เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

ผู้นำเหนือระดับ ด้วยวิสัยทัศน์เหนืออนาคต

   
ผู้เรียบเรียง : บลังชาร์ด เคน 
สำนักพิมพ์ : บริษัท ไพบูลย์อ๊อฟเซต จำกัด
จำนวนหน้า : 460 หน้า
ราคา : 360 บาท
ผู้สรุป : พูนสุข มนัสวิวัฒน์  
   
   
บทสรุป :

          

                หนังสือเล่มนี้ช่วยสลายความเป็นผู้นำแบบเก่าให้กลายเป็นอดีต  โดยมีความเป็นผู้นำแบบใหม่เข้ามาแทน

                อ่านแล้วชอบในตรงที่แต่ละส่วนและแต่ละบทของหนังสือได้พิมพ์ตัวหนาสำหรับข้อความที่สำคัญ  ทำให้สะดุดตาในเนื้อหาที่ไม่เพียงแต่เพื่อการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำเท่านั้น  ยังคงมีประโยชน์ในวงกว้างไปถึงพนักงานทุกระดับในองค์กรอีกด้วย

                สรุปได้ดังนี้

                                ส่วนที่ 1 เล็งให้ถูกเป้าหมายและใช้ให้ถูกวิสัยทัศน์

                                บทที่ 1 ในองค์กรที่มีผลสัมฤทธิ์อันยอดเยี่ยม  ทุกคนจะมุ่งเน้นไปที่หลัก 3 ประการ  คือ

(1)    การเป็นผู้จัดหาที่ดีที่สุด  (2) การเป็นนายจ้างที่ดีที่สุด  (3) การเป็นนายทุนที่ดีที่สุด

บทที่ 2 พลังแห่งวิสัยทัศน์  วิสัยทัศน์  คือ  แนวทางที่ใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ  ในแต่ละวัน  เพื่อให้พนักงานสามารถเล็งไปยังเป้าหมายที่ถูกต้องและไม่ทำอะไรที่ก่อให้เกิดการขัดแย้ง หรือกีดขวางกับความตั้งใจของผู้อื่น  การขาดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนร่วมกับของคนในองค์กร  เป็นเหตุทำให้พนักงานเกิดการแก่งแย่ง  แข่งขันทางอำนาจหน้าที่  เกิดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนและเกิดการผิดพลาดและสูญเสียของพลังงานวิสัยทัศน์ช่วยสร้างความไว้วางใจ  ความร่วมมือช่วยให้พนักงานรู้จักทางเลือกที่ถูกต้อง

ส่วนที่ 2 ปฏิบัติต่อลูกค้าให้ถูกต้อง

บทที่ 3  บริการลูกค้าให้เหนือกว่าด้วยการฟังเสียงลูกค้าและลงมือปฏิบัติเพื่อตอบสนอง  เป็นสิ่งที่จะสร้างแฟนพันธุ์แท้ได้ทำทุกอย่างให้เหนือยิ่งกว่าการให้บริการลูกค้าทั่วไป  เพื่อมุ่งหวังให้ลูกค้าอยากบอกต่อเรื่องราวเกี่ยวกับองค์กรในแง่บวก

ส่วนที่ 3 ปฏิบัติต่อพนังงานให้ถูกต้อง

บทที่ 4  การมอบอำนาจคือหัวใจสำคัญ  มีกุญแจ  3  ดอก ดังนี้

(1)    แบ่งปันข้อมูล  หมายถึง  การเปิดเผยข้อมูล เช่น กิจกรรมของคู่แข่งขัน  แผนธุรกิจในอนาคตและกลยุทธ์ขององค์กร  ซึ่งต้องสอดส่องคู่แข่ง  สำรวจตลาดและติดตามความเป็นไปของโลก

(2)    สร้างแผนผังของขอบเขต  ด้วยการประกาศขอบเขต  ช่วยเปลี่ยนภาพรวมที่กำหนดไว้ให้กลายเป็นการปฏิบัติจริง  อาจเปรียบเทียบกับการเรียนเป็นหลักกิโลเมตรที่กำหนดเอาไว้  เพื่อวัดความก้าวหน้าในกระบวนการทำงาน

(3)    การทำงานแบบบริหารด้วยตัวเองและการทำงานเป็นทีมผลลัพธ์ที่ได้  คือ  บรรยากาศในการทำงานเป็นไปด้วยความกระตือรือร้นและมีผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น  ในขณะที่ค่าใช้จ่ายลดลง

บทที่ 5  ผู้นำตามสถานการณ์ที่มาจากการออกแบบให้สอดคล้องกับการพัฒนาบุคลากรเป็นผู้ที่สามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยตนเอง  สำหรับทักษะ 3 ข้อ  ของการเป็นผู้นำตามสถานการณ์มีดังนี้

