เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

บอร์ด รฟม.ไฟเขียวเดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีชมพูต่อขยายเข้าเมืองทองธานี

ข่าววันที่ : 3 ก.ย. 2561


Share

tmp_20180309155726_1.jpg

วันที่ ปรับปรุง 3 ก.ย. 2561

          บอร์ด รฟม. เห็นชอบแผนส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้าเมืองทองธานี เร่งเครื่องโครงการรถไฟฟ้า "พีพีพี" 4สาย
          นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด)รฟม.ได้มีมติเห็นชอบแผนส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู เข้าไปยังเมืองทองธานี ดังนั้นจึงสามารถดำเนินการได้เลยไม่ติดปัญหาด้านข้อกฎหมายและการเอื้อผลประโยชน์เอกชน เนื่องจากแผนแม่บทที่ครม.เห็นชอบไปแล้วมีเงื่อนไขระบุว่าเอกชนสามารถยื่นข้อเสนอทางเทคนิดเพื่อให้โครงการมีความเหมาะสมได้
          นายภคพงศ์กล่าวต่อว่า ส่วนด้านความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าที่เปิดให้เอกชนร่วมทุน(พีพีพี)สองสายนั้นล่าสุดบอร์ดได้ตีกลับโครงการรไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ วงเงิน 1.4 แลนล้านบาทให้กลับไปจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมก่อนนำกลับมาเสนอบอร์ดในเดือนก.ย.นี้ ส่วนด้านรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 1.01 แสนล้านบาทนั้นยังไม่สามารถเสนอให้บอร์ดพิจารณาได้
          นายภคพงศ์กล่าวอืกว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้ารางเบาภูมิภาคสองสายที่จะเปิดประมูลแบบพีพีพีนั้นเริ่มจากโครงการรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม) จ.ภูเก็ต วงเงิน 3.94 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่ถูกบรรจุในแพคเกจลงทุนระยะเร่งด่วนของปีงบประมาณ 2560 (PPP Fast Track)ขณะนี้กำลังศึกษาแนวทางร่วมทุนพีพีพี คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเสนอบอร์ดพิจารณาในเดือนพ.ย.นี้ก่อนดำเนินการตามแผนที่ตั้งไว้คือชงเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ภายในเดือนเม.ย. 2562และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในปี 2563 ก่อนเปิดให้บริการภายในปี 2566 โครงการนี้สามารถทำได้รวดเร็วเพราะมีผลศึกษาออกแบบและรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)อยู่แล้ว แตกต่างจากโครงการรถไฟฟ้าแทรม จ.เชียงใหม่ วงเงินราว 9 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้กำลังจะเปิดประกวดราคาคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาจัดทำแผนออกแบบและอียอเอ คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาอย่างน้อย 6 เดือน
          ทั้งนี้แทรมภูเก็ตแบ่งเป็น 2 เฟส ซึ่ง รฟม. จะเริ่มดำเนินการเฟส 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง ก่อน โดยมีสถานีทั้งหมด 21 สถานี แบ่งเป็นสถานีระดับพื้นดิน 19 สถานี สถานียกระดับ 1 สถานี และสถานีใต้ดิน 1 สถานี ขณะนี้ รฟม. อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อจัดทำรายงานตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 โดยคาดว่าจะสามารถขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรีราวเดือนเมษายน 2562 ติดตามรายละเอียดและข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ รฟม.


ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก  :  www.posttoday.com