สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นประเทศที่
ไม่มีทางออกทางสู่ทะเล เป็นหนึ่งในประเทศยากจนที่สุดในเอเชียและ
เป็นประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง 90% ของประชากร
5.5 ล้านคน ทำงานในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลความเจริญ ส่วนใหญ่ทำ
การเกษตรเพื่อยังชีพ

   

 


อาเซอร์ไบจานเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางในภาคใต้ของเทือกเขา
คอเคซัสโดยมีรายได้ประชาชาติต่อหัวที่ 4,760 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2559
ประเทศนี้มีประชากรประมาณ 9.9 ล้านคน (2561) อาเซอร์ไบจานเป็น
หนึ่งในประเทศที่ผลิตน้้ามันที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และประเทศได้พัฒนา
ก๊าซธรรมชาติอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งธุรกิจน้้ามันและ
ก๊าซสร้างรายได้เกือบร้อยละ 60 ของ GDP ในประเทศ  

   

 


การให้บริการทางการเงินตลอดห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มการเกษตร (AVCF)
ได้รับการพิจารณาเป็นประเด็นที่สำคัญมากของการเงินในชนบท
นอกจากนี้ห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มทางการเกษตรยังถูกเฝ้าสังเกต ในด้าน
การผลิตทางการเกษตร การแปรรูป การผลิตหลักและระบบการตลาด
ของสินค้า และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ของผลผลิตแต่ละชนิด
ซึ่งมีความแตกต่างกัน  

   

 


ความสำเร็จของจีนในการต่อสู้กับความยากจน เป็นเรื่องที่โดดเด่นมาก
ในปี 2015 สหประชาชาติประกาศอย่างครึกโครมว่า เป้าหมายอย่างหนึ่ง
ของ Millennium Development Goals (MDG) ที่จะลดความยากจน
ข้นแค้นในโลกลงให้ได้ครึ่งหนึ่งนั้น        สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้แล้ว
จากหลักเกณฑ์ของธนาคารโลก   เรื่องความยากจนข้นแค้น จำนวนคน
ยากจนประเทศต่างๆ ที่ลดลงนี้ กว่าครึ่งหนึ่งเป็นการลดลงของคนยากจน
ในจีน คำถามมีอยู่ว่า จีนดำเนินการจนประสบความสำเร็จได้อย่างไรและ
ให้บทเรียนแก่ประเทศต่างๆ อย่างไร

   

 


เอกสารฉบับนี้ได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาเชิงวิเคราะห์ของ
Dr. Ganesh Thapa ตำแหน่ง former regional economist จากกองทุน
ระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (IFAD) ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี
ผู้ที่มีบทบาทในการปรับปรุง   เพิ่มจุดแข็งในส่วนของการเพิ่มผลผลิต
การสร้างกำไร  และการสร้างความยั่งยืนโดยสถาบันต่างๆ และบุคลากร
ของการพัฒนาชนบทและการเกษตร

   

 


การจัดทำเอกสารฉบับนี้เป็นการจัดทำโดยการทบทวนข้อมูลและผนวก
ความรู้จากประสบการณ์ของผู้เขียน และประสบการณ์ด้านการเงินรายย่อย
และห่วงโซ่คุณค่าในภาคเกษตรกรรมเข้าด้วยกัน พร้อมเสริมข้อมูลด้วย
การสอบถามทางโทรศัพท์และแบบสำรวจอย่างง่ายผ่านทางอีเมลซึ่งส่งให้
กับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเงินของการประมงรายย่อย

   



 


E-Project เพื่อการพัฒนาเกษตรและเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ
(E-PADEE) เป็นโครงการมูลค่า 380,000  เหรียญสหรัฐ มีการนำไปประยุกต์ใช้
ในกัมพูชาโดยการสนับสนุนจากสาธารณรัฐเกาหลีร่วมกับ IFAD ถูกนำมาใช้
ในปี 2013  ถึง 2016  ภายใต้กรอบโครงการที่กว้างขึ้นของโครงการ IFAD
เพื่อการพัฒนาการเกษตรและเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ (PADEE)
IFAD’s Project for Agricultural Development and Economic
Empowerment (PADEE)

   

 


ธุรกิจขนาดย่อม ขนาดเล็กและขนาดกลาง หรือ MSMEs เป็นแกนหลักใน
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ในบางครั้งก็เป็นเรื่องยากสำหรับสถานบันทาง
การเงินที่จะจำแนก เนื่องด้วยวิธีการที่ใช้ในการดำเนินธุรกรรม ผลที่ตามมา
นั่นก็คือ MSMEs หลายๆ กลุ่มเข้าไม่ถึงระบบการเงินและผลิตภัณฑ์ทาง
การเงินที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อส่งเสริมธุรกิจ มีการจำแนกและ
จัดหมวดหมู่ความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นงานที่ท้าทายมากสำหรับ
การบริการทางด้านการเงินในรูปแบบดิจิตอล

   

 


แกมเบียเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในทวีปแอฟริกา และเป็นหนึ่งใน
ประเทศที่ยากจนที่สุดของโลก ติดลำดับที่174  จาก 189 ประเทศ ดัชนีการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2018  ความยากจน
ในรายได้  ความไม่ปลอดภัยในอาหารและของใช้ในครัวเรือนเป็นที่แพร่หลายและ
เกือบครึ่งหนึ่งในประชากรที่อาศัยอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนสัมบูรณ์

   



 


กินีบิสเซาเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ประเทศอยู่ในลำดับที่ 177 จาก 189 ประเทศ
ดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2018 สองในสาม
ของประชากร 1.8 ล้านคน อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนตั้งแต่ประกาศอิสรภาพจากโปรตุเกสในปี
ค.ศ. 1974   กินี-บิสเซา ได้รับความเดือดร้อนจากไม่แน่นอนทางการเมืองอย่างเรื้อรังซึ่งมี
คนพลัดถิ่น ทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและความพยายามที่จะต่อสู้ความยากจน


   


 


แม้จะมีความมั่งคงในด้านแร่ธาตุ แต่กินีก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ในปี 2018
ถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 175 จาก 189 ประเทศ จำแนกตามตามดัชนีการพัฒนามนุษย์ของ
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ‘United Nations Development Programme’s
Human Development Index’ มากกว่าครึ่งหนึ่งของ 11.5 ล้านคนที่อาศัยอยู่ต่ำกว่าเส้น
ความยากจน และประมาณร้อยละ 20 อยู่ในสภาวะยากจนอย่างหนัก   ความไม่ปลอดภัย
ของอาหารส่งผลกระทบต่อคนประมาณ 1.9 ล้านคนในกินี