เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

Flexible Benefit กลยุทธ์ซื้อใจพนักงาน

ข่าววันที่ : 7 ธ.ค. 2561


Share

tmp_20180712103751_1.jpg

วันที่ ปรับปรุง 7 ธ.ค. 2561

          กลยุทธ์องค์กรในการผูกใจพนักงาน ในรูปแบบการบริหารสวัสดิการแบบยืดหยุ่น (Flexible Benefit) เป็นสิ่งที่พนักงานองค์กรปัจจุบันต้องการอย่างมาก ไม่เพียงแค่พนักงานรุ่นใหม่ แต่พนักงานรุ่นเก่าก็ปรารถนามานาน แต่ผู้บริหารหลายๆ แห่งเพิ่งจะเห็นดีเห็นงาม และหันมาให้ความสนใจเรื่องนี้
          การบริหารองค์กรยุคใหม่ องค์กรต้องสนองตอบทั้งผลตอบแทนที่เป็นเม็ดเงิน และความช่วยเหลือทางสังคมอื่นๆ ที่จะผูกใจพนักงาน นั่นก็คือ สวัสดิการรูปแบบใหม่ และการบริหารองค์กรแบบมีส่วนร่วม ในบทความหนึ่งของ บริษัท ไอโอดี คอนเซาท์ติ้ง แอนด์ เทรนนิ่ง จำกัด ได้พูดถึงการให้โอกาสคนรุ่นใหม่ได้แสดงความคิดเห็น แสดงออกในสิ่งที่เขาถนัด และมีทักษะ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน ทำให้คนทำงานเกิดความภาคภูมิใจ และส่งผลให้อยากอยู่องค์กร เพราะเขามีโอกาสได้แสดงฝีมือ และเป็นที่ยอมรับในตัวตนของเขา
          องค์กรสมัยใหม่ ยกเลิกกฎเกณฑ์ที่เป็นการบังคับ การตรวจสอบ วิธีการทำงาน รวมทั้ง การมาปฏิบัติงาน การใส่เครื่องแบบ การนั่งโต๊ะทำงานประจำที่ เพราะลักษณะเหล่านี้ เป็นสิ่งที่คน Gen Y ไม่ชอบและพยายามหลีกเลี่ยงองค์กรที่มีสภาพการทำงานแบบเดิมๆ ระบบการทำงานแบบราชการ ไม่ยืดหยุ่น เป็นสิ่งที่คนทำงานยุคใหม่ไม่พึงปรารถนาเลยทีเดียว
          จ๊อบไทย (JobThai) ได้สำรวจรูปแบบการจัดสวัสดิการให้กับพนักงานในองค์กรบริษัทชั้นนำ อาทิ บริษัท ทิงค์เน็ต จำกัด บริษัท ดี.ที.ซี. เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านอาหารภายใต้แบรนด์ "บาร์บีคิวพลาซ่า" และ บริษัท เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ จำกัด พบว่าแต่ละองค์กรมีความยืดหยุ่นในการคัดสรรสวัสดิการให้กับพนักงาน มีการจัดการสวัสดิการให้ตรงตามความต้องการ รวมถึงเหมาะกับแต่ละช่วงอายุ โดยให้ความสำคัญกับไลฟ์สไตล์และความต้องการของพนักงานในแต่ละกลุ่ม ซึ่งแนวทางนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญในการผูกใจและสร้างความจงรักภักดี (Brand Loyalty) ให้กับองค์กรและพนักงาน
          สวัสดิการที่จัดให้พนักงาน เกิดจากการเปิดรับฟังความต้องการ โดยปัจจัยที่องค์กรต้องคำนึงถึง สำหรับการออกแบบสวัสดิการที่มีความยืดหยุ่น ก็คือ
          1. การสร้างความสุขให้พนักงาน - หากพนักงานมีความสุขก็จะเต็มที่กับการทำงาน และจะส่งผลต่อไปยังการสร้างสรรค์ผลงานหรือบริการที่ดีได้ โดยวิธีการสร้างความสุขให้กับพนักงานมีหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่พวกเขาชื่นชอบ สนับสนุนและพัฒนาความรู้ของพนักงานในเรื่องที่พนักงานสนใจ เป็นต้น
          2. การทำให้ออฟฟิศเป็นมากกว่าสถานที่ทำงาน - บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในที่ทำงานเป็นส่วนสำคัญ ที่จะทำให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งบรรยากาศในที่ทำงานไม่ได้หมายถึงสถานที่เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน วิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของพนักงานสามารถทำได้หลายวิธี อาทิ จัดกิจกรรมตามเทศกาลสำคัญ การทานอาหารร่วมกัน
          3. การจัดสรรสวัสดิการที่ตรงกับไลฟ์สไตล์คนทำงาน - เป็นการแสดงให้เห็นถึงการใส่ใจคุณภาพชีวิตพนักงาน และสามารถจูงใจให้พนักงานอยากทำงานกับองค์กรยาวนานขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถดึงดูดให้คนภายนอกอยากมาทำงานกับองค์กรได้มากขึ้นด้วย ซึ่งนอกจากสวัสดิการพื้นฐานแล้ว แต่ละองค์กรยังมีสวัสดิการพิเศษอื่นๆ ที่แตกต่างกันออกไป เช่น การบริหารจัดการเวลาทำงานด้วยตัวเอง สวัสดิการด้านการศึกษา ตลอดจนการมีวันหยุดพิเศษในเดือนเกิด และที่นิยมมากคือ สวัสดิการด้านการท่องเที่ยว ที่ไม่ใช่รูปแบบของการบังคับจัดทริป Outing รวมทั้งบริษัท แต่การจัดทริปท่องเที่ยวที่พนักงานแต่ละคนสามารถเลือกทริปที่จะไปได้เอง ถือเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมาก เพราะเป็นที่ชื่นชอบของพนักงาน


ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก  :  หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 6 - 8 ธ.ค. 2561