เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

อาการ BURN OUT และ BROWN OUT ของคนทำงาน (1)

ข่าววันที่ : 13 พ.ค. 2562


Share

tmp_20191305105357_1.jpg

วันที่ ปรับปรุง 13 พ.ค. 2562

          เคยรู้สึกกันไหมว่า งานที่เราเคยทำได้ดีและ มีประสิทธิภาพมันเริ่มเปลี่ยนไปแล้ว แต่บางครั้ง เราก็ไม่แน่ใจว่า สถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญหน้า อยู่มันคือการหมดไฟ หรือ Burn Out แค่ไหน  หรือมันจะเป็นแค่การ "ฟอร์มตก" Brown Out  ตามปกติทั่วไปและเดี๋ยวมันก็น่าจะดีขึ้นเอง?

          ช่วงหลังๆ มานี่ เราได้ยินหลายคนบ่นว่า "BURNOUT" บ่อยมาก อาการเหนื่อยและ หมดไฟ เกิดขึ้นได้กับคนที่ทำงานหนักหรือมีความเครียดสูง แต่จริงๆ แล้ว ยังมีอีกอาการหนึ่ง ที่พึงระวัง นั่นคือ "BROWNOUT" ที่โดย ภาพรวมแล้วก่อให้เกิดความเสียหาย แรงกว่ามาก เพราะกระทบทั้งเชิงบุคคลและองค์กร

          อะไรคือ BURN OUT แตกต่างจาก BROWN OUT อย่างไร
          Burnout  คือ ภาวะเหนื่อยล้าจากการทำงานที่มีความเครียดหรือกดดันเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเป็นอาการชั่วคราวที่สามารถเยียวยาให้หายได้อันเนื่องมาจากตัวบุคคลเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ Brownout  เป็นภาวะของความเหนื่อยหน่ายกับเงื่อนไขและระบบขององค์กร โดยมักจะไม่แสดงอาการให้เห็นและยังคงทำงานได้เหมือนเดิม แต่ความผูกพันของพนักงานที่มีต่อบริษัทจะค่อยๆ ลดลงจนลาออกไปในที่สุด
          Brownout เป็นภาวะอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น กับคนทำงาน ที่รู้สึกไม่มีความสุข เบื่อหน่าย และทุกข์ทรมานกับเงื่อนไขและระบบบางอย่าง ขององค์กร ซึ่งคนที่มีอาการ Brownout ยังสามารถทำงานได้อย่างปกติ เพียงแต่ความผูกพันของพนักงานกับองค์กรจะค่อยๆ  ลดน้อยลง เกิดการถอยห่างจนกระทั่ง ลาออกจากองค์กรไปในที่สุด
          ส่วน Burnout คือภาวะการหมดไฟ หดหู่ในการทำงาน และเฉยชาต่อทุกสิ่ง เป็นผลมาจากการทำงานที่หนักมากเกินไป ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า
          พูดให้เข้าใจง่ายๆ Brownout เป็นเพียง อาการที่หมดใจในองค์กรแต่ยังมีไฟในการทำงาน แต่ Burnout คือการหมดใจกับทุกสิ่ง ในการทำงานนั้นเอง....

          Burnout Syndrome หนักหนาสาหัสแค่ไหน
          Dr.David Ballard นักจิตวิทยาแห่ง สมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐ เปิดเผยว่า อาการ Burnout Syndrome เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการทำงานหนักมาก จนเกินไปและพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ ความสนใจในงานที่ทำ รวมทั้งประสิทธิภาพ ในการทำงานลดลง
          นอกจากนี้ภาวะความเครียดเรื้อรังก็ทำให้เป็นโรคดังกล่าวได้อีกด้วย สาเหตุของโรคนี้มาจากการที่ความสามารถในการรับมือกับความเครียดของคุณไม่ดีพอจนทำให้คุณไม่สามารถรับมือกับความเครียดมากมายที่ถาโถมเข้ามาได้นั่นเอง

