เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

ทำใจให้รักงาน : How to Love the Job you Hate

   
ผู้เรียบเรียง : Jane Boucher 
สำนักพิมพ์ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
จำนวนหน้า : 327 หน้า
ราคา : 190 บาท
ผู้สรุป : พูนสุข มนัสวิวัฒน์  
   
   
บทสรุป :

 

                ผู้เขียนบอกว่า  “การจะรักงานที่ทำอยู่  ต้องเริ่มจากการรักตัวเองเสียก่อน”  และให้คำแนะนำ

ที่เป็นประโยชน์  เผยปัจจัยที่ทำให้คนส่วนใหญ่มีความสุขกับงาน  รวมถึงอธิบายและสาธิตด้วยตัวอย่าง

ให้คนทำงานรู้วิธีที่จะรักษาฐานของตัวเองไว้ได้ในสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนเร็ว  สรุปได้ดังนี้

·       ทำให้งานเป็นที่น่าสนใจ

·       หาช่องทางเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ

·       สามารถทำงานได้อย่างอิสระ

·       เป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน

·       ช่วยเหลือคนอื่นในงานของคุณเอง

·       ลดความเครียดและผลกระทบจากงานให้เหลือน้อยลง

วิธีจุดไฟรักในการทำงาน  12  ประการ  คือ

1.       ทำบางอย่างต่างไปจากงานเดิม

2.       มอบหมายงานที่ไม่ชอบให้คนอื่นที่ชอบทำแทน

3.       หลีกเลี่ยงการแสดงความข้องใจ

4.       สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน

5.       สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับหัวหน้า

6.       สร้างโครงการพิเศษของตัวเอง

7.       เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

8.       เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาชุมชน

9.       เขียนคำบรรยายลักษณะงานขึ้นมาใหม่

10.    จัดทำคำแถลงพันธกิจส่วนบุคคลของตนเอง

11.    ให้เกียรติตัวเองในแง่ความสำเร็จ

12.    อย่ายอมแพ้

 

·       ผู้จัดการที่ดีจะต้องดูแลเอาใจใส่พนักงาน  และตระหนักดีว่าพนักงานมีความสำคัญต่อ

ผลิตภาพขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง

·       หากผู้จัดการอยากเห็นพนักงานมีความพอใจ  จะต้องกำหนดเป้าหมายและความคาดหวัง

ไว้อย่างชัดเจน  รวมทั้งมีแนวทางเตรียมไว้ให้อย่างเหมาะสม

·       หัวหน้าที่ดีจะหาเวลาศึกษาอุปนิสัย  ความต้องการ  เป้าหมาย  และชีวิตส่วนตัวบางด้าน

ของพนักงานแต่ละคน  โดยจะเลือกสรรงานและเงื่อนไขในการทำงานให้สอดคล้องต่อความต้องการ

ของพนักงานแต่ละคน

·       ผู้จัดการควรทำทุกวิถีทางที่จะพัฒนาพนักงานแต่ละคนให้ถึงขีดความสามารถสูงสุด

ที่ซ่อนอยู่ในตัว  และหัวหน้าที่ดีจะเพิ่มความรับผิดชอบเพื่อส่งเสริมให้พนักงานมีอิสระในการทำงาน

มากขึ้น  จะกระตุ้นพนักงานให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์  แทนที่จะยึดติดกับกฎเกณฑ์และแบบแผนเดิมๆ

·       การเสริมสร้างและดูแลความเชื่อมั่นในคุณค่าของตัวเอง  ต้องดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้

(1)    ยอมรับจุดอ่อนและจุดแข็ง

(2)    ให้กำลังใจ

(3)    ชมเชยและภาคภูมิใจในผลสัมฤทธิ์

(4)    ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือและสนับสนุนผู้อื่น

(5)    ใช้เวลาส่วนตัวดูแลตัวเองอยู่เป็นนิจ

(6)    ยอมรับนับถือเอกลักษณ์ของตัวเอง

(7)    ชอบที่จะเป็นคนพิเศษอย่างที่กำลังจะเป็น

·       ตัวช่วยในการยกระดับความเชื่อมั่นในคุณค่าของตัวเอง

(1)    ให้อภัยตัวเอง  ถ้าทำผิดพลาด  ก็ต้องเปิดโอกาสและให้เวลาตัวเองมากพอที่จะเรียนรู้ 

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก

(2)    ดูแลตัวเอง  ด้วยการระลึกอยู่เสมอว่าสุขภาพต้องมาก่อน

(3)    เข้าไปมีส่วนร่วม  ด้วยการเข้าไปคลุกคลีกับเพื่อนร่วมงานที่ไม่ได้ทำงานเกี่ยวข้องกันบ้าง 

ริเริ่มทำโครงการใหม่  สร้างความผูกพันกับงานและมีส่วนร่วมกับเพื่อนร่วมงาน

(4)    อย่านำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น  โดยการไม่เลียนแบบคนอื่น  และต้องยอมรับ

ความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นด้านสติปัญญาหรือความสามารถ

(5)    หยิบแต่เรื่องดีๆ มาพูด  จงระลึกไว้เสมอว่าทุกอย่างที่พูดกับตัวเองและกับคนอื่น

