เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

รู้ทันความเสี่ยง

   
ผู้เรียบเรียง : David Apagar วัธวุธ มาฆะศิรานนท์ และ ณัฐยา สันตระการผล 
สำนักพิมพ์ : เอ็กซเปอร์เน็ท
จำนวนหน้า : 335 หน้า
ราคา : 310 บาท
ผู้สรุป : สุจินต์ ชุ่มใจหาญ ฝรธ.  
   
   
บทสรุป :

 

                หนังสือเล่มนี้ท้าทายความคิดของผู้บริหารส่วนใหญ่ที่คิดว่า  การบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น  แท้ที่จริงแล้วมันเป็นแกนสำคัญในการวางกลยุทธ์อย่างแท้จริง

                ความเสี่ยงมี 2 ประเภท  คือ  ความเสี่ยงที่ที่ล่วงรู้ได้  และความเสี่ยงที่ไม่สามารถล่วงรู้ได้ Apgar  อธิบายว่า  ทำอย่างจึงระบุได้ว่าความเสี่ยงทั้งสองคืออะไร  และประโยชน์ที่จะได้คืออะไร  คำตอบสุดท้ายคือการวิเคราะห์ความเสี่ยง  ซึ่งหมายถึง  การเพิ่ม ระดับความฉลาดรู้ในความเสี่ยง นั่นเอง

                การเรียนรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับ 2 องค์ประกอบ คือ  การสร้างทางเลือกที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหา  ซึ่งเกิดจากความเสี่ยงหรือการหาคำตอบว่าอะไรเป็นสิ่งผลักดันให้เกิดความเสี่ยงนั้น  ส่วนที่สองคือ  การจะบอกได้ว่าทางแก้ปัญหาใดเหมาะสมหรือไม่  เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยประสบการณ์

                Apgar  เสนอกฎ  4  ข้อ  ของความฉลาดรู้ในความเสี่ยงงที่จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีจัดการและปฏิเสธความเชื่อเดิมๆ

                กฎข้อที่ 1  “รู้ว่าความเสี่ยงใดเป็นความเสี่ยงที่เรียนรู้ได้”  เพื่อลบความเชื่อที่ว่า  “ความเสี่ยงทุกประเภทเกิดขึ้นแบบสุ่มหรือไร้แบบแผน”  การเรียนรู้จากข้อมูล  จากประสบการณ์  และจากทักษะของผู้บริหาร  จะสามารถจัดการกับความเสี่ยงได้ดีกว่าและแม่นยำกว่าคนอื่นโดยใช้ต้นทุนต่ำด้วย  สำหรับความเสี่ยงที่ไร้แบบแผนก็ต้องคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดจากปัจจัยความเสี่ยง  ทำความเข้าใจและคำนวณความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดเท่านั้นเอง  เพราะความเสี่ยงประการหลังนี้อยู่     นอกเหนือการควบคุมของเรา  มันมีเหตุจากภายนอกแล้วมากระทบกับตัวเรา  และคงมีอยู่เสมอ  อย่างไรก็ดี  มันอาจเป็นความเสี่ยงที่เรียนรู้ได้ในโอกาสต่อไป

                กฎข้อที่ 2 “ระบุความเสี่ยงที่คุณสามารถเรียนรู้ได้ให้เร็วที่สุด”  เพื่อลบความเชื่อที่ว่า “เมื่อมีความเสี่ยงเป็นเรื่องมีได้มีเสีย  จึงทำให้เกิดผู้ชนะหรือผู้แพ้แบบถาวรได้ยาก”  โดยการวัดความสามารถในการประเมินความเสี่ยงที่เรียนรู้ได้  และเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันเป็นคะแนนออกมาแล้วนำมาคัดกรอง  วิเคราะห์ระดับความฉลาดรู้ในความเสี่ยง  และจัดประเภทการเป็นผู้ประเมินความเสี่ยง  เพราะบางครั้งการมีข้อมูลมากแต่ไม่ได้ช่วยชี้แนะอย่างชัดเจน  หรือเรียนรู้หลายย่างแล้วมันลืมไปหรือไม่

