พระราชกรณียกิจที่สำคัญต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 
     
 

การศึกษา

-   โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นในพระบรมมหาราชวัง

-   โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎร  โดยตั้งขึ้นทั้งภายในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองสำคัญ 
และโรงเรียนแห่งแรกคือโรงเรียนมหรรณพาราม

-   โปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรส  และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงศึกษาต่างประเทศ  เพื่อฝึกให้มีความรู้สำหรับ
เข้ารับราชการ

-   โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนมหาดเล็ก (ภายหลัง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ซึ่งถือว่าเป็นมหาวิทยาลัย
แห่งแรกของประเทศไทย

-   โปรดเกล้าฯ ให้มีการศึกษาตามโรงเรียนวัดต่างๆ

 
     
 

  วรรณกรรม

                ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองอันทรงคุณค่าไว้จำนวน ๑๐ เรื่อง  เช่น  ไกลบ้าน  เงาะป่า 
นิทราชาคริต  อาบูหะซัน  พระราชพิธีสิบสองเดือน  และตำรากับข้าวฝรั่ง  เป็นต้น

 
     
 

  การเงิน  การธนาคาร  และการคลัง

-   โปรดเกล้าฯ ให้ออกธนบัตร

-   โปรดเกล้าฯ ให้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอนเป็นครั้งแรก

-   โปรดเกล้าฯ ให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเข้ามาตั้งสาขา

-   โปรดเกล้าฯ ให้คนไทยตั้งธนาคารพาณิชย์

-   โปรดเกล้าฯ ให้จัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก

-   โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหอรัษฎาพิพัฒน์  เพื่อปฏิรูปการจัดเก็บภาษี

 
     
 

  การเกษตร

-    โปรดเกล้าฯ ให้มีการออกโฉนดที่ดิน

-    โปรดเกล้าฯ ให้มีการแสดงกสิกรรม

-    โปรดเกล้าฯ ให้มีการส่งออกข้าวไปต่างประเทศ

-    โปรดเกล้าฯ ให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก

 
     
    การทหาร

-    โปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงหน่วยทหารและอาวุธยุทธภัณฑ์ให้ทันสมัย

-    โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมยุทธนาธิการ (ภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวงกลาโหม)

-    โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก  โรงเรียนนายเรือ  และโรงเรียนกรมแผนที่ทหาร

-    โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารขึ้นใช้เป็นครั้งแรก  เป็นการแยกราชการทหารออกจาก
 ราชการฝ่ายพลเรือน

 
     
 

  การปกครอง

        -    โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภาที่ปรึกษาแผ่นดิน  2  สภา  คือ  สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน  และสภาที่ปรึกษา
            
ในพระองค์

-    โปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิรูปการปกครองใหม่ตามอย่างตะวันตก  แยกการปกครองออกเป็น ๓ ส่วน คือ
             ส่วนกลาง  แบ่งเป็นกระทรวงต่างๆ  ส่วนภูมิภาค  โดยระบบเทศาภิบาล  และส่วนท้องถิ่นในรูปสุขาภิบาล

-    โปรดเกล้าฯ ให้จัดทำสำมะโนครัว

-    โปรดเกล้าฯ ให้มีการเลิกบ่อนเบี้ย

 
     
 

  สังคมและวัฒนธรรม

-    โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกระบบทาสและระบบไพร่ให้ประชาชนมีอิสระในการดำรงชีวิต  โดยออกพระราชบัญญัติ
  ทาส  รศ ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘)

-    ยกเลิกประเพณีที่ล้าสมัย  และรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา

-    โปรดเกล้าฯ ให้เลิกหมอบคลาน  เปลี่ยนเป็นนั่งหรือยืนตามแต่โอกาสเหมาะสม

-    โปรดเกล้าฯ ให้ผู้ชายตัดผมเกรียนหรือยาวเพียงเล็กน้อย  แทนการไว้ผมทรงมหาดไทย

-    โปรดเกล้าฯ ให้ผู้หญิงไว้ผมยาวหรือทรงดอกกระทุ่ม  แทนการไว้ผมปีก

-    โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนจุลศักราช (จศ.) เป็นรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) โดยเริ่มตั้งแต่  พ.ศ. ๒๓๒๕

-    โปรดเกล้าฯ ให้พระบรมโอรสาธิราช  เป็นตำแหน่งสืบทอดราชสมบัติแทนของเดิมที่พระอนุชา  เป็นตำแหน่ง
 พระมหาอุปราช  หรือ  วังหน้า
      

 
     
 

  กฎหมายและการศาล

-    โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบศาลยุติธรรม  เป็นการแยกอำนาจตุลาการออกจากฝ่ายบริหาร
 เป็นครั้งแรก

-    โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกจารีตนครบาลที่ใช้วิธีโหดร้ายทารุณในการไต่สวนคดีความ

-    โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนกฎหมาย

-    โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญาอันเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย

-    โปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขสนธิสัญญาที่ไทยเสียเปรียบมาโดยตลอดให้ทันกับยุคสมัยที่ชาติตะวันตกกำลังรุก
 เข้ามาล่าอาณานิคม

-    โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศาลโปริสภา (ศาลแขวงในปัจจุบัน) 
 
การปรับปรุงกฎหมายและการศาลนี้เป็นลู่ทางที่ทำให้ประเทศไทยสามารถแก้ไขปัญหาสิทธิสภาพ
  นอกอาณาเขตในภายหลัง

 
     
    การแพทย์และสาธารณสุข

-    โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาลวังหลัง (ศิริราช)

-    โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย)

-    โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมสุขาภิบาล

-     โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนแพทย์  โรงเรียนผดุงครรภ์และพยาบาล  เป็นต้น

 
     
    สาธารณูปโภค

-    โปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนและสะพานสำคัญๆ เพิ่มเติม

-    โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองใหม่และลอกคลองเดิมเพื่อใช้ในการคมนาคมและขยายพื้นที่เพาะปลูก

-    โปรดเกล้าฯ ให้จัดให้มีกิจการสาธารณูปโภคขึ้นเป็นครั้งแรก  ซึ่งได้แก่  รถไฟ  เรือไฟ  เรือยนต์  รถราง 
 โทรเลข  ไปรษณีย์  โทรศัพท์  ไฟฟ้า  และประปา

 
     
    การศาสนา

-     โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองสงฆ์เป็นฉบับแรก

-     โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสถานศึกษาสงฆ์  คือ  มหามกุฎราชวิทยาลัย

-     โปรดเกล้าฯ ให้มีการสังคยานาและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยตัวอักษรไทยเป็นครั้งแรก

-     โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดราชมบพิตรสถิตมหาสีมาราม  เป็นวัดประจำรัชกาล

-     โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเทพศิรินทราวาส  วัดปรมัยยิกาวาส  วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม 
  วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ  รวมทั้งปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ  เช่น วัดอรุณราชวราราม  เป็นต้น

 
     
                                                                                                          <<< back