(1)    การวินิจฉัย  กุญแจสำคัญ  คือ  ความสามารถและความร่วมมือ

(2)    ความยืดหยุ่น

(3)    การเป็นพันธมิตรในการปฏิบัติงานจะช่วยเปิดการสื่อสาร  ช่วยเพิ่มทั้งคุณภาพและปริมาณ

บทที่ 6  การเป็นผู้นำตัวเอง  พนักงานจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนการเป็นผู้นำตัวเอง  สำหรับทักษะของการเป็นผู้นำตัวเอง  มีดังนี้

(1)    การท้าทายความเชื่อดั้งเดิม  หมายถึง ความเชื่อที่เกิดจากประสบการณ์ในอดีตที่กลายเป็นข้อจำกัดในการเปิดรับประสบการณ์ในปัจจุบันและอนาคต

(2)    ยกย่อยจุดเด่นของตัวเอง

(3)    การมีส่วนร่วมเพื่อความสำเร็จ

บทที่ 7  พันธมิตรเพื่อการทำงาน  สิ่งที่ดีที่สุดของความเป็นผู้นำ  คือ  การเป็นพันธมิตรที่รวมความไว้วางใจกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  ผู้นำจะต้องคอยสลับตัวเองไปมาระหว่างการเป็นผู้สั่งการ  ผู้สนับสนุนและผู้แนะนำ

กุญแจสำคัญดอกแรกของการเป็นพันธมิตรเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ  คือ  การกำหนดเป้าหมาย  การปฏิบัติงานได้ดีนั้นล้วนมาจากการเริ่มต้นด้วยเป้าหมายที่ชัดเจน

บทที่ 8  ทักษะสำคัญสำหรับการสร้างพันธมิตรในการทำงาน  แนวคิด 3 ประการ นับเป็นทักษะสำคัญ มีดังนี้

(1) ก้าวสู่เป้าหมายในหนึ่งนาที    ซึ่งมีหลักการสำคัญอยู่ที่ว่า  ควรเก็บเป้าหมายเอาไว้ใกล้มือ  ด้วยการกำหนดองค์ประกอบแบบ SMART  คือ  Specifid  snd  Measurable  (แน่นอนและวัดได้) Motivating (มีแรงกระตุ้น)  A Hainable (สามารถบรรลุได้)  Relerart (มีความสัมพันธ์)  Trackable  and  time – bormd (สามารถติดตามงานและทำเสร็จตามเวลาที่ผูกมัดอยู่ได้)

(2)    การชื่นชมในหนึ่งนาที  ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทุกรูปแบบ  โดยแสดงความชื่นชมนับแต่เขาทำในสิ่งที่ถูกต้องและสำเร็จ  อย่ารีรอเด็ดขาด

(3)    การตำหนิติเตียน VS การปรับเปลี่ยนทิศทางใหม่ในหนึ่งนาที  กุญแจสำคัญในการตัดสินว่าควรเอ่ยคำตำหนิออกมากมีดังนี้ (ก)  ตำหนิทันทีหลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น  (ข) ต้องชี้เฉพาะเจาะจงลงไปว่าเขาทำผิดพลาดอย่างไร  (ค) แบ่งปันความรู้สึกว่าไม่พอใจกับผลงาน  (ง) ยืนยันความดีที่ผ่านมา  แต่ผิดหวังในกรณีที่เขาทำงานล่าช้า

บทที่ 9 ผู้นำทีมตามสถานการณ์ 

ทีมสามารถปฏิบัติงานได้ดีกว่าและเร็วกว่า  การทำงานเป็นทีมมีอำนาจในการเพิ่มผลผลิต  จึงถูกผลักดันให้กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำมาซึ่งการบรรลุเป้าหมายในการทำงาน

 

 

กุญแจ 7 ดอก  ที่เป็นลักษณะเฉพาะของทีมงานที่มีประสิทธิภาพ คือ PERFORM  มีดังนี้

(1)    P-Pueporse  and  Value จุดมุ่งหมายและค่านิยมในรูปแบบเดียวกันเปรียบเหมือนกับกาวที่ประสานทีมเข้า ไว้ด้วยกันและยังก่อให้เกิดรากฐานของทีมที่มีประสิทธภาพด้วย

(2)    E – Empowerment  การมอบอำนาจในการทำงานสมาชิกของทีมทำงานที่มีประสิทธภาพจะมีความมั่นใจในความสามารถของทีมที่จะก้าวข้ามอุปสรรค  โดยได้ร่วมแบ่งปันข้อมูล  ความรู้และคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 

