เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

อยู่ 100 ร้อยปี ด้วย 100 วิธี รักษาสุขภาพ 100 Ways to Live to 100

   
ผู้เรียบเรียง : นพ. โรเจอร์ เฮนเดอร์สัน 
สำนักพิมพ์ : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
จำนวนหน้า : 165 หน้า
ราคา : 279 บาท
ผู้สรุป : พูนสุข มนัสวิวัฒน์  
   
   
บทสรุป :
 

       “ แด่ พี่สาวที่น่ารัก (พี่จิ๋ม) จากสมชาย อารยชาติสกุล 30 กันยายน 2551 ” เป็นข้อความที่ปรากฎในหนังสือ 100 Ways to Live to 100 ที่ ผช. ผอ. กธฝ. อดีตผู้บังคับบัญชานักบริหารชั้นเยี่ยมได้มอบให้ผู้สรุปในโอกาสเกษียณอายุ ความรู้สึกแรกที่ได้รับหนังสือเล่มนี้ พลันคิดในใจว่า “ตู จะอยู่ถึง 100 ไหม ? ” แต่พอนึกถึงคุณยายที่เสียชีวิตเมื่ออายุ 99 ปี และคุณแม่ที่เสียชีวิตเมื่ออายุ 90 ปี ณ 10 เมษายน 2550 ในขณะที่บิดา อายุ 87 ปี ยังคงมีสุขภาพแข็งแรงดี ทำให้ผู้สรุปอยากทำลายสถิติในครอบครัวหากจะอยู่ถึง 100 ปี คงต้องอาศัย 100 วิธีจากหนังสือเล่มนี้เป็นแนวทาง จึงขอเชิญชวนผู้อ่านให้อยู่ร่วมกันในโลกใบนี้ด้วย
5 หมวดที่แนะนำไว้ได้เปิดมุมมองโดยมีเนื้อหาที่คัดกรองบางเรื่องที่จำเป็นจริง ๆ ดังนี้

1. ปัจจัยด้านการแพทย์
(1) หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลมาก งดของทอด ของมัน งดอาหารปิ้งย่าง 
(2) ตรวจความดันโลหิต หากสูงก็กินอาหารเค็ม ๆ ให้น้อยลง 
(3) กินอาหารที่มีแคลเซียมมาก ๆ กินฮอร์โมนเสริมตั้งแต่ปีแรกที่สตรีหมดประจำเดือน
(4) ตรวจเต้านมทุก 3 ปี เพื่อป้องกันมะเร็ง
(5) เลิกอายหมอด้วยการตรวจมะเร็งปากมดลูก
(6) ระวังอย่าให้เป็นคอเลสเตอรรอล อันเป็นสาเหตุใหญ่ของโรคหัวใจ 
(7) อย่ากระดากใจต้องตรวจลำไส้ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งสำไส้
(8) กินฮอร์โมนทดแทน ช่วยลดความความเสี่ยงของการเกินโรคหลอดเลือดหัวใจและภาวะกระดูกพรุน
(9) ออกกำลังกายอย่งสม่ำเสมอ

2. อาหารการกิน
(1) กินน้ำมันปลาทะเลที่มีโอเมก้า 3 ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ
(2) ดื่มชาวันละ 4 – 6 แก้ว ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ
(3) อย่าละเลยอาหารเช้า ช่วยลดความเครียด 
(4) กินธัญพืชทุกวัน ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดในสมองแตก
(5) กินช็อกโกแลตดี ๆ ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
(6) อาหารลดความดันโลหิตสูง คือ กินอาหารในสัดส่วนที่พอเหมาะ เช่น ผลไม้สด 
ธัญพืช ผักสด ผักใบเขียว นมแบบไร้ไขมัน และกินอาหารหวานให้น้อยที่สุด เป็นต้น
(7) กินเครื่องเทศเติมรสชาติให้ชีวิต เช่น กระเทียมมีสารต้านมะเร็ง ยี่หร่า ต้านมะเร็งต่อมลูกหมาก พริกหยวก ช่วยบำบัดไขข้ออักเสบ ขมิ้น ต้านการอักเสบ ขิง บำบัดอาการเมารถ เมาเรือ ผักชีฝรั่ง ช่วยป้องกันเนื้องอก และขับปัสสาวะ 
(8) กินผักใบเขียวและธัญพืช ช่วยโรคสมองเสื่อม
(9) หากคิดว่ามังสวิรัติเหมาะกับคุณขอให้ตั้งใจเพื่อสุขภาพที่ดี

