เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

องค์การคึกคัก

   
ผู้เรียบเรียง : Minoru Noda and J-Feel 
สำนักพิมพ์ : -
จำนวนหน้า : 240 หน้า
ราคา : 200 บาท
ผู้สรุป : พูนสุข มนัสวิวัฒน์  
   
   
บทสรุป :

 

 

                หนังสือเล่มนี้  ผู้เขียนมีประสบการณ์ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการให้คำปรึกษาและการฝึกอบรมบริหารจัดการให้ความสนใจต่ออารมณ์ขององค์การ  โดยใช้เหตุผลในเชิงเศรษฐศาสตร์เพราะเมื่ออารมณ์ของความรู้สึกเป็นบวก  พนักงานต่างมีพฤติกรรมเป็นบวกและมีแรงจูงใจที่เพิ่มสูงขึ้น  ย่อมมีผลให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายลดลง  ลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก  การสื่อสารไหลลื่น มีความสุขกันถ้วนหน้า
ผู้เขียนให้ความหมายขององค์การคึกคักว่าเป็นทรัพยากรการบริหารองค์ประกอบที่ 6 ซึ่งเชื่อมโยงกับคน สิ่งของ เงิน ข้อมูลข่าวสาร และทุนทางปัญญานั่นเอง  สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ความเข้าใจและยึดมั่นต่อเป้าหมาย  มีลักษณะของอารมณ์ความรู้สึกโดยคำนึงถึงความผูกพัน  การมีวิสัยทัศน์  การรับรู้ข้อเท็จจริง  การเสนอความคิดเห็นและเป็นที่ยอมรับ

                                เมื่อกล่าวถึงองค์การคึกคัก  ขอให้นึกถึงภาพพจน์ขององค์การที่ “ทุกคนมีความกระฉับกระเฉงและมีทัศนคติที่มองโลกในเชิงบวก  ทุกคนทำงานอย่างทุ่มเทและรู้สึกชื่นชมดีใจกับความสำเร็จที่ได้มา

                                ค่านิยมองค์การจะได้รับการเสริมให้แข็งแกร่งนำพาความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียว  อันเป็นรากฐานสำหรับการทำงานร่วมกัน  เมื่อมีผลงานเกิดขึ้นก็ส่งผลให้อารมณ์ความรู้สึกมีการเปลี่ยนแปลงการกระตุ้นให้เกิดความคึกคัก

                                การโค๊ชชิ่งตัวเอง (Coaching  ourselves) เป็นการฝึกอบรมที่นำมาเผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่นสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการฟื้นฟูอารมณ์ได้เป็นอย่างดี  โดยเริ่มฝึกอบรมสำหรับสมองซีกซ้าย (หลักตรรกะและความรู้)  หลังจากนั้นจึงนำไปสู่การพัฒนา  “ธุรกิจสำหรับสมองซีกขวา  (ฟื้นฟูอารมณ์)

                                สิ่งที่พบเห็นจากการฝึกอบรมก็คือ  เมื่อเราพยายามเสริมให้สมองซีกขวามีสมรรถนะดีขึ้น  ก็จะมีส่วนช่วยให้สมองซีกซ้าย  สมองซีกขวาก็จะดีตามไปด้วย

                                อารมณ์องค์การ  คือ  บรรยากาศ  ความรู้สึกอารมณ์ที่แพร่กระจายอยู่ในองค์การทั้งหมด

อารมณ์แบ่งออกเป็น 3 ระดับ  ได้แก่  “ความสะเทือนใจ”  “อารมณ์” และ 
“ภาวะอารมณ์”

หากอารมณ์เป็นหนึ่ง ๆ อยู่กับเราเป็นเวลานาน อารมณ์นั้นก็จะกลายเป็น  “ภาวะอารมณ์”  หรือ mood  เช่น  เมื่อไหร่ที่เราอยู่ในภาวะอารมณ์ที่มองเชิงลบ  เราก็จะเห็นเฉพาะด้านลบของเหตุการณ์ทุกอย่าง

อารมณ์องค์การ เป็นผลมาจากอารมณ์ของพนักงานแต่ละคนในองค์การ ซึ่งส่งผลกระทบต่อกันและกัน จนกระทั่งกลายเป็นอารมณ์ร่วมกันขององค์การโดยรวม