                กฎข้อที่ 3  “เรื่องลำดับโครงการที่มีความเสี่ยงสูงเอาไว้ในท่อลำเลียงการเรียนรู้เพื่อลบความเชื่อที่ว่า  ความเสี่ยงพัฒนาไปอย่างไม่มีแบบแผน”  เป็นการตรวจสอบกลยุทธ์ความเสี่ยงโดยไม่ลืมว่ามีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงที่ต้อง เผชิญอยู่ตลอดเวลา  คุณต้องประเมินความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ  มิฉะนั้นไม่สามารถรอเวลาที่จะจัดการกับความเสี่ยงใหม่ของโครงการใหม่ได้จน กระทั่งคู่แข่งเข้ามาเป็นผู้นำแทน  จึงจำเป็นต้องสร้างท่อลำเลียง  เป็นการสร้างความเชี่ยวชาญในการจัดการรับความเสี่ยงใหม่ทีละอย่างได้  การเข้าซื้อกิจการก็เป็นการแก้ปัญหาการกระจายความเสี่ยงอย่างหนึ่งแน่นอนที่ สุดสำหรับการประเมินทางเลือกคงไม่ซื้อกิจการที่มีความเสี่ยงมากแล้ว  ทำให้บริษัทของคุณมีความเสี่ยงสูงขึ้นไปอีก  ผู้ที่มีบทบาทในการตรวจสอบกลยุทธ์ความเสี่ยง  เช่น  หัวหน้าทีมตลาด  ผู้บริหารกระบวนการภายใน  ทีมเทคโนโลยีสารสนเทศ  ทีมกฎหมาย  ทีมควบคุมคุณภาพ  ฝ่ายบริหารเงิน  นักบัญชี  และผู้วางแผนขององค์กร

                กฎข้อที่ 4  “สร้างและรักษาเครือข่ายของหุ้นส่วนธุรกิจเพื่อบริหารความเสี่ยงทั้งหมด”  เพื่อลบความเชื่อที่ว่า  “หุ้นส่วนธุรกิจจะได้ผลลัพธ์แบบเดิม  ไม่ว่าพวกเราจะกระจายความเสี่ยงไปอย่างไร”

                เรื่องความเสี่ยงที่ไร้แบบแผน  ไม่มีใครสามารถประเมินได้ดีกว่าใคร  ผู้ที่สร้างความแตกต่างได้ยั่งยืนที่สุดในการสร้างความเร็วในการเรียนรู้ความเสี่ยง  ก็คือหุ้นส่วนธุรกิจนั่นเอง  ดังนั้นการเข้าร่วมเครือข่ายจึงต้องขึ้นอยู่กับลักษณะและระดับความเสี่ยงสำคัญ 2 ประการ  คือ คุณสามารถกระจายความเสี่ยงได้ดีแค่ไหน  และขอบเขตในการับความเสี่ยง  แต่มีสิ่งพึงระวังของแนวคิดการสร้างเครือข่าย  เพราะผลกระทบคือความต้องการที่หลากหลาย  ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่สำคัญได้  ขณะเดียวกันก็อาจเป็นตัวยับยั้งการพัฒนาได้เช่นกัน

                การมีความฉลาดรู้ในความเสี่ยง  จะสามารถแสวงหาประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่มากมาย  ด้วยการทำหน้าที่เป็นตัวกลางในตลาดใหม่  ดังนั้น  จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการกำหนดกลยุทธ์การบริหารองค์กรทุกประเภท  รวมทั้งการคลองคนของคนเราให้ประสบความสำเร็จด้วยการเรียนรู้ที่จะบริหารและ จัดการความเสี่ยงที่เราไม่สามารถล่วงรู้ได้อย่างเป็นระบบ