เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

เอาต์ซอร์ส กลยุทธ์ผ่าโลกธุรกิจ

   
ผู้เรียบเรียง : สุรพันธ์ วิโรจน์ดุลย์ 
สำนักพิมพ์ : สถาพรบุ๊คส์ จำกัด
จำนวนหน้า : 350 หน้า
ราคา : 250 บาท
ผู้สรุป : พูนสุข มนัสวิวัฒน์ กธฝ. ฝรธ.  
   
   
บทสรุป :

 

หนังสือเล่มนี้เขียนกระชับ เนื้อหาชัดเจน เป็นคู่มือที่เฉียบคมสำหรับองค์กรที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง และเพิ่มพูนผลกำไร เป็นหนังสือที่เจาะลึกและทันต่อเหตุการณ์ โดยเชื่อมโยงหลายกรณีศึกษาในแง่การจัดการ ผู้เขียนใช้ประสบการณ์เอาต์ซอร์ส ที่สั่งสมมานานแบ่งปันอย่างน่ายกย่อง

หนังสือเล่มนี้มี 3 ส่วน แต่ละส่วนแบ่งออกเป็นหลายบท สรุปได้ดังนี้

ส่วนที่ 1 การเอาต์ซอร์ส และเศรษฐกิจโลก

อธิบายให้รู้ถึงปัจจัยขับเคลื่อนหลักของการเอาต์ซอร์สในยุคปัจจุบัน นั่นคือ แนวคิดยึดกระบวนการเป็นศูนย์กลางและเนื้อหานำเสนอโอกาส และความท้าทาย รวมถึงหลักการบริหารแบบใหม่ที่องค์กรยุคใหม่สามารถใช้ประโยชน์จากพลังของการเอาต์ซอร์ส ซึ่งมีคุณค่าสำหรับผู้บริหาร

บทที่ 1 ประวัติของการเอาต์ซอร์ส

การเอาต์ซอร์ส เริ่มเป็นที่รู้จักทั่วไปในต้นศตวรรษ 1990 ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่รุนแรง จึงใช้การเอาต์ซอร์สปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและฟื้นฟูความแข็งแกร่งในการแข่งขัน ผลลัพธ์ก็คือ ห้วงเวลาของการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ 1990 เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล

บทที่ 2 เอาต์ซอร์สสู่การเอาต์ซอร์สกระบวนการธุรกิจ

การเอาต์ซอร์สกระบวนการสายปฏิบัติการ หมายถึง การเอาต์ซอร์สสายงานทั้งหมดของกระบวนการภายในแต่สอดแทรกเทคโนโลยี ผลลัพธ์เหลือเชื่อจริงๆ เพราะการเลือกเอาต์ซอร์สเป็นการลดค่าใช้จ่าย หรือการปรับปรุงบริการ ซึ่งจะนำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้าที่สูงขึ้น และรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างงานของบริษัท Healthnow NY อเมริกาว่า หลังจากเอาต์ซอร์สในแผนกการเงินที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาบัญชีต่างๆ ของบริษัท ได้แก่ การทบทวน และการตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีลูกหนี้ และบัญชีเจ้าหนี้ การฝากเงิน การปรับยอดของรายการบันทึกบัญชีธนาคาร รวมถึงการผลิตรายงานที่ตรงต่อเวลา สำหรับการบริหารแล้ว พบว่า ได้ผลเกินคาด สามารถประหยัด และเร่งกระบวนการผลิตรายงานประจำไตรมาส และสิ้นปีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทที่ 3 มิติการเอาต์ซอร์สข้ามประเทศ

องค์กรไม่ควรมีเอาต์ซอร์ส ถ้ายังไม่พร้อมที่จะลงทุน โดยเฉพาะในท้องถิ่นห่างไกล และภายใต้กรอบวัฒนธรรมและกฎหมายที่แตกต่างกัน

บทที่ 4 โมเดลคุณค่าเอาต์ซอร์สแบบใหม่

โมเดลคุณค่าแบบขยายขอบเขตก็คือ มอบวิธีคาดการณ์และวัดผลโดยรวมที่เกิดขึ้นกับธุรกิจจากการเอาต์ซอร์สให้แก่ผู้บริหาร ช่วยให้ผู้บริหารจัดการโครงการอย่างสัมฤทธิ์ผล โดยการนำเอาหลักการบริหารแบบใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในแนวคิดเพื่อเพิ่มคุณค่าในองค์กร