3. การใช้ชีวิต
(1) บริจาคโลหิตอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดปริมาณธาตุเหล็กที่มีมากในเลือด
(2) ใช้สูตรคำนวณหาดัชนีมวลรวมของร่างกาย (BMI) เพื่อคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยใช้น้ำหนักเป็นกิโลกรัม เป็นตัวตั้งแล้วหารด้วย ส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง เมื่อได้ค่า BMI ต่ำกว่า 20 ถือว่าผอมเกินไป , BMI 20 – 25 ถือว่าปกติ BMI 25 – 30 ถือว่าน้ำหนักเกิน BMI 30 – 40 ถือว่าอ้วน
(3) ออกกำลังการเพียงครั้งละ 20 – 30 นาที ให้ได้ 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เพื่อช่วยให้สำไส้ขยับเขยือนได้ดี
(4) กินอาหารที่มีเส้นใยมาก ๆ ช่วยป้องกันปัญหาท้องผูก
(5) ดื่มไวน์ระหว่างทานอาหารอย่างสม่ำเสมอจะให้ประโยชน์แก่หัวใจ
(6) การทำสวน เป็นการออกแรงทีมีผลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
(7) อย่าเครียด เพราะเป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ
(8) หากรู้สึกว่าสุขภาพไม่ปกติ ให้รีบพบหมอ
(9) อย่าอารมณ์ร้อนและหงุดหงิด เพราะจะเป็นปัญหาต่อโรคหัวใจ

4. เคล็ดลับจากธรรมชาติ
(1) เนื้อไม่ติดมัน ปลา ผักใบเขียว เมล็ดองุ่น และถั่วเหลือง มีโคคิว – เท็น (COQ 10) ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตและเพิ่มอ๊อกซิเจนตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ 
(2) โสมเป็นสมุนไพรที่ช่วยให้สดชื่น ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
(3) แปะก๊วยช่วยอาการสมองเสื่อมขั้นต้นเท่านั้น
(4) ดื่มน้ำก่อนอาหารจะช่วยให้น้ำหนักลด
(5) วิตามินอี มีผลช่วยป้องกันโรคหัวใจและช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
(6) วิตามินซี ป้องกันโรคหัวใจและโรคลักปิดลักเปิด
(7) การนวดช่วยลดความดันโลหิต ข้อต่อตามร่างกายจะดีขึ้น และกล้ามเนื้อกระชับดีขึ้น
(8) ยืดและเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อให้ข้อต่อไม่ติดขัดและช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้ดีขึ้น
(9) หัดอยู่เฉย ๆ เสียบ้าง เพื่อให้ร่างกายได้พัก จิตใจได้ผ่อนคลาย

5. เคล็ดลับสำหรับจิตใจ
(1) ยิ้มและหัวเราะแบบน้ำหูน้ำตาไหล ช่วยให้กล้ามเนื้อได้ขยับเขยื้อน ช่วยให้ปอดโล่ง
(2) เพศสัมพันธ์ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปทั่วร่างกาย ซึ่งให้ประโยชน์ได้ดีเท่า ๆ กับการออกกำลังกาย
(3) เล่นปริศนาอักษรไขว้หรือท่องเว็บไซด์ เพื่อเก็บเกี่ยวข้อมูลเข้ามาบริหารสมองและความคิด
(4) นั่งสมาธิเป็นวิธีการผ่อนคลาย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยลดความดันโลหิต
(5) แนวทางโยคะ คือ การคุมลมหายใจให้ลึกยาวเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ทำให้ร่างกายได้รับอ็อกซิเจนมากขึ้น เป็นผลให้เครียดน้อยลงได้
(6) การว่ายน้ำช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดน้ำหนักและลดคอเลสเทอรอล
(7) หายใจลึกโดยใช้กะบังลม ไม่ใช่หายใจอยู่แต่ในระดับอก ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการเครียดฉุกเฉินได้
(8) มีเพื่อนไว้เพื่อเป็นกำลังใจและช่วยเหลือแนะนำ 
(9) ฟังดนตรี ช่วยผ่อนคลาย ช่วยบำบัดความหม่นหมอง ช่วยการทำงานของสมองดีขึ้น

หมอโรเจอร์ เฮนเดอร์สัน ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ ให้ข้อคิดอีกว่า อย่าละเลยเมินเฉยต่อปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ๆ ในข้ออื่น ๆ อีกหากใครสนใจอ่านให้ครบ 100 วิธี ไปที่ซีเอ็ด www.se-ed.com นะคะ