          สัญญาณบ่งบอกอาการ BURN OUT
          Ellen Hendriksen  เจ้าของหนังสือ "How to Be Yourself : Quiet Your Inner Critic and Rise Above Social Anxiety" อธิบายว่า มีอยู่ 3 สัญญาณใหญ่ๆ ที่ช่วยให้เราสังเกตุตัวเองได้ สัญญาณแรก ความรู้สึกอ่อนล้าทาง อารมณ์ (emotional exhaustion) ซึ่งก็มี ความหมายตรงๆ เลยว่า ความรู้สึกที่ไม่ได้ อยากเดินหน้าต่อ เหนื่อยทั้งทางด้านร่างกายและ จิตใจ สัญญาณที่ชัดเจนของโรค Burnout Syndrome คือจะรู้สึกเหนื่อยๆ ตลอดเวลา โดยอาการอ่อนเพลียนี้จะส่งผลกระทบ ต่อภาวะอารมณ์ สภาพจิตใจ รวมทั้ง สภาพร่างกายอีกด้วย  ความเครียดเรื้อรังจะไปรบกวนจิตใจจะทำให้คุณไม่มีสมาธิ ปัญหาของระบบย่อยอาหาร โรค หัวใจ โรคอ้วน สำคัญที่สุดคือโรคซึมเศร้า ซึ่งอันตรายกว่าโรค Burnout Syndrome มาก เมื่อผู้ป่วยด้วยโรคนี้เริ่ม มีอาการที่รุนแรงขึ้น ก็มักจะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ ที่ผิด เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์  บางรายก็อาจจะนอนไม่หลับทำให้ พักผ่อนไม่เพียงพอ เมื่อพักผ่อนไม่เพียงพอ แล้วก็จะแก้ปัญหาด้วยการดื่มกาแฟมากขึ้น เพื่อให้มีแรงในการทำงาน ส่งผลให้เครียดกว่าเดิมและกลับไปดื่มเหล้ามากขึ้น วนเวียนไปมาไม่จบสิ้น
          สัญญาณที่ 2  Depersonalisation หรือ ภาวะที่เราเริ่มไม่มองคนอื่นในฐานะ ตัวบุคคล และเริ่มคิดว่าคนเหล่านั้นเป็นภาระ อะไรบางอย่าง ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน อาการนี้สังเกตได้ง่ายก็คือ หากคุณมีความขัดแย้งกับคนอื่นๆ ในที่ทำงานมากขึ้น หรือ เริ่มคุยกับเพื่อนร่วมงานและคนในครอบครัวน้อยลง เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ซึ่งก็จะทำให้คุณมีความสุขและพึงพอใจกับ ชีวิตส่วนตัวรวมทั้งการทำงานน้อยลง ขนาดแม้แต่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็อาจจะทำให้ คุณรู้สึกไม่พอใจจนทำให้คุณอาจหงุดหงิดไปได้ทั้งวัน สัญญาณที่ 3  การสูญเสียโฟกัส (Losing the ability to focus) เช่น งานรูปแบบเดิมที่เคยใช้เวลาและ กำลังเท่าเดิม แต่มันกลับได้ผลแย่และ น้อยกว่าที่เคยทำมาแบบเมื่อก่อน พูดอีกแบบหนึ่งคือ ทำงานเท่าเดิม (หรือมากกว่าเดิม) แต่ผลลัพธ์น้อยลง เพราะเราไม่มีโฟกัสเหมือนเมื่อก่อนแล้ว งานที่เคยทำได้ดีเริ่มเปลี่ยนไป ไอเดียใหม่ๆ เริ่มเหือดแห้ง อยากรักษาความต่อเนื่องให้ได้เสมอๆ แต่ผลของการทำสิ่งนั้น กลับกลายเป็นคือความรู้สึกฝืนๆ ที่ยิ่งทำให้ งานมันแย่ลงไปกว่าเดิม

          หยุดพักเถอะเมื่อพบว่า BURN OUT
          นอกจากการหยุดพัก เพื่อหาจังหวะใหม่ ในการทำงานให้กับตัวเองแล้ว ยังมีคำแนะนำ ว่า ทางออกในระยะยาวๆ คือ การใช้เวลา ที่หยุดพักนี่แหละมาคิดใคร่ครวญกับตัวเองดู เช่น การตั้งคำถามถึงอนาคตที่เราต้องการ มีอะไรบ้างที่เราต้องปรับปรุง เช่นเดียวกัน เราแบกรับอะไรไว้เยอะเกินไป รึเปล่า แล้วจะสามารถขอความช่วยเหลือ จากใครได้บ้าง
          หลายครั้งที่ภาวะการหมดไฟ มักเกิดขึ้น จากการที่เราแบกรับภาระมากเกินไปจนที่ไม่รู้ตัว ช่วงเวลาพักผ่อนหลังจาก Burn out จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดี ที่เราจะได้ตัดสินว่าพร้อมจะปลดอะไรที่ไม่จำเป็น ออกไปจากชีวิตการทำงานบ้าง

 

ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก  :  หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  วันที่  13  พฤษภาคม 2562