 

ส่วนที่ 2 ระเบียบวิธีการเอาต์ซอร์ส

บทที่ 5 การพัฒนากลยุทธ์ระดับโลก

การฉกฉวยประโยชน์ของการประหยัดจากขนาดและการปรับขนาดจากภายใน การสร้างความแตกต่างในตลาด การแสวงหารูปแบบใหม่ของข้อได้เปรียบเชิงการแข่งขันในระดับโลก เพื่อยกระดับการจัดหาแหล่งปัจจัยให้เป็นการตัดสินใจทางการบริหารที่มีความสำคัญ

บทที่ 6 การสัมฤทธิ์ผลสูงสุดจากโอกาสการเอาต์ซอร์ส คือ 
(1) มองเห็นโอกาสในแง่กระบวนการ (2) จัดลำดับความสำคัญให้โอกาสที่ดีที่สุด (3) หยั่งเชิงและ
เอาชนะความเสี่ยง โดยคำนึงถึงกระบวนการจัดการที่แน่นอน รวมถึงการเกาะติดกระแสของการเอาต์ซอร์สกับกิจกรรมที่องค์กรอื่นที่ได้ เอาต์ซอร์สไปแล้ว วิธีนี้ช่วยให้แน่ใจว่าไม่มีความเสี่ยงเกิดขึ้น

บทที่ 7 การสร้างทีมและนำทีมสู่ความสำเร็จ

โครงการเอาต์ซอร์ส ส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีการตั้งทีมงานที่มีพัฒนาการ ดังนี้ (1) ทีมระดับนโยบาย รับผิดชอบการพิจารณาความเหมาะสมของโครงการ (2) ทีมที่เสนอความคิดเห็น เพื่อให้ทีมระดับนโยบายพิจารณา (3) ทีมโครงการอิสระ ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการพิจารณาทั่วทั้งองค์กร

การดำเนินการเอาต์ซอร์สที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องอาศัยทั้งแรงสนับสนุนและภาวะผู้นำจากเบื้องบนขององค์กร

ผู้นำโครงการที่เข้มแข็ง จำเป็นต้องมีทักษะสำคัญ เช่น (1) ความสามารถในการโอบอุ้ม และนำการเปลี่ยนแปลง (2) การยอมรับนับถือทั่วองค์กร (3) ความปรารถนาที่จะบริหารไม่ใช่ลงมือทำ
(4) ความสามารถในการสร้างความไว้วางใจ (5) ทักษะการสื่อสาร

บทที่ 8 การก่อความสัมพันธ์ในตลาด

วิธีพัฒนาสัมพันธภาพเอาต์ซอร์สที่ดีที่สุด คือ การสร้างขึ้นมาภายในกรอบทำงานของการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ เป้าหมายคือ การบรรลุความสอดคล้องระหว่างความต้องการของลูกค้ากับขีดความสามารถของผู้ให้บริการที่ยั่งยืน เพื่อความพร้อมที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจตลาดคู่แข่ง เทคโนโลยี และสังคมในอนาคต

บทที่ 9 เศรษฐศาสตร์การเอาต์ซอร์สการจัดทำกรณีธุรกิจ

เนื่องจากการเอาต์ซอร์สถือเป็นการ เปลี่ยนแปลงที่สำคัญกับธุรกิจ ซึ่งจะมีทั้งผู้ที่ไม่เห็นด้วย และผู้สนับสนุนจำนวนมาก ผู้เขียนบอกว่าไม่ควรปล่อยให้การเลือกแนวทางการวิเคราะห์ทางการเงินขึ้นอยู่ กับโอกาสหรือการตัดสินใจของทีมโครงการแต่ละทีม

การจัดเก็บตัวเลขค่าใช้จ่ายใน ปัจจุบันอาจฟังดูเหมือนง่ายแต่การประมวลค่าใช้จ่ายในปัจจุบันของกระบวนการ ธุรกิจเป็นงานที่ต้องทำซึ่งต้องเข้าใจค่าใช้จ่ายของทรัพยากรที่สิ้นเปลืองไป กับกิจกรรมแต่ละอย่าง และจัดทำค่าใช้จ่ายที่เป็นบรรทัดฐานสำหรับกระบวนการธุรกิจทั้งหมดด้วย เช่น ค่าใช้จ่ายในการวางแผน ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น

