เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

การทำงานแห่งอนาคต ยุคหลอมรวมบนวิถีดิจิทัล

ข่าววันที่ : 30 พ.ย. 2561


Share

tmp_20183011144200_1.jpg

วันที่ ปรับปรุง 30 พ.ย. 2561

           ผลการศึกษาโดย ยักษ์พีซี "เลอโนโว" ร่วมกับบริษัทวิจัย "ไอดีซี" เกี่ยวกับ การเพิ่มประสิทธิภาพให้ องค์กรในยุคเปลี่ยนถ่ายสู่ความเป็นอัจฉริยะ (Powering Intelligent Enterprise Transformation) ซึ่งรวมถึงปัจจัยพื้นฐานที่จะทำให้วิถีการทำงานของผู้คนในอีก 2-3 ปีข้างหน้า เปลี่ยนไป ชี้ให้เห็นว่า การทำงานในอนาคตจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างคนและเทคโนโลยีเพื่อให้องค์กรสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลในยุคอุตสาหกรรม 4.0
          ภายในปี 2563 กว่าครึ่งของคนวัยทำงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเป็นกลุ่มคนในยุคมิลเลนเนียล ส่วนที่เหลือจะเป็นคนในยุคเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์, เจนวาย, และเจนแซด
          กลุ่มคนในแต่ละยุคมีความต้องการ ที่แตกต่างกัน ด้วยสาเหตุนี้เองหลายองค์กรในปัจจุบันจึงได้มีการเริ่มหาแนวทางในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อที่ในอนาคตพนักงานจะสามารถทำงานได้จากทุกสถานที่ ทุกเวลา ผ่านทุกอุปกรณ์
          โดยมีเทคโนโลยีที่เป็นตัวขับเคลื่อนอย่าง อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์(ไอโอที), ปัญญาประดิษฐ์(เอไอ), และ เทคโนโลยีโลกเสมือน เออาร์ และวีอาร์ ซึ่งทาง ไอดีซีคาดว่าภายในปี 2564 องค์กรในเอเชียแปซิฟิกจะมีการลงทุนด้านไอซีทีมากถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์
          ส่องวิถีการทำงานในอนาคต
          ไอดีซีชี้ว่า เทรนด์เทคโนโลยีที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงาน ของคนในปีหน้าและปีต่อๆ ไป ได้แก่ ออโตเมชั่น (automation), เซอร์วิส สำหรับทุกสิ่ง (XaaS), การสร้างและ พัฒนาประสบการณ์การทำงานของ พนักงานในองค์กร และการสร้างรายได้จากธุรกิจใหม่ที่แตกต่างไปจากธุรกิจหลักโดยสิ้นเชิง
          นอกจากนี้ พบด้วยว่าองค์กรต่างๆ กำลังหันมาลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ หรือในธุรกิจใหม่ที่มีแนวโน้มว่าจะ สามารถส่งเสริมหรือสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจหลักได้ โดยภายในปี 2566 ประมาณ 30% ของกลุ่มบริษัท Global 2000 จะมีรายได้อย่างน้อย 20% มาจากธุรกิจสตาร์ทอัพหรือในธุรกิจใหม่ที่ได้ลงทุนไว้ โดยผ่านโมเดลคลาวด์ซอร์สซิ่ง(Crowdsourcing) และการรวมข้อมูลแบบอไจล์ (agile aggregation) เพื่อหาบุคลากรและธุรกิจที่มีศักยภาพ
          อย่างไรก็ดี ภาวะขาดแคลนแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้ส่งผลให้ระบบ ออโตเมชั่น และกึ่งออโตเมชั่นที่ช่วย จัดการระบบ IT workflow เข้ามามี ส่วนช่วยเป็นอย่างมากในการลดความยุ่งยากและซับซ้อนของงาน ทั้งจะช่วยให้พนักงานสามารถนำเวลาไปใช้ในการทำงานอื่นได้ ซึ่งการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้ในองค์กรนั้น จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถปรับตัวเข้าสู่ระบบการทำงานอันชาญฉลาดในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น
          ปฏิบัติแบบองค์รวมปฏิรูปที่ทำงาน
          องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ แบบองค์รวมในการยกระดับเทคโนโลยี ดิจิทัลของสามสิ่งสำคัญ ได้แก่ สถานที่ ทำงาน (workplace) วัฒนธรรมองค์กร (workculture) และแรงงาน (workforce) เพื่อเปลี่ยนองค์กรให้เป็นองค์กรอัจฉริยะหรือ "Intelligent Enterprises"
          อย่างไรก็ตาม 60% ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังประสบปัญหากับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในระดับองค์กร เพราะความท้าทายจากหลายด้าน เช่น ความตึงเครียดด้านการค้า, ความปลอดภัยของข้อมูลและการระบุตัวตน, การรักษาความเป็นส่วนตัว, อธิปไตยของข้อมูล, ภาษี, และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา
          ธเนศ อังคศิริสรรพ ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคอินโดจีน บริษัท เลอโนโว (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงและกระตุ้นให้ผู้ใช้งานสามารถดึงศักยภาพที่ตนเองมีอยู่มาใช้ได้อย่างเต็มที่จะเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล "การที่องค์กรจะสามารถให้บริการ ที่เหนือระดับแก่ลูกค้าและการสร้าง คุณค่าในธุรกิจได้นั้นจำเป็นต้องสร้างประสบการณ์การทำงานที่ดีให้แก่พนักงานก่อน ส่วนสำคัญของการสร้างองค์กร แห่งอนาคตคือการมีความเข้าใจว่า พนักงานแต่ละคนต้องการใช้งานดีไวซ์และโซลูชั่นส์ที่ต่างกัน"
          ขณะเดียวกัน การลงทุนในเทคโนโลยีเช่นDevice-as-a-Service, เอไอ และเออาร์กลายเป็นสิ่งสำคัญเพื่อตอบสนอง ต่อความต้องการของผู้ใช้งานที่ต้องการอุปกรณ์ที่คล่องตัวปรับใช้งานได้และให้การเชื่อมต่อผ่านเทคโนโลยีเสมือนได้โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาประสบการณ์ของพนักงานได้โดยการสร้างสถานที่ทำงานที่ชาญฉลาดปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
          เน้นประสบการณ์เหนือระดับ
          ประภัสสร  เพชรแก้ว  นักวิเคราะห์ อาวุโส ไอทีเซอร์วิส ไอดีซี ประเทศไทย กล่าวว่า เทคโนโลยีในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและ ต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพ ความร่วมมือ และประสิทธิภาพของการทำงานในวิธีการที่ต่างกัน
          อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีเป็นเพียงตัวเริ่ม การพัฒนาเพื่อเข้าสู่องค์กรแห่งอนาคตนั้นไม่ใช่แค่การใช้ระบบออโตเมชั่นหรือ การอัพเกรดไดรฟ์ แต่มีอีกหลายปัจจัยที่องค์กรต้องนำมาพิจารณา อาทิ ความแตกต่าง ด้านอายุของพนักงาน, กระแสนิยมในการใช้เอไอ, การเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการ, วินัยในองค์กร, ความเป็นส่วนตัว และ ความปลอดภัย ฯลฯ
          ดังนั้น องค์กรที่จะสามารถเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยุค 4.0 ได้จริงจะต้องเป็นองค์กรที่มีการพัฒนาแบบองค์รวมโดยเน้นการสร้างประสบการณ์ที่เหนือระดับแบบครบวงจรทั้งจากภายนอก ภายใน และส่วนกลาง
          นอกจากนี้ องค์กรยังต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วเพื่อรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและความต้องการของลูกค้า
          "การทำงานร่วมกัน ระหว่างมนุษย์ และหุ่นยนต์จะเป็น กุญแจสำคัญ" ธเนศ อังคศิริสรรพ


ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก  :  หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 30 พฤศจิกายน 2561  หน้า 10