เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

Spiral Up

   
ผู้เรียบเรียง : Jane C. Linder 
สำนักพิมพ์ : AMACOM
จำนวนหน้า : 254 หน้า
ราคา : 24.95 บาท
ผู้สรุป : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ม.ค. 51  
   
   
บทสรุป :

                   

 

                หนังสือเล่มนี้ไม่ได้กล่าวถึงผู้บริหารที่มีชื่อเสียงโด่งดัง หรือวิธีการบริหารที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าดีที่สุด แต่ Spiral Up: And Other Mangement Secrets Behind Wildly Successful Initiatives กล่าวถึง

ชัยชนะที่น่าประทับใจที่สุดของผู้จัดการธรรมดาๆ ที่ไร้ชื่อเสียงเรียงนาม หากแต่ความเป็นผู้นำของพวกเขาสามารถเปลี่ยนแปลงธุรกิจได้

                Jane C. Linder ผู้เขียนซึ่งเป็นผู้บริหารบริษัทที่ปรึกษา ได้ศึกษาการริเริ่มที่ประสบความสำเร็จที่เกิดขึ้นภายในบริษัท 46 แห่งที่อยู่ในหลายๆ แวดวง และกลั่นออกมาเป็นหลักการพื้นฐาน 5 ประการ ที่จะช่วยแนะแนวทางให้ผู้อ่านสามารถทำโครงการให้ประสบความสำเร็จแบบฉีกแนว                

ประสบความสำเร็จแบบแหวกแนว

                อย่างแรกเลย ผู้เขียนกระตุ้นให้ผู้อ่าน “สร้างความแตกต่าง” และ “ก้าวพ้นจากกรอบ” Linder  ชี้ว่าผู้จัดการจำนวนมากเพียงแต่ต้องการทำงานให้ไม่ล้มเหลวเป็นพอ จึงพลาดโอกาสที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่จะให้ผลดีกว่า เธอแนะนำว่าถ้าอยากประสบความสำเร็จจะต้องทุ่มสุดตัวในการที่ท้าทายและจงศรัทธา

                จากนั้น Linder แนะนำให้ “สร้างที่ว่าง” และ “ก้าวเดินออกจากขอบ” เพราะวิธีบริหารแบบเดิมๆ มักยึดติดกับแนวทางและหลักเกณฑ์ที่เข้มงวด เช่น ต้องมีการวางเป้าหมายที่ชัดเจน ต้องกำหนดขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน และมีการมอบหมายงานที่ชัดเจนแต่ผู้จัดการที่ริเริ่มวิธีการใหม่ๆ และประสบความสำเร็จอย่างแหวกแนว ได้ทลายการจำกัดควบคุม และค้นพบสิ่งที่พวกเขาต้องการ พวกเขาแนะนำแต่ไม่บงการ

พวกเขาคาดหวังสูง แต่ไม่ยึดติดในวิธีการที่จะไปให้ถึงความคาดหวังนั้น

                “การทำให้ถูก” จำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้โดยการพยายามครั้งแล้วครั้งเล่า แต่มิได้หมายความว่าให้คุณเดินไปข้างหน้าแบบตาบอด ความคิดใหม่ๆ ที่ฉีกไปจากปกติมักสร้างสรรค์ วิธีปฏิบัติใหม่ๆที่แตกต่างไปจากเดิมโดยปริยาย ผู้จัดการที่ฉลาดจะแสวงหาวิธีการที่ถูกต้องซึ่งไม่ใช่เพียงแค่วิธีการที่ดีพอ แต่พวกเขาต้องการวิธีที่ง่ายที่สุด แต่ใช้ได้ผลมากที่สุด ไม่จำเป็นต้องรวบรวมเฉพาะคนเก่งหรือมืออาชีพมาไว้ในโครงการของคุณ

พนักงานที่ทุ่มเทให้กับโครงการมากที่สุดต่างหาก ที่มักจะเป็นผู้ที่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และควรให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม รวมทั้งให้รางวัลแก่คนที่ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม

                ผู้แต่งชี้ว่า ทั้งหมดนี้จะทำให้คุณพร้อมที่จะพุ่งตัวขึ้นสูงและทำงานได้สำเร็จ ผู้จัดการที่ริเริ่มสิ่งใหม่ๆ และประสบความสำเร็จอย่างแหวกแนว มักไม่ค่อยเดินตามทางตรงที่ผู้จัดการโดยทั่วไปนิยมเดิน และพวกเขาต้องการความเอาจริงเอาจังและเสรีภาพมากกว่าผู้จัดการทั่วๆไปในการที่จะพัฒนาต่อไป พวกเขาไม่ค่อยหยุดนิ่งและเป็นเหมือนกระบวนการที่ไม่สิ้นสุดและขยายตัวเสมอเพื่อสนองความต้องการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป 

โมเดลความสำเร็จ

                Linder ยกตัวอย่าง Jim Schaefer ซึ่งทำงานใน BP เมื่อ BP ต้องการจะปิดโรงกลั่นที่ Lima ซึ่งไม่ทำกำไร Schaefer เป็นผู้นำในการพยายามไม่ให้โรงงานถูกปิด ด้วยความช่วยเหลือจากพนักงานคนอื่นๆและผู้นำชุมชน โรงกลั่นดังกล่าวไม่เพียงสามารถบรรลุเป้าหมายทั้งหมด แต่ยังกลายเป็นโมเดลแห่งความสำเร็จ

ผู้แต่งยังค้นพบการริเริ่มต่าง ในทำนองเดียวกันนี้มากมายหลายระดับและในหลายๆ  อุตสาหกรรม ตั้งแต่การริเริ่มในฝ่ายซ่อมบำรุง ไปจนถึงการริเริ่มทางเทคโนโลยีในระดับใหญ่ แม้กระทั่งในโครงการสาธารณะอย่างหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของรัฐบาล