เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

The Upside

   
ผู้เรียบเรียง : Adrian J. Slywotzky 
สำนักพิมพ์ : Crown Business
จำนวนหน้า : 288 หน้า
ราคา : 27.5 บาท
ผู้สรุป : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ธค. 50  
   
   
บทสรุป :


                           

                  Adrian J. Slywotzky ผู้เชี่ยวชาญด้าน การบริหารจัดการ ชี้ว่า ความเสี่ยงต่างๆที่ผู้บริหารเผชิญ ล้วนมีโอกาสที่ซ่อนอยู่ในความเสี่ยงนั้น หนังสือ The Upside : The 7 Strategies for Turning Big Threats into Growth Breakthroughs เล่มนี้ จะทำให้ผู้นำธุรกิจรู้จักความสี่ยง เพื่อให้สามารถวางแผนและเตรียมตัวล่วงหน้าที่จะเปลี่ยนแปลงความเสี่ยง และค้นพบโอกาสที่ซ่อนอยู่ในความเสี่ยงนั้น 

ความเสี่ยงที่คุกคามบริษัท

                ข้อมูลล่าสุดจาก Standard & Poors พบว่าระดับของความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในธุรกิจ ขณะที่ผู้แต่งชี้ว่าความเสี่ยงที่คุกคามแผนธุรกิจหรือเป้าหมายในอนาคตของบริษัท หรือ strategic risk อาจเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดของคุณค่าที่สูญเสียไปในเศรษฐกิจสหรัฐฯ วิธีแก้ทางหนึ่งคือจ้างผู้จัดการบริหารความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะป้องกันความเสี่ยงไม่ให้กระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า พร้อมๆ ไปกับการรักษาผลกำไรและการป้องกันคู่แข่ง ความเสี่ยงที่คุกคามแผนธุรกิจของบริษัทนี้เป็นความเสี่ยงส่วนใหญ่ที่บริษัทต้องเผชิญ 

นำหน้าความเสี่ยงหนึ่งก้าว

                การเตรียมตัวรับความเสี่ยงที่คุกคามแผนธุรกิจของบริษัท เริ่มด้วยการรู้จักความเสี่ยงชนิดนี้ว่า

มี 7 ประเภท ผู้แต่งเสนอโมเดลใหม่ในการจัดการรับความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยให้บริษัทยืนหยัดอยู่ต่อไปได้ทั้งในระหว่างและหลังจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในตลาด

                หนึ่งในความเสี่ยงที่บ่อนทำลายเป้าหมายในอนาคตของบริษัทคือ ความล้มเหลวของการริเริ่มโครงการใหญ่และสำคัญของบริษัท พร้อมยกตัวอย่างเรื่องจริงจากToyota , Apple และ NASA ผู้แต่งชี้ให้เห็นความสำคัญของการเลือกหาวิธีที่จะเพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จให้แก่โครงการใหญ่ของบริษัท ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั้นจะหมายถึงการควบคุมหรือการซื้อกิจการ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่หรือการลงทุนในกิจการใหม่ ความเสี่ยงที่โครงการสำคัญจะล้มเหลวมีถึง 70 % หรือมากกว่า  

Toyota  เพิ่มโอกาส ลดความเสี่ยง

                Toyota สามารถเพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จของรถ Prius ซึ่งเป็นรถ hybrid ที่ใช้ได้ทั้งน้ำมันและ

ไฟฟ้า ด้วยการย้อนกลับไปถึงขั้นตอนแรกเริ่มตั้งแต่ที่รถดังกล่าวยังเป็นแบบร่าง เพื่อหาทางปรับปรุงเทคโนโลยีเครื่องยนต์ hybrid นอกจากนี้ Toyota ยังเพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จของ Prius ด้วยการสร้างระบบสื่อสารแบบเปิด ซึ่งวิศวกรทุกคนสามารถติดต่อกันผ่าน email และช่วยกันหาทางแก้ปัญหาทำให้โครงการพัฒนา Prius ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเพราะวิศวกรทุกคนสามารถเข้าถึงคำตอบได้ทันทีเพราะการ กำจัดระบบการสื่อสารแบบตามลำดับขั้นและการเพิ่มระบบสื่อสารที่ทำให้ทุกคน เข้าถึงข้อมูลได้เท่าเทียมกันนั้นเอง สิ่งที่ Toyota  ทำ คือการทำริเริ่มสิ่งใหม่เพื่อลดความเสี่ยงของโครงการสำคัญของบริษัทนั่นคือการออกรถ Prius

                ส่วนความเสี่ยงที่คุกคามเป้าหมายของอนาคตของบริษัทอื่นๆ ได้แก่ การเปลี่ยนใจของลูกค้า

การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม การแข่งขันที่ไม่อาจเอาชนะได้ การสูญเสียพลังของ brand การสูญเสีย

ผลกำไร และการเติบโตหยุดชะงัก เมื่อการเติบโตของบริษัทชะลอตัวลงเรื่อยๆ จนหยุดเติบโต

Slywotzky กระตุ้นให้ผู้นำธุรกิจคิดถึงคำถามสำคัญที่ว่า คุณจะสามารถสร้างความต้องการของลูกค้าในรูปแบบใหม่ ซึ่งจะสามารถสร้างคลื่นลูกใหม่แห่งการเติบโตให้แก่บริษัทได้หรือไม่ แม้ในอุตสาหกรรมที่ดูเหมือนอิ่มตัวแล้ว