เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

การเขียนเชิงธุรกิจ

   
ผู้เรียบเรียง : Deborah Dumaine  
สำนักพิมพ์ : บริษัทแอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด
จำนวนหน้า : -
ราคา : 120 บาท
ผู้สรุป : พูนสุข มนัสวิวัฒน์  
   
   
บทสรุป :

 

         

          หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้พัฒนากระบวนการเขียนในเชิงธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิผล  โดยอาศัย

หลักพื้นฐานประกอบด้วยขั้นตอนที่ปฏิบัติตามได้ง่าย เพื่อโน้มน้าวและจูงใจผู้อ่านได้เป็นอย่างดี  สามารถเขียนเอกสารได้อย่างชัดเจน  และตรงตามความต้องการของผุ้อ่าน  สิ่งสำคัญคือ สื่อสารข้อความได้อย่างมีประสิทธิผล

          ผู้เขียนได้ถ่ายทอดด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย  อ่านไม่อยากวาง  เพราะทุกบททุกตอนน่าติดตาม สรุปได้ดังนี้

          สิ่งแรกที่ควรทำในการตั้งต้นเขียนเอกสารเชิงธุรกิจ ก็คือ  ถามตัวเองว่า  “เราเขียนเอกสารนี้ขึ้นมาทำไม”  “ตั้งใจจะเขียนอะไร”

          ก่อนลงมือเขียนเอกสารทางธุรกิจใดๆ คุณควรกำหนดขอบเขต  หมายถึงว่า  จะเขียนหัวข้อให้กว้าง

และลึกสักเพียงใด

          ส่วนหนึ่งที่ยากที่สุด  สำหรับการเขียนก็คือ การเริ่มต้นด้วยการใช้โครงร่างก่อน  แล้วอธิบายวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน  พยายามเขียนให้สั้นและเรียบง่าย  โดยใช้หลักการจัดเรียงตามลำดับความสำคัญ  จัดเรียงตามลำดับเหตุการณ์  หลังจากนั้นให้จำกัดจำนวนหัวข้อในแต่ละย่อหน้าและเชื่อมโยงย่อหน้าอย่างสอดคล้อง

          ต่อมาก็คือ การปรับปรุงแก้ไขเนื้อหา  โครงสร้างและข้อความเพื่อให้งานเขียนมีประสิทธิภาพ 

โดยคำนึงถึงการควบคุมข้อความให้ตรงประเด็น  การทบทวนเพื่อความชัดเจน  ด้วยการตรวจสอบข้อมูล

ว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่

          หลังจากนั้นให้ปรับงานเขียนโดยการตรวจสอบให้สั้น กระชับ และตรวจแก้ไขเพื่อความถูกต้อง

          สำหรับงานเขียนที่จะช่วยสะท้อนสิ่งที่อาจมองข้าม ให้ตรวจสอบหัวข้อดังนี้เสียก่อน คือ

          ย่อหน้า  ให้เริ่ม  1. หัวข้อหลัก

                             2. เชื่อมโยงในและระหว่างประโยค

                             3. เน้นหัวข้อเดียว

          ประโยค  ให้กำหนดความสั้นยาวหลากหลายตามโครงสร้าง

          คำ  ให้  1. เรียบง่าย  เจาะจงหรือตรงไปตรงมา

                   2. ไม่มีภาษาเสแสร้งที่สร้างความอึดอัดและล้าสมัย

                   3. อธิบายคำย่อ

          สไตล์  คือ  1. มีความเป็นส่วนตัว  โดดเด่น

                       2. ประโยคเชิงรุก

                       3. ใช้วิธีเชิงบวก

          อ่านตรวจทาน  ให้  1. ดูคำศัพท์  ประโยค  ตัวสะกด  เครื่องหมายวรรคตอน

                                 2. แก้ไขการพิมพ์ผิด

                                 3. ควรมอบหมายให้มีผู้ตรวจทาน

          การเขียนอีเมล  เริ่มจากหัวข้อของอีเมล  โดยใช้หลัก 4 ประการ  ดังนี้

1.       ใส่ข้อความสำคัญในหัวข้ออีเมล

2.       หัวข้อไม่ควรยาวเกินไป

3.       พยายามให้มีเพียงหนึ่งหัวข้อต่ออีเมลหนึ่งฉบับ

4.       กำหนดให้มีปฏิกิริยาตอบกลับ  คือ  คำติชมไว้ด้วย  ซึ่งผู้รับสามารถวิเคราะห์และ

ตอบกลับข้อความนั้นๆ ได้ง่ายขึ้น

การเขียนอีเมลยาวๆ ทำให้ผู้อ่านรำคาญ  ต้องเลื่อนหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะอ่าน  ดังนั้น เพื่อช่วย

ให้อีเมลสั้นลง  หากมีข้อความยาวๆ ให้ส่งในรูปแบบเอกสารแนบแทนที่จะเขียนเป็นเนื้อหาในอีเมลทั้งหมด

          ผู้เขียนให้แนวทางผู้อ่าน  เพื่อจุดประกายความคิดในการเป็นผู้เขียน

          ความในใจของผู้สรุปที่ชื่อพูนสุข  มนัสวิวัฒน์  ผู้เกษียณอายุปี 2551  เกี่ยวกับการเริ่มต้นเขียนบทความลงในวารสาร ธ.ก.ส.  หนังสือพิมพ์ธ.ก.ส.สี่หน้า (รายปักษ์)  วารสารเพื่อการพัฒนาชนบท (ราย 3 เดือน)  หนังสือวิชาการปริทัศน์ (รายเดือน)  และจุลสาร ธ.ก.ส. ตั้งแต่ปี 2517  จนถึงปี 2551 ก็ได้แรงบันดาลใจจากท่านรองเอ็นนู  ซื่อสุวรรณ  ต้องขอขอบคุณไว้ในโอกาสนี้ด้วย

          สำหรับการอ่านก็สำคัญ  หากมีหนังสือเกี่ยวกับการอ่านจะขอความกรุณาจากผู้บริหารทีมห้องสมุด จัดหาให้แล้วจะสรุปให้อ่านต่อไปค่ะ

   
สารบัญ