที่ตอกย้ำอีกว่า ในอนาคตดีไม่ดี เวียดนามจะแซงหน้าประเทศไทยในทุกๆ ด้านเลยก็ว่าได้ 

เหตุที่เวียดนามพัฒนาเจริญก้าวหน้าไปมาก เพราะคนเวียดนามเป็นคนมีเลือดรักชาติ รักแผ่นดินสูงมาก 

มีความสามัคคี โดยคนเวียดนามได้แบบอย่างความรักชาติจากลุงโฮ คนเวียดนามทั้งชาติ ยกย่องให้ลุงโฮเป็นเทพเจ้าประจำประเทศเวียดนาม

                เรียกว่า ลุงโฮแม้ตัวจะตายไปแล้ว   แต่ชื่อของลุงโฮยังคงอยู่ และไม่มีวันตาย  แล้วยังกลายเป็นตำนานแห่งผู้นำโลก ที่คนทั้งโลกต้องเรียนรู้ และศึกษาวิธีคิด วิธีการต่อสู้ของลุงโฮไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น

                เป็นยังไงบ้างครับ วิธีคิดของผู้นำโลก 3 ท่านคือ เหมา เจ๋อ ตุง, ฮิตเลอร์ และลุงโฮ  ต่างมีสีสันแห่งชีวิตที่เพริดแพร้ว และจุดประกายความคิดให้กับคนรุ่นใหม่อยู่เสมอ เมื่อหวนกลับไปศึกษาวิธีคิด และการตัดสินใจของผู้นำโลกเหล่านี้

                ซึ่งแน่นอนว่า มีทั้งด้านดี และด้านไม่ดี  แต่สิ่งที่คนรุ่นหลังจะได้ประโยชน์ จากการเรียนรู้จากผู้นำโลกเหล่านี้คือ   วิธีคิด และกุศโลบายที่ก้าวไปสู่ความยิ่งใหญ่ได้นั้น มีที่มา และที่ไปอย่างไร..!

   
สารบัญ