จะถูกบันทึกไว้ในสมอง  ดังนั้นจงพูดในแง่บวกและยอมรับคำติคำชม

(6)    ทำบัญชีเรื่องที่ดีงามในชีวิต  ด้วยการเขียนรายการสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้น  เช่น  ความสำเร็จ 

ความสามารถในการทำงาน  และคุณสมบัติที่ดีไว้ทุกอย่าง  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือตกแต่งภาพลักษณ์ 

หมั่นบันทึกสิ่งดีๆ ของครอบครัว  เพื่อน  และการงานไว้อย่างสม่ำเสมอ

·       การส่งเสริมโปรแกรมช่วยเหลือพนักงานหรือเสริมสร้างสุขภาพ  และการออกกำลังกาย

ลดความเครียด  จะประหยัดงบประมาณมากกว่าปล่อยให้พนักงานเครียดจนล้มป่วย

·       คำแนะนำ  10  วิธีต่อไปนี้  เป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการจัดการความเครียด 

และช่วยป้องกันปัญหาที่รุนแรงบางอย่างได้  คือ

(1)    เฝ้าติดตามรูปแบบความเครียด  ด้วยการจดบันทึกประจำวันที่ทำให้เครียด  และศึกษาว่า

รูปแบบใดที่ทำให้เครียด  จากนั้นก็ให้เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ

(2)    ปรับเปลี่ยนทัศนคติ  ด้วยการเปลี่ยนโปรแกรมเชิงลบที่วนเวียนอยู่ในจิตใจ  ให้เป็น

ข้อความเชิงบวก

(3)    รับผิดชอบต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของตัวเอง  โดยศึกษาจากความผิดพลาด 

และเรียนรู้จากชัยชนะ  ให้กำลังใจกับความสำเร็จและอดทน  ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลง  การมีทัศนคติเช่นนี้จะทำให้ความเครียดลดลงได้

(4)    สร้างสมดุลระหว่างชีวิตการงานกับชีวิตส่วนตัว

(5)    หากองหนุน  ยามที่เผชิญกับปัญหา  ให้นึกถึงเสมอว่า “สองหัวดีกว่าหัวเดียว”

(6)    ตรวจสอบการคาดหวังในตัวคุณ  ด้วยการใช้วิธีปฏิบัติต่อตัวเองให้เหมือนกับที่คุณอยาก

ให้ผู้อื่นปฏิบัติตอบ  ควรทำในสิ่งที่คนอื่นขอร้องเสมอ

(7)    แบ่งงานใหญ่ให้จัดการได้ง่ายขึ้น  โดยเริ่มจากทำงานบางส่วนที่ง่ายที่สุดก่อน

(8)    ใส่อารมณ์ขันเข้าไปในชีวิตการงาน  ด้วยการหัวเราะ  ซึ่งจะช่วยลดความเครียดได้

(9)    หาเวลาให้ตัวเอง ด้วยการหยุดพัก  แล้วเปลี่ยนอิริยาบถทำงานอื่นที่ง่ายกว่า  แล้วใช้เวลา

อย่างสร้างสรรค์  เพราะการที่จดจ่ออยู่กับปัญหาอย่างเดียวมากเกินไป  จะทำให้เราเครียด

(10)ไหลไปตามกระแส  ด้วยการเรียนรู้ที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง  เพราะเราไม่สามารถ

หลีกเลี่ยงได้

·       สาเหตุที่ทำให้พนักงานทำงานได้ไม่ดี  ส่วนใหญ่มีผลเนื่องมาจากการสื่อสารที่ล้มเหลว 

10  ข้อ คือ

(1)    พนักงานไม่รู้ว่าทำไมหัวหน้าจึงสั่งให้เขาทำบางสิ่งบางอย่าง

(2)    ไม่รู้ว่าภารกิจหรือโครงการเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อใด

(3)    ไม่รู้ว่าตนเองได้รับการคาดหวังให้ทำอะไร

(4)    ไม่รู้วิธีทำงานบางอย่าง

(5)    คิดว่าตัวเองได้ทำในสิ่งที่หัวหน้าคาดหวังไปเรียบร้อยแล้ว

(6)    คิดว่าวิธีการของหัวหน้าไม่ได้ผลหรือของตนดีกว่า

(7)    บางอย่างดูมีความสำคัญมากกว่า

(8)    ไม่ได้รางวัลจากการทำงานบางสิ่งบางอย่าง  หรือไม่ได้รับการแก้ไขจากการที่

ทำไม่สำเร็จ

(9)    ได้รับรางวัลจากการที่ไม่ทำบางสิ่งบางอย่าง  หรือได้รับการแก้ไขจากการไม่ได้ทำสิ่งนั้น

(10) คิดว่าทำในสิ่งที่หัวหน้าขอให้ทำไม่ได้

·       การประเมินความรับผิดชอบในงานที่ได้มาตรฐาน  จะต้องเป็นการระบุกรอบของ

ระยะเวลาการทำงานของพนักงานที่ใช้ในการประเมิน  สิ่งที่ประเมินควรครอบคลุมความรับผิดชอบหลัก  ข้อกำหนดขั้นต่ำของการทำงาน  วัตถุประสงค์และเป้าหมายของงาน  ประเด็นสำคัญอยู่ที่อธิบาย

การทำงานที่บรรลุผลตามมาตรฐานอย่างละเอียด  เป็นกลาง  และเจาะจง

   
สารบัญ