เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หนุนเกษตรกรปลูกกล้วยหอมเขียวส่งออก

ข่าววันที่ : 9 ก.ค. 2561


Share

tmp_20180907100410_1.jpg

วันที่ ปรับปรุง 9 ก.ค. 2561

          กล้วยหอมเขียวคาเวนดิช เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการส่งออกมากที่สุดถึง 95 เปอร์เซ็นต์ในตลาดโลก ประเทศที่ส่งออกกล้วยชนิดนี้มากที่สุด คือ เอกวาดอร์ รองมาคือ ฟิลิปปินส์  ในไทย กล้วยพันธุ์นี้ถือเป็นกล้วยหอมน้องใหม่ที่เกษตรกรเริ่มหันมาปลูกเพื่อการส่งออก


          กล้วยหอมเขียวคาเวนดิช นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการส่งออกมากที่สุดถึง 95 เปอร์เซ็นต์ในตลาดโลก โดยประเทศที่ส่งออกกล้วยชนิดนี้มากที่สุด คือ เอกวาดอร์ รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ สำหรับในประเทศไทย กล้วยพันธุ์นี้ถือเป็นกล้วยหอมน้องใหม่ที่เกษตรกรเริ่มหันมาปลูกเพื่อการส่งออก เนื่องจากในหลายประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ นิยมบริโภคกล้วยหอมชนิดนี้มากกว่ากล้วยชนิดอื่น เพราะมากด้วยคุณค่าทางยาและโภชนาการ สหกรณ์การเกษตรศรีเสลี่ยม จำกัด จังหวัดสุโขทัย เป็นอีกหนึ่งสหกรณ์ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรสมาชิกหันมาปลูกกล้วยหอมเขียวคาเวนดิชเพื่อการส่งออก และแปรรูปขายในประเทศ โดยเน้นตลาดคนรักสุขภาพ เป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกหลังการทำนา


          นายวีรวิชญ์ ศรีปา ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรศรีเสลี่ยม จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมาสมาชิกส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการทำนาเป็นหลัก แต่หลายปีที่ผ่านมา ราคาไม่ดีนักประกอบ


          กับสภาพดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวย ทำให้ผลผลิตและรายได้น้อยลง มีเพียงพอแค่ใช้จ่ายในครัวเรือนเท่านั้น ดังนั้น จึงได้ลองส่งเสริมให้สมาชิกปลูกกล้วยหอมเขียวคาเวนดิชเพื่อส่งออก เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาดและแนวโน้มการส่งออกค่อนข้างดี โดยเริ่มปลูกเมื่อปีที่แล้ว ลองผิดลองถูกด้วยตนเองก่อน แล้วค่อย ๆ ส่งเสริมให้สมาชิกที่สนใจปลูก ปัจจุบันมีสมาชิก


          เข้าร่วมโครงการจำนวน 10 ราย พื้นที่มากกว่า 30 ไร่ โดยสหกรณ์จะมีการปล่อยสินเชื่อเพื่อให้สมาชิกกู้ไปลงทุน จำนวน 20,000 บาทต่อไร่ และคิดดอกเบี้ยพิเศษ นอกจากนั้นยังมีคู่มือการปลูก กล้าพันธุ์ พร้อมทั้งส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลให้คำแนะนำแก่สมาชิกถึงในแปลงอีกด้วย


          “การปลูกกล้วยต่างจากการปลูกข้าว คือ กล้วยสามารถแตกหน่อ ขยายต้นได้เรื่อย ๆ โดย 1 หน่อ ขยายได้ถึง 3 รุ่น การลงทุน 1 ไร่ ประมาณ 18,000 บาท ใช้หน่อกล้วยในการปลูก 320 ต้นต่อไร่ ราคาหน่อละ 35-40 บาท อีกทั้งยังต้องมีการเตรียมดิน ใส่ปุ๋ย ซึ่งการเตรียมแปลงต้องทำดินให้ร่วนซุยมากที่สุด เว้นระยะปลูก 2x2 เมตร ทั้งนี้ ปีแรกอาจจะลงทุนมากหน่อย แต่ในปีต่อไปการลงทุนจะน้อยลงเรื่อย ๆ นอกจากนี้สหกรณ์ยังส่งเสริมให้สมาชิกหมักจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงใช้เอง เพื่อช่วยลดต้นทุน และถ่ายทอดให้สมาชิกรู้จักการบริหารจัดการแปลงที่ดี ซึ่งที่ผ่านมาสมาชิกสามารถคืนทุนและมีกำไรตั้งแต่รุ่นแรก บางรายมีรายได้ไร่ละ 50,000 บาท และคาดว่าในระยะเวลา 2-3 ปี สามารถสร้างรายได้มากกว่า 100,000 บาทต่อไร่เลยทีเดียว”


          สำหรับเทคนิคในการปลูกกล้วยเพื่อให้สามารถส่งออกได้ราคาดีนั้น ต้องคำนวณให้กล้วยที่ปลูกให้ผลผลิตในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ เพื่อไม่ให้ผลผลิตออกตรงกับจีน ราคาจะอยู่ที่ 10 บาทต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ กล้วยที่จะส่งออก ต้องนับอายุหลังจากตัดปลี 65-70 วัน และลักษณะของผลกล้วยจะต้องมีเหลี่ยม เพื่อสะดวกต่อการขนส่งระยะไกล อีกทั้งการบรรจุหีบห่อจะบรรจุเป็นหวี จำนวน 6 หวีต่อกล่อง ดูดซีนสุญญากาศเพื่อไม่ให้อากาศเข้า


          ปัจจุบันนอกจากจะมีการส่งออกกล้วยชนิดนี้ไปยังประเทศฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ดูไบ และจีนแล้ว ยังแปรรูปขายในประเทศด้วย เช่น กล้วยฉาบ กล้วยลูกเดี่ยว โดยตลาดหลักอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก และกำลังผลักดันไปสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด รวมทั้งเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ โรงพยาบาล และโรงเรียนต่อไป


ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก  :  www.dailynews.co.th