สหกรณ์เดินเครื่องเกษตรแปลงใหญ่มุ่งพัฒนาข้าว-ปาล์มน้ำมัน/เร่งหนุนเปิดโรงงานยาง
ข่าววันที่ : 18 มิ.ย. 2558
Share

tmp_20151806102936_1.jpg

วันที่ ปรับปรุง 18 มิ.ย. 2558

         1.เรื่องข้าว กรมส่งเสริมสหกรณ์จะร่วมทำงานกับกรมการข้าว โดยทำหน้าที่เป็นส่วนกลางน้ำรวบรวมข้าวโดยเฉพาะข้าวกลุ่มเป้าหมาย คือ ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า และข้าวต้องการของตลาด แต่ในส่วนของการบริหารจัดการแปลงใหญ่เรื่องข้าวนั้น กรมการข้าวต้องวางแผนในการปฏิบัติตามความเหมาะสมและนำไปถ่ายทอดเอง

          2.ปาล์มน้ำมัน มีเป้าหมาย คือ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และบริหารจัดการการตลาด ซึ่งมีกลุ่มสหกรณ์ 4 จังหวัดภาคใต้ ในเขตนิคมสหกรณ์ 10 แห่ง 12 นิคม เป็นต้นแบบ โดยจะดำเนินการรวบรวมสมาชิกประมาณ 100-150 ราย มีเนื้อที่ประมาณ 2,000 -5,000 ไร่ ในรัศมี 5 กิโล พร้อมกับเลือกผู้บริหารจัดการแปลงและวางแนวคิดในการที่ลดต้นทุนการผลิต การใช้พันธุ์ปาล์มที่ดี การผลิตได้มาตรฐาน RSPO หรือไม่ ใช้ปุ๋ยอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้จะสนับสนุนการสร้าง "ลานเท" เพิ่มขึ้น เนื่องจากบางพื้นที่อยู่ไกลจากลานเทมากกว่า 14 กิโลเมตร ทำให้มีระยะเวลาในการขนส่งนานและผลปาล์มเสื่อมคุณภาพ ส่งผลให้ราคาตก ซึ่งถ้าหากบริหารจัดการในส่วนนี้เป็นผลสำเร็จเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 8 พันบาทต่อไร่ต่อปี และมีผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 500 ตัน พร้อมกับจะมีการสร้าง

          โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการขนส่งและสกัดน้ำมันปาล์มคุณภาพ

          นายโอภาส กล่าวอีกว่า มาตรการการรวบรวมข้าวนั้น รัฐบาลให้สินเชื่อกับสถาบันเกษตรกรในการรวบรวมข้าววงเงิน 2 หมื่นล้าน ทั้งสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรไปรวบรวมข้าวเปลือกกับสมาชิกและประชาชนทั่วไป โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์รวบรวมข้าวจาก 300 กว่าสหกรณ์ ได้ข้าวประมาณ 1,880,000 ตัน (หนึ่งล้านแปดแสนแปดหมื่นตัน) และอีกมาตรการคือ การรวบรวมยางพารา โดยได้รวบรวมกับสหกรณ์ที่ปลูกยางประมาน 700 กว่าแห่ง ได้ปริมาณยางพาราประมาน 4 แสน 3 หมื่นตัน เป็นเงินประมาน 17,000 ล้านบาท โดยการซื้อยางพาราในแต่ละครั้งนั้น ราคาอาจจะถูกกำหนดโดยกลไกอื่นๆ เช่น เศรษฐกิจโลก กลุ่มผู้ใช้ยาง ซึ่งทำให้ราคายางเกิดการผันผวน

          ในส่วนของภาคการส่งออกยางพารานั้น ขณะนี้มีโรงงานแท่ง STR ที่ส่งออก เพียง 1-2 แห่ง ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอ แต่หากสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรใดที่มีความพร้อมในด้านการบริหารจัดการ สามารถกู้เงินไปสร้างโรงงาน หรือ นำไปปรับปรุงโรงงานที่มีอยู่ ในเบื้องต้นกระทรวงเกษตรฯก็ได้เร่งรัดให้สหกรณ์ที่อยู่ระหว่างทำการขอกู้ ให้รีบดำเนินการให้เสร็จ ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์และทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัด และ ธ.ก.ส. กำลังเข้าไปช่วยสหกรณ์ในการดำเนินการว่า มีการติดขัดในส่วนใดบ้าง เนื่องจากมีการเบิกจ่ายเพียงร้อยกว่าล้าน

          หากโครงการการปรับโครงสร้างโดยการบริหารจัดการแปลงใหญ่ และการเบิกจ่ายเพื่อสร้างโรงงานแล้วเสร็จ จะทำให้เกษตรกร สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อไร่ มีกระบวนผลผลิตที่ได้มาตรฐาน ผลผลิตเป็นไปตามความต้องการของตลาด กลุ่มสหกรณ์มีความแข็งแกร่งสามารถกำหนดและต่อรองราคากับตลาดได้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเกษตรกรต่อไปในอนาคต

 

          บรรยายใต้ภาพ

          โอภาส กลั่นบุศย์

 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก: หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 18 มิถุนายน 2558