บทที่ 10 การตั้งราคา การทำสัญญา และการเจรจา

โดยปกติจะมีโมเดลกำหนดราคา โครงสร้างสัญญา และเงื่อนไขทางธุรกิจที่ช่วยให้สัมฤทธิผลได้แน่นอน แต่โดยพื้นฐานก็จะไม่กำหนดที่เป็นมาตรฐาน เพราะขึ้นอยู่กับขนาดที่ทำขึ้นมาสำหรับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ควรระบุถึงความรับผิดชอบของคู่สัญญาและการแบ่งสรรค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวพันกับโครงการที่กำลังดำเนินอยู่

บทที่ 11 การจัดการผลกระทบต่อคนจากการเอาต์ซอร์ส

การเอาต์ซอร์สสามารถก่อให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวกสำหรับพนักงาน โดยเฉพาะการหมุนเวียนทำงานในตำแหน่งอื่น อาจช่วยให้พนักงานพัฒนาทักษะ และได้รับประสบการณ์เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ได้รับความก้าวหน้าในอาชีพการงานที่ดีกว่าเดิม

สำหรับกระบวนการให้ความรู้ควรเริ่มต้นด้วยการช่วยให้พนักงานเข้าใจความเป็นจริงในสภาพแวดล้อมในปัจจุบันและอนาคตที่องค์กรดำเนินงานอยู่ เพื่อช่วยเหลือให้รับมือกับผลกระทบทั้งชีวิตส่วนตัวและอาชีพการงานจากการตัดสินใจเอาต์ซอร์ส

บทที่ 12 การสร้างและการบริหารสิ่งใหม่

ระบบการบริหารแบบใหม่มีหลักการ ดังนี้ (1) รักษาความรับผิดชอบด้านกลยุทธ์ให้อยู่ใกล้เบื้องบน หมายถึง ควรออกแบบให้แน่ใจว่า ความรับผิดชอบด้านกลยุทธ์โดยรวมสำหรับความสัมพันธ์ยังดำรงอยู่กับระดับผู้บริหารสูงสุด (2) สร้างการเชื่อมโยงในองค์กรหลายระดับ เพื่อส่งเสริมให้การเอาต์ซอร์สสัมฤทธิ์ผล (3) จัดประชุมที่มุ่งเน้นเป้าหมายเป็นประจำ (4) ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยที่สุด (5) ให้รางวัลแก่พนักงานของผู้ให้บริการ

 

ส่วนที่ 3 วิสาหกิจเอาต์ซอร์ส

บทที่ 13 ย้อนรอยอดีตเพื่อมองหาอนาคตของการเอาต์ซอร์ส

การเอาต์ซอร์สกำลังถูกขับเคลื่อนด้วยความจริง นั่นคือ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งจะทำได้ดีกว่าและถูกกว่าที่จะทำเอง นวัตกรรมมักเป็นตัวเร่งให้เกิดความเชี่ยวชาญ และจุดชนวนให้เกิดความก้าวหน้าต่อไป ท้ายที่สุด การใช้เอาต์ซอร์สเพิ่มขึ้นจะเปลี่ยนแปลงนวัตกรรม การจัดการความรู้ และการบริหารความเสี่ยง

บทที่ 14 การนำเอาต์ซอร์สไปสู่การปฏิบัติ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จมีดังนี้ (1) การปรับการทำงานให้เน้นทิศทางเดียวกัน
(2) การเข้าถึงได้รับการสนองตอบด้วยการแต่งตั้งตำแหน่งใหม่ที่เรียกว่า ผู้บริหารลูกค้า (3) ความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ เพื่อมอบการบริหารด้วยวิธีการที่เกิดประสิทธิผล

อ่านจบแล้ว จะพบว่า การเอาต์ซอร์สช่วยให้องค์กรปรับปรุงกระบวนการทำงาน
สร้างโครงสร้างองค์กรที่ยืดหยุ่น และปรับตัวได้ง่ายมากขึ้น หากสนใจกรณีศึกษาหาอ่านได้จากห้องสมุด
ธ.ก.ส. ค่ะ

   
สารบัญ