แบงก์รัฐประสานเสียงไม่หวั่นหนี้เน่า'สินเชื่อSME'แสนล. ออมสินเร่งเทกระจาด-ธวพ.เฮพอร์ตทะลุเป้า
ข่าววันที่ : 15 ก.ย. 2558
Share

tmp_20151509111857_1.jpg

วันที่ ปรับปรุง 15 ก.ย. 2558

          โดยธนาคารออมสินจะคิดอัตราดอกเบี้ย 0.1% และธนาคารอื่นๆ นำไป ปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีดอกเบี้ย 4% ระยะเวลา 7 ปี โดยวงเงิน การปล่อยกู้กับธนาคารต่างๆ จะเป็นลักษณะใครมาได้ก่อนจนกว่า จะหมดวงเงิน เงื่อนไขยื่นของกู้ต้องไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม แต่ สามารถเบิกวงเงินจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2559 และข้อกำหนดหลัก คือ ต้องเป็นกิจกรรมใหม่ ไม่ใช่รีไฟแนนซ์ โดยผู้ประกอบการติดต่อสถาบันการเงินเดิมที่เป็นลูกค้า เพราะฐานของสินเชื่อเอสเอ็มอีกระจายไปทุกสถาบัน รวม 4.4 ล้านล้านบาท

          "ธนาคารจะปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอีเอง 7,000-8,000 ล้านบาท ส่วนแบงก์อื่นตามเงื่อนไข โดยหลักประกันเพื่อป้องกัน ความเสี่ยงทางบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จะเข้ามาจ่ายค่าประกันชดเชยความเสียหาย 22.5% จากเพดานค้ำประกันทั้งหมด 30% ของภาระหนี้ทั้งหมด จึงไม่น่ากังวล และส่วนนี้จะทำให้ระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อน" นายชาติชาย กล่าว

          ด้านนางสาลินี วังตาล ประธานคณะกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธวพ.) คาดว่า ธนาคารจะขอสินเชื่อกับธนาคารออมสินวงเงิน 10,000-15,000 ล้านบาท เพื่อนำมาปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีทุกกลุ่ม อัตราดอกเบี้ย 4% ประกอบกับทางเอสเอ็มอีแบงก์มีโครงการสินเชื่อนโยบายรัฐ (Policy Loan) อัตราดอกเบี้ยเดียวอีก 40,000 ล้านบาท อาจจะทำให้เป้าหมายการปล่อยสินเชื่อส่วนนี้อาจไม่ต่ำกว่า 55,000 ล้านบาท

          ประธานบอร์ดเอสเอ็มอี ยืนยันว่าไม่ได้กังวลในส่วนของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เนื่องจากการปล่อยกู้จะได้รับการค้ำประกันความเสียหายจาก บสย. ทำให้สถาบันการเงินกล้าปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ขณะที่หลักเกณฑ์การ ค้ำประกันจะมีความแตกต่างของแต่ละสถาบัน โดยในส่วนของเอสเอ็มอีแบงก์ กรณีกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาท ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ ค้ำประกัน หรือให้ บสย.ค้ำประกัน 1-5 ล้านบาท ผ่านคัดกรอง พันธมิตร บสย. ค้ำประกันทั้งหมด เอสเอ็มอีที่ต้องการขอกู้ตั้งแต่ 5-15 ล้านบาท ให้ บสย.ค้ำประกัน หรือ หลักทรัพย์ประกัน เอสเอ็มอีที่ต้องการขอกู้ตั้งแต่ 15 ล้านบาทขึ้นไป แบ่งสัดส่วนมีหลักทรัพย์ค้ำประกันร้อยละ 60 และ บสย. ค้ำประกัน ร้อยละ 40 นอกจากนี้ แนะนำให้เอสเอ็มอี ควรจะเข้าร่วมเป็นเครือข่ายสมาชิกองค์เอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) หรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จะได้รับการอนุมัติสินเชื่อง่ายขึ้น

          "ครั้งนี้รัฐต้องการช่วยเอสเอ็มอี เพราะขณะนี้ เดือดร้อนทั่วประเทศ เช่น โรงสีข้าวได้รับผลกระทบมากจากภัยแล้ง ผู้ประกอบการรีสอร์ท หลายแห่ง ก็ขาดสภาพคล่องอย่างหนัก เงินส่วนนี้จะไปช่วยให้อยู่ได้ โดยส่วนตัวไม่กังวลหนี้เสีย คาดการปล่อยสินเชื่อ 100 ราย ก็มีหนี้เสียจริงๆ แค่ 1-2 รายเท่านั้น" นางสาลินี กล่าว

          ประธานบอร์ดเอสเอ็มอีแบงก์ ยังระบุว่า เร็วๆ นี้รัฐบาลจะออกมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีชุดที่ 2 แต่จะเน้นการพัฒนาศักยภาพ เพิ่มความสามารถในการผลิตสินค้า และหาตลาดให้เอสเอ็มอี ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี

          ด้านนายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมพิธีเปิดโครงการสนับสนุนสินเชื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ซึ่ง ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับดีมาก (A) และระดับดี (B) กองทุน ละไม่เกิน 1 ล้านบาท

          นายลักษณ์กล่าวว่า ธ.ก.ส.มีความพร้อม ในการดำเนินการ ซึ่ง ธ.ก.ส.รับผิดชอบจ่ายสินเชื่อ ให้แก่กองทุน วงเงิน 30,000 ล้านบาท คาดว่า จะดำเนินการเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ ปัจจุบัน ธ.ก.ส. ดูแลกองทุน ระดับ A และ B จำนวน 20,584 กองทุน จากทั้งหมด 59,062 กองทุน ให้สินเชื่อกองทุน ละไม่เกิน 1 ล้านบาท แยกจากวงเงินกู้ปกติของธนาคาร ชำระคืนเสร็จไม่เกิน 7 ปี ปลอดดอกเบี้ย 2 ปีแรก ส่วน 5 ปีต่อไป คิดดอกเบี้ยเท่ากับต้นทุนทางการเงินของธนาคารบวกด้วยร้อยละ 1 ต่อปี

          "ธ.ก.ส.กำหนดหลักเกณฑ์การให้ สินเชื่อไว้อย่างรัดกุม ได้แก่ การมีส่วนร่วมของชุมชนโดยการทำประชาคม การกำหนดให้โอนเงินกู้เข้าบัญชีเงินฝากสมาชิกรายคน การตรวจสอบ การดำเนินงานของกองทุน และสุ่มสอบการใช้เงินกู้ของสมาชิก ซึ่งสามารถให้สินเชื่อได้ทันทีเมื่อกองทุนผ่านการประชาคมและยื่นเรื่องกู้ต่อธนาคาร" นายลักษณ์

 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 15 กันยายน 2558