เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

สู้ชีวิต ตอน เคราะห์สร้างโอกาส

   
ผู้เรียบเรียง : ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ 
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เดือนตุลา
จำนวนหน้า : 227 หน้า
ราคา : 150 บาท
ผู้สรุป : พูนสุข มนัสวิวัฒน์ ผู้เกษียณอายุ  
   
   
บทสรุป :

 

 

          ผู้เขียนเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ เพื่อจัดให้มีการบริการป้องกันความพิการ เพื่อบริการผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน  และเพื่อส่งเสริมให้บุคคลทั่วไปมีเจตคติ

ต่อคนพิการและผู้ด้อยโอกาส

          ในวัยเด็กผู้เขียนชอบค้นคว้าและทดลองวิทยาศาสตร์จึงเกิดอุบัติเหตุเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2510

ทำให้ตาบอดสนิททั้งสองข้าง ท่านเสียใจและท้อใจ  ในที่สุดได้พบกับสตรีตาบอดชาวอเมริกันผู้ก่อตั้งโรงเรียน

สอนคนตาบอดกรุงเทพฯ  ทำให้เกิดกำลังใจที่จะต่อสู้จนประสบความสำเร็จด้านการศึกษา  จากที่เกิดอุบัติเหตุขณะศึกษาอยู่ ม.ศ.3  จนถึงกับเป็นนิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขากฎหมายแพ่ง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

โดยสอบได้ที่ 1  และได้รับรางวัลภูมิพล  หลังจากนั้นได้ทุนไปเรียนปริญญาโท  สาขากฎหมายภาษีอากร 

จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  ประเทศสหรัฐอเมริกา (ปีการศึกษา 2525)

          ประสบการณ์การทำงานที่ดังๆ คือ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549-2551

และอดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี รวม 2 สมัย พ.ศ. 2544-2549

          ด้านครอบครัว มีบุตรสาวคนโต บุตรชาย 2 คน รวม 3 คน

          ปัจจุบันรับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และอื่นๆ อีก 21 ตำแหน่ง  เช่น  เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับคนพิการ  รวมถึงเป็นกรรมการด้านคนพิการ  และประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ

          บุคคลที่ทำให้ ศ.วิริยะ เกิดความเชื่อมั่นและต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ คือ Miss Jenivieve Caulfield

(เจนนีวี) สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพฯ และแม่อธิการซิสเตอร์โรสมัวร์ นับเป็นผู้ที่ให้แสงสว่างจากความมืด ให้คำแนะนำและคำสอนที่มีคุณค่า

          ขณะเรียนปีที่ 1 สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แข่งขันโต้เวทีเข้าชิงชนะเลิศถึง 2 ปี

         

คำแนะนำแก่คนพิการและคนที่ท้อแท้ มีดังนี้

1.       นึกถึงคนที่ย่ำแย่กว่าเราเสมอ

2.       ฝึกตั้งคำถามที่สร้างสรรค์

3.       ให้หาอะไรทำตลอดเวลา อย่าปล่อยให้มีเวลาว่าง

4.       ความเชื่อ กรอบความคิด กำหนดเส้นทางชีวิตของคนพิการ ที่เชื่อว่าตัวเองทำอะไรไม่ได้

ให้คิดว่าตนเองทำได้

5.       ความหวังมีอยู่เสมอ ต้องนำวิธีคิดมาใช้ในการสร้างและพัฒนาความหวังให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ

6.       ใช้สิ่งที่มีอยู่ทุกอย่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด

7.       ใช้ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้มีประโยชน์สูงสุดแม้มีเคราะห์ก็ยังสร้างโอกาส

8.       เงินและอำนาจเป็นเจ้านายที่เลวที่สุด แต่เป็นผู้รับใช้ที่ดีที่สุดเช่นกัน เราจึงควรฝึกฝนกินอยู่แบบง่ายๆ

ให้อดทนรู้จักจัดการกับสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

9.       ต้องรู้จักให้ ต้องช่วยเหลือกัน โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

 

สำหรับกลวิธีในการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ศ.วิริยะ แนะนำดังนี้

1.       ต้องฝึกฝนจัดกลุ่มของกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวัน โดยเริ่มต้นจากกิจกรรมที่สำคัญและเร่งด่วน

2.       ต้องฝึกฝนการวางแผนว่าอะไรต้องทำก่อนและหลัง

3.       ต้องฝึกฝนใช้เวลาในการทำกิจกรรมที่ซ้ำ และส่งเสริมกันได้โดยไม่ทำลายกัน

 

ศ.วิริยะ นอกจากตาบอดสนิทแล้ว ยังมีปัญหา คือ นิ้วชี้ขาดทั้งนิ้ว นิ้วกลางเหลือเพียงแค่เศษหนึ่ง

ส่วนสามของนิ้ว จึงทำให้พิมพ์ดีดไม่ถนัด จึงทำศัลยกรรมโดยนายแพทย์โรงพยาบาลทหารจัสแมกซ์ จนไม่มีอุปสรรคอีกต่อไป  และมีโอกาสเรียนภาษาอังกฤษจากชาวต่างประเทศจนสามารถสื่อสารได้รู้เรื่อง

         

อาจารย์วิรัช ศรีตุลานนท์ ได้นำอักษรเบรลล์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่เตรียมไว้แล้วให้ ศ.วิริยะ

ฝึกคลำ พบว่าใช้เวลาหลายวันจึงสามารถอ่านได้ สำหรับภาษาอังกฤษที่มีตัวย่อก็เพื่อให้คนตาบอดสามารถเขียน อ่านอักษรเบรลล์ได้เร็ว เพราะตัวย่อใช้จำนวนช่องน้อยกว่าตัวเต็มอยู่มาก อักษรเบรลล์ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษบางคำเขียนเหมือนกัน เช่น คำว่า ลอนดอน LONDON เท่ากับ L และ ล. ลิง, O และ อ.อ่าง, N และ น.หนู,

D และ ด. เด็ก เป็นต้น

         

ศ.วิริยะ ผู้เขียนได้เสนอหนทางสู่ความสุข ความสำเร็จ ของคนพิการหรือคนที่หมดหวังในชีวิต ดังนี้

          1. นึกถึงคนที่ย่ำแย่กว่าเราเสมอ

          2. ฝึกตั้งคำถามที่สร้างสรรค์

          3. อย่าปล่อยให้มีเวลาว่าง

          4. ความเชื่อ และกรอบความคิด กำหนดเส้นทางชีวิตของคน

          5. นำวิธีคิดของอริยสัจ 4 มาใช้

          6. อ่านหนังสือดีๆ ที่ให้พลังและปัญญา

          7. ใช้ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด

          8. เงินและอำนาจเป็นเจ้านายที่เลวที่สุด แต่เป็นผู้รับใช้ที่ดีที่สุด

          9. ต้องรู้จักให้ทุกคน โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

          จากประโยคสั้นๆ ของผู้เขียนซึ่งอัดแน่นไปด้วยข้อคิดชีวิต รวมถึงคำคมผ่านเทคนิคการเล่าอย่างเข้าใจง่าย และปฏิบัติได้จริง หาอ่านรายละเอียดได้ที่ห้องสมุด ชั้น 8 ค่ะ

   
สารบัญ