(3)    R – Relationships  and  Comnication  ความสัมพันธ์และการสื่อสาร ทีมทำงานที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการสื่อสารที่เปิดกว้างพนักงานแต่ละคนจะต้องผูกพันกันทั้งในเชิงส่วนตัวและในเชิงของบทบาทหน้าที่

(4)    F – Fexibility  ความยืดหยุ่น  สมาชิกในทีมทำงานที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีความถ้อยทีถ้อยอาศัย  และตระหนักอยู่เสมอว่า  ทุกคนต่างก็มีความรับผิดชอบร่วมกันต่อทีม   ไม่ว่าจะเป็นการทำงานและความเป็นผู้นำ

(5)    O - Optional  Prodeectiuity  ความสามารถในการผลิตที่เหมาะสม  สมาชิกของทีมจะมีความภาคภูมิใจเมื่อเขาสามารถทำงานได้ทันกำหนดเวลา

(6)    R- Recognition  and  Apprcciation  การยกย่องและชื่นชมทีมทำงานที่มีผลสัมฤทธิ์ดีเด่นจะรับคำชื่นชมและผลตอบรับในแง่บวกกลับมาอย่างต่อเนื่อง  ทั้งในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทีม  ผู้นำทีมและในส่วนขององค์การ

(7)    M – Morale  ขวัญกำลังใจ  สมาชิกจะมีความกระตือรือร้นในงานของตัวเองและภาคภูมิใจต่อการได้เป็นส่วนหนึ่งของทีม

 

บทที่ 10  การเป็นผู้นำในองค์กรที่มีประสิทธิภาพนั้นเป็นเรื่องของการจัดการเรื่องการเปลี่ยนแปลงมากกว่าจะให้ความสำคัญที่เป้าหมาย  ซึ่งบ่อยครั้งคนที่ทำงานจะไม่พอใจกับการเปลี่ยนแปลง  แต่ผู้นำจะต้องแจ้งให้รู้ถึงเหตุผลว่าองค์กรจะมุ่งไปทางไหนและจะจัดการกับความกังวลได้อย่างไรด้วย

 

บทที่ 11  กลยุทธ์สำหรับจัดการเปลี่ยนแปลง

                หากผู้นำไม่รู้จักสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาแล้วองค์กรก็จะกลายเป็นองค์กรล้าสมัยตกยุค  สุดท้ายก็จะมีการตกงาน  เหมือนกับที่เคยพูดกันไว้ว้า  “ถ้าไม่ยอมเปลี่ยนก็เท่ากับคุณกำลังจะตาย”

ส่วนที่ 4  เป็นผู้นำให้ถูกแบบ

บทที่ 12  ผู้นำเพื่อการรับใช้  คือ  ผู้นำที่มีบทบาทคอยช่วยให้ผู้อื่นทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย  โดยให้คำปรึกษาเพื่อให้ทำงานได้ดีกว่าเดิมและดำเนินไป  ตามครรลองของวิสัยทัศน์บนพื้นฐาน 5 ประการ  คือ  SERVE   ดังนี้  (1) S – See  the  Futrese  มองภาพอนาคต

           (2) E – Engace  and  Develop  People   เข้าร่วมและพัฒนาพนักงาน

                              (3) R – Reinvent  continuosly  ขวนขวาย  ใฝ่รู้ไม่หยุดยั้ง

                  (4) V – Value  Results  and  Relationships ให้ความสำคัญเรื่องผลลัพธ์และความสัมพันธ์

                              (5) E – Embody  and  values  สร้างความเป็นรูปธรรมให้ค่านิยม

บทที่ 13  กำหนดทัศนคติความเป็นผู้นำ

                ผู้นำจะต้องทำให้แน่ใจว่าทุกคนในองค์กรมุ่งหวังและเดินหน้าไปยังเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง ที่สำคัญผู้นำจะต้องจดจำ  เอาไว้ว่ามุมมอง  ความเป็นผู้นำไม่เพียงแต่จะช่วยสร้างความกระจ่างทางความคิด  เท่านั้น  แต่ยังจะช่วยในการเตรียมพร้อมเพื่อสอนและถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นด้วย

 

                หนังสือเล่มนี้โฆษณาหน้าปกว่า  ยอดขายกว่า 18 ล้านเล่มเพียง 1 ปี  มีคนอ่านมากมายนับล้าน  ย่อมรับประกันว่าเป็นหนังสือที่คุณน่าจะเป็นเจ้าของ  เพราะยกตัวอย่างที่น่าสนใจไว้ทุกบกทุกตอน

   
สารบัญ