กู้กองทุนหมู่บ้านสัปดาห์หน้า เร่งปล่อยเงินให้หมดสิ้นต.ค.ออมสินอุ้มเอสเอ็มอีแสนล้าน
ข่าววันที่ : 8 ก.ย. 2558
Share

tmp_20150809105831_1.jpg

วันที่ ปรับปรุง 8 ก.ย. 2558

          ที่เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยให้ธ.ก.ส.และออมสินปล่อยสินเชื่อแห่งละ 30,000 ล้านบาท ให้กองทุนหมู่บ้านฯ ก่อนนำเงินไปปล่อยกู้ต่อให้สมาชิกกองทุนแบบไร้ดอกเบี้ย เป็นเวลา 2 ปี คาดว่า เงินดังกล่าวจะถึงมือสมาชิกสัปดาห์หน้า และต้องเร่งปล่อยเงินลงไปให้เสร็จภายในเดือนต.ค.นี้

          ทั้งนี้การปล่อยกู้ให้กองทุนหมู่บ้านฯ จะให้กองทุนที่มีศักยภาพอยู่ในระดับเอและบี 60,000 กองทุน จากทั้งหมด 79,000 กองทุน โดยในจำนวนนี้ เป็นกองทุนธ.ก.ส.ดูแล 30,000 กองทุน เป็นกองทุนในระดับเอและบี 20,500 กองทุน ซึ่งธ.ก.ส.จะปล่อยกู้ให้กองทุนแห่งละ 1 ล้านบาท จากนั้นกองทุนจะกระจายเงินให้สมาชิกไปกู้ต่อ วงเงินรายละไม่เกิน 10,000-20,000 บาท ตามความเหมาะสมของคณะกรรมการกองทุนที่จะไปพิจารณา เบื้องต้นเชื่อว่าจะมีสมาชิกกองทุนไม่ต่ำกว่า 75% สนใจเข้ามากู้เงินก้อนดังกล่าว

          "ที่ประชุมบอร์ดธ.ก.ส.ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ โดยนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง และประธานบอร์ด ได้กำชับให้ฝ่ายจัดการของธ.ก.ส.ทำงานอย่างใกล้ชิด กับสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) และสนับสนุนให้สินเชื่อออกสู่ระบบอย่างรวดเร็ว พร้อมกำชับเจ้าหน้าที่ธ.ก.ส.ในพื้นที่ ดูว่าสมาชิกนำเงินไปใช้เกิดประโยชน์หรือไม่ เพราะถือเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนต่อเศรษฐกิจฐานราก และจะเชิญให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดตัวโครงการด้วย"

          นายลักษณ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ รมว.คลังยังมอบหมายให้ธ.ก.ส. ไปร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับสทบ. เร่งโอนเงินเพิ่มทุนให้กองทุนหมู่บ้าน ที่ยังไม่ได้รับการเพิ่มทุนระยะที่ 3 อีก 18,000 กองทุน ส่วนใหญ่ เป็นกองทุนในระดับซีและดี ที่ต้องทำแผนฟื้นฟู เพื่อขอเพิ่มทุนเสนอให้คณะกรรมการระดับจังหวัด ก่อน เสนอให้สทบ.พิจารณา ซึ่งการร่วมมือครั้งนี้ ธ.ก.ส.ต้องเข้าไปให้คำแนะนำกับกองทุนฯ โดยร่วมมือกับกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยด้วย

          ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารได้เตรียมความพร้อมปล่อยสินเชื่อให้กองทุนหมู่บ้าน 30,000 ล้านบาทไว้แล้ว คาดว่า จะปล่อยได้ทั้งหมดในสิ้นปีนี้ ส่วนกรณีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) นั้น ธนาคารไม่กังวล เพราะการปล่อยกู้ให้กองทุนหมู่บ้าน จะเป็นหมู่บ้านในระดับเอและบี เป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง และกองทุนหมู่บ้านจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 45-46 ก็มีความเข้มแข็งมากอีกด้วย

          นายชาติชาย กล่าวว่า ออมสินพร้อมออกสินเชื่อดอกเบี้ยขั้นต่ำ (ซอฟต์โลน) วงเงิน  100,000 ล้านบาท ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์รัฐ) และธนาคารพาณิชย์ เพื่อนำไปปล่อยกู้ต่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศ และเมื่อรวมกับเงินที่จะปล่อยกู้ในโครงการกองทุนหมู่บ้านอีก 30,000 ล้านบาท รวมเป็น 130,000 ล้านบาท แต่ทั้งนี้เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อสภาพคล่องของธนาคาร

          ทั้งนี้เพราะวงเงิน 100,000 ล้านบาท ไม่มีความเสี่ยงเนื่องจากเป็นการปล่อยกู้ให้สถาบันการเงินอื่น โดยจะคิดดอกเบี้ยที่อัตราเดียวกับต้นทุนของธนาคารคือกว่า 2% ซึ่งการปล่อยกู้ซอฟต์โลนของธนาคาร ถือว่าไม่ขัดต่อ พ.ร.บ. ของธนาคาร อีกทั้งเงื่อนไขการปล่อยกู้ในโครงการซอฟต์โลนเบื้องต้น จะดูที่สินทรัพย์ของเอสเอ็มอีแต่ละราย ว่าต้องมีขนาดไม่เกิน 200-250 ล้านบาท โดยคาดว่า แต่ละสถาบันการเงินจะปล่อยกู้ตามความเหมาะสมของธุรกิจ และห้ามปล่อยกู้เพื่อนำมารีไฟแนนซ์หนี้เก่า

          รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า โครงการปล่อยสินเชื่อในโครงการกองทุนหมู่บ้าน 1-7 ปี โดยปลอดดอกเบี้ย 0% นาน 2 ปี ปีแรก วงเงิน 60,000 ล้านบาท ได้แก่ ออมสิน 30,000 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. 30,000 ล้านบาทนั้น รัฐบาลจะเข้าไปชดเชยดอกเบี้ยให้ทั้ง 2 ธนาคาร ช่วง 2 ปีแรก โดยออมสิน จะคิดดอกเบี้ยต้นทุนที่ 2.1% ต่อปี และระหว่าง 3-7 ปี เบื้องต้นจะคิดดอกเบี้ยบวก 1 หรือเท่ากับ 3.1% ต่อปี ส่วน ธ.ก.ส.จะคิดดอกเบี้ยต้นทุน 1.92% ต่อปี และระหว่าง 3-7 ปี เบื้องต้นจะคิดดอกเบี้ยบวก 1 หรือเท่ากับ 2.92% ต่อปี โดยดอกเบี้ยระหว่างปีที่ 3-7 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จะดูแลและจัดการเรียกเก็บดอกเบี้ยให้กับ 2 ธนาคารตามที่กำหนดไว้  ซึ่งจะไม่บวกเพิ่มดอกเบี้ย เนื่องจากรัฐบาลต้องการให้ประชาชนมีเงินทุนในการประกอบอาชีพและดำรงชีวิต คาดว่าจะปล่อยสินเชื่อแล้วเสร็จใน 3 เดือนจากนี้.

 

          บรรยายใต้ภาพ

          ลักษณ์ วจนานวัช

 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 9 ก.ย. 2558