อารมณ์คึกคัก คือ มีความรู้สึกอยากจะลองทำงานเองโดยไม่ต้องรอคำสั่ง

หากอารมณ์ทั้งตนเองและอารมณ์องค์การมีอารมณ์แตกต่างกันมากย่อมทำให้พนักงานส่วนใหญ่เกิดความรู้สึกอึดอัดขึ้น  จึงควรมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่น หากอารมณ์ตนเอง(ของพนักงาน)  ต่างกระตือรือร้น  มุ่งที่จะทำงานโดยเริ่มจากตนเอง  แต่อารมณ์องค์การกลับมีความต้องการสวนทางกัน  บรรยากาศเช่นนี้ไม่ดี  อาจจะทำให้พนักงานมีความกลัดกลุ้ม  จนอาจอยู่ในภาวะไปสู่อารมณ์  ล้มละลาย  จะมีความหงุดหงิด  เนื่องจากไม่สามารถทำงานได้ทันเวลาและต่อไปจะก่อเกิดอารมณ์ก้าวร้าวได้

การที่องค์การจะสามารถรักษาสมดุลของทั้งอารมณ์คึกคักและกระตือรือร้นได้  ต้องไม่ให้แรงจูงใจเฉพาะพนักงานที่สร้างผลงานดีเด่นเท่านั้น  แต่ต้องมีกลไกที่ทำให้ทั้งองค์การสามารถชื่นชมและยกย่องบทบาทที่แต่ละคนได้ช่วยกันทำให้เกิดความสำเร็จด้วย

                                การสำรวจอารมณ์องค์การ ควรทำทุกครึ่งปีหรือทุกไตรมาส เพื่อใช้ในการเฝ้ามององค์การ

                เครื่องหมายการค้าของผู้เขียน  คือ วิธีการอบรมแบบย้อนดูตัวเอง  (Reflection  Round  Table (RRT)  ผู้เข้าร่วมอบรมจะเกิดความรู้สึกร่วมกันมีความเข้าใจร่วมกัน  และเกิดการตระหนักคิดขึ้นมาได้โดยได้จากแนวคิดของการโคชชิ่งตัวเอง  (Coaching  Ourselves)  ของศาสตราจารย์   Henvy  Mintzberg)

                                ศาสตราจารย์   Henvy  เป็นผู้นำเสนอแนวคิดที่ต่างออกไปจากกลุ่มนักวิชาการด้านบริหารของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและได้เขียนหนังสือชื่อ  “ภารกิจของผู้จัดการ”  ซึ่งชี้ให้เห็น  ถึงลักษณะของงานผู้จัดการ

                                บทบาทของผู้จัดการในแนวทางของ  ศาสตราจารย์  Henvy  10 ประการ  คือ

(1)       การแสดงบทบาทในฐานะผู้แทนองค์การ

(2)       การรับผิดชอบต่องานของสมาชิก  (ผู้ใต้บังคับบัญชา)

(3)       การรับผิดชอบในฐานะบทบาทของการเชื่อมโยงประสานงาน  (กลุ่มงานต่าง ๆ)

(4)       การรวมรวมและรับรู้ข้อมูลทั้งภายในและภายนอก

(5)       การจัดสนองข้อมูล

(6)       การแถลงแจกแจงข้อมูลต่อภายนอก

(7)       การตัดสินใจ  เกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ

(8)       การแก้ปัญหา  กำจัดอุปสรรคที่เกิดกับโครงการต่าง ๆ

(9)       การจัดสรรทรัพยากรแก่โครงการต่าง ๆ

(10)   การรับบทบาทในการเจรจา ต่อรอง

การพบปะพูดคุยประเด็นหลักในการอบรมผู้จัดการแต่ละครั้งใช้เวลา 60 นาที ก่อนเข้าเรื่องหลัก  เพื่ออธิบายถึงเหตุการณ์บริหาร  หรือ  Management  Happening  จะเป็นเรื่องอะไรก็ได้  รวมถึงการย้อนดูตัวเอง  ย่อมจะมองเห็นปัญหาที่ติดขัด  มีผลให้เกิดข้อคิด  ข้อเตือนใจ  นับเป็นเทคนิคที่ช่วยให้การอบรมรูปแบบนี้ประสบความสำเร็จ

หาอ่านตัวอย่างจริงในองค์การที่ผ่านการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญในประเทศญี่ปุ่นได้จากหนังสือเล่มนี้นะค่ะ

   
สารบัญ