เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

จับตา “ปชป.” ฟื้นประกันราคาข้าว! ธ.ก.ส.แจงใช้งบ 6 หมื่นล้านบาท

ข่าววันที่ : 20 มิ.ย. 2562


Share

tmp_20192006091931_1.png

วันที่ ปรับปรุง 20 มิ.ย. 2562

          นายสมเกียรติ กิมาวหา ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.ได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร โดยจากโผคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่คาดว่าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) จะเข้ามาดูแลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงคาดว่ามาตรการที่จะนำมาใช้ช่วยเหลือเกษตรกร คือ การประกันราคาสินค้าเกษตร เช่น การประกันราคาข้าว เหมือนที่เคยทำมา เพื่อทดแทนมาตรการชดเชยรายได้ ของเกษตรกร ของรัฐบาลชุดนี้ โดยจำนวนเงินที่จะใช้ประกันราคาข้าวคาดว่าอยู่ที่ 50,000-60,000 ล้านบาท ซึ่งไม่แตกต่างจากการชดเชยรายได้ของรัฐบาลชุดนี้ โดยฤดูการผลิต 2561/62 ก็ได้ชดเชยรายได้ด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวให้กับชาวนา 4 ล้านราย วงเงิน 56,000 ล้านบาท

          “เงื่อนไขการชดเชยรายได้ของรัฐบาลชุดนี้ กำหนดให้ผู้ที่รับเงินชดเชย ต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรฯ เป็นผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ข้าวหอมปทุมธานี 1 เท่านั้น โดยจ่ายชดเชยให้ไม่เกิน 15 ไร่ ไร่ ละ 1,500 บาท รวมแล้วไม่เกินครัวเรือนละ 18,000บาท เกษตรกรที่ได้รับการชดเชยมากที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2.7 ล้านราย วงเงิน 28,000 ล้านบาท ซึ่งการประกันรายได้ มีวิธีการที่ซับซ้อนกว่า


          การชดเชยรายได้ คือต้องมีการกำหนดราคาข้าว ที่จะประกันว่าอยู่ที่เท่าใด ขึ้นมาเป็นราคากลาง หากราคาข้าวไม่ถึงตามเกณฑ์ ที่กำหนดไว้รัฐบาลจะจ่ายเงินชดเชยให้กับชาวนาเท่าใด ซึ่งรายละเอียดต่างๆ เหล่านี้ ต้องรอนโยบายรัฐบาลชุดใหม่พิจารณา

          ขณะเดียวกัน ราคาข้าวหอมมะลิในปีที่ผ่านมา ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สูง 16,000-18,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก เป็นผลจากการจำกัดพื้นที่ปลูกข้าว และสต๊อกข้าวที่ลดลง รวมทั้งการที่ราคาข้าวสูงขึ้น ยังส่งผลทำให้สินเชื่อชะลอการขายข้าวที่ ธ.ก.ส.ตรียมไว้โดยกำหนดราคาไว้ 15,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก ทำให้ชาวนามาขอกู้น้อยมาก และไม่ว่ารัฐบาลชุดใหม่ จะใช้มาตรการดูแลราคาข้าวอย่างไร ธ.ก.ส.ก็พร้อมปฏิบัติตาม

          “ธ.ก.ส.กำลังดำเนินการประกันภัยพืชผลใน 4 สินค้า คือ ข้าว ข้าวโพด โคนม ลำไย โดยปีนี้มีเป้าหมายรับประกันภัยนาข้าว 30 ล้านไร่ ที่มีพื้นที่ประกันภัย 27 ล้านไร่ มีเกษตรกรร่วมโครงการ 1.9 ล้านราย โดยการประกันภัยให้ความคุ้มครองภัยในกรณีน้ำท่วม แล้ง พายุ อากาศหนาว ลูกเห็บ ไฟไหม้ ศัตรูพืช และปีที่ผ่านมามีการจ่ายสินไหมวงเงิน 1,200 ล้านบาท จากวงเงินเกษตรกรที่ทำประกันภัย 2,400 ล้านบาท”

 

ที่มา  :  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  วันที่ 20 มิถุนายน 2562