เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

Group Genius

   
ผู้เรียบเรียง : Keith Sawyer 
สำนักพิมพ์ : Basic Books
จำนวนหน้า : 257 หน้า
ราคา : 26.95 บาท
ผู้สรุป : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ธค. 50  
   
   
บทสรุป :

                         

                 

                หลายคนคิดว่าการสร้างนวัตกรรมหรือประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆเป็นผลงานของอัจฉริยะเพียงคนเดียวเช่น Edison , Einstein หรือ Mozart ที่ปลุกปล้ำอยู่กับปัญหาหรือโครงการใดโครงการหนึ่ง จนกระทั่งวันหนึ่งเขาก็ได้ค้นพบสิ่งใหม่ แต่ไม่มีใครตระหนักถึงกระบวนการก่อนหน้านั้นกว่าจะมาถึงจุดที่อัฉริยะค้นพบสิ่งใหม่ และความจริงแล้วสิ่งใหม่หรือนวัตกรรมที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่างบุคคลผู้เป็นอัจฉริยะกับเพื่อนร่วมงานของเขา หรือจากการพูดคุยกับเพื่อนฝูงหรือแม้แต่กับครอบครัวของเขา ซึ่งต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง หลายวันหรือกระทั่งหลายปี การพูดคุยแลกเปลี่ยนของพวกเขาคือสิ่งที่จุดประกายความคิดใหม่ๆ จนกระทั่งในที่สุดโครงคนหนึ่งในกลุ่มก็มาถึงจุดที่ค้นพบสิ่งใหม่

                กระบวนการแห่งความร่วมมือนี้เอง ที่  Keith Sawyuer ผู้แต่งชี้ว่า เป็นกุญแจของการสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมในด้านศิลปะจนถึงด้านเทคโนโลยี

                แม้ว่าความร่วมมือคือพลังจะไม่ใช่เครื่องใหม่ในโลกธุรกิจ แต่ปัญหาคือ ยังมีหลายบริษัทที่ไม่เข้าใจถ่องแท้ว่าสิ่งใดที่จะทำให้การร่วมมือกัน ประสบความสำเร็จ  และจะรวมพลังสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล เพื่อให้เกิดอัจฉริยะกลุ่มได้อย่างไร หรือทำอย่างไรการร่ามมือกันของคนหลายคนจึงจะสามารถสร้างบุคคลอัจฉริยะขึ้นมาได้               

ความร่วมมือจุดประกายความคิด

                ผู้แต่งชี้ว่า ความร่วมมือจุดประกายให้เกิดการทดลองความคิดใหม่ๆ ซึ่งทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นในที่สุด ความร่วมมือยังทำให้คนนำความคิดใหม่ๆ เหล่านั้น มาปรับใช้ในวิธีใหม่และสร้างสรรค์ อย่างเช่น J.R.R. Tolkien และC.S. Lewis 2 นักประพันธ์ชื่อก้องที่สามารถสร้างสรรค์นิยาย แฟนตาซี 2 เรื่อง ที่นับว่าทรงอิทธิพลมากที่สุดแห่งยุค (The Lord of the Rings และ The Chronicier of Narnia) จากการที่พวกเขาก่อตั้งชมรม The Inklings ขึ้นที่มหาวิทยาลัย Oxford เพื่อรวมกลุ่มคนที่สนใจการเรียนนิยาย แฟนตาซี 

ความร่วมมือใช้เพียงแค่การระดมสมอง

                องค์กรมักเข้าใจว่าความร่วมมือไม่ต่างกับการระดมสมอง แต่ผู้แต่งชี้ว่า นวัตกรรมที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องสร้างนวัตกรรมองค์กรที่ส่งเสริมความร่วมมือ ซึ่งหมายความถึงการทำให้ความร่วมมือเป็นกิจวัตประจำวัน ไม่ใช่เพียงแค่การระดมสมองเป็นครั้งคราวเมื่อเริ่มโครงการใหม่เท่านั้น เพราะการสร้างนวัตกรรมองค์กรที่ส่งเสริมความร่วมมือ จะทำให้เกิดการค้นพบความคิดใหม่ๆ และมีการให้เวลาที่จะสำรวจตรวจสอบความคิดใหม่ๆ เหล่านั้น รวมทั้งสามารถยอมรับความล้มเหลว และให้โอกาสพนักงานลองนำความคิดที่อาจล้มเหลวในโครงการนี้ไปปรับใช้กับโครงการอื่นๆ

                ความสำเร็จในด้านนวัตกรรมในอนาคตขององค์กร นอกจากจะขึ้นอยู่กับการสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กรแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างองค์กรกับบุคคลอื่นๆ อีกด้วย เช่น กับลูกค้า ผู้แต่งแนะนำว่า องค์กรควรทลายกำแพงเดิมๆที่ขวางกั้นการแลกเปลี่ยนความคิดอย่างเสรีกับลูกค้า เพื่อเข้าถึงพลังแห่งความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์

                ผู้แต่งย้ำในท้ายที่สุดว่า นวัตกรรมที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องของคนที่เป็นอัจฉริยะเพียงคนเดียว แท้จริงแล้วเป็นผลจากความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ และชี้ว่าเป็นเรื่องที่จะเปิดใจกับการสร้างสรรค์ผ่านการร่วมมือกับผู้อื่นซึ่งคือ กุญแจที่จะนำไปสู่อนาคตที่ดีกว่า