เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

พบด้วงกุหลาบ กัดกินใบปาล์มที่พังงา

ข่าววันที่ : 28 มี.ค. 2561


Share

tmp_20182803100858_1.jpg

วันที่ ปรับปรุง 28 มี.ค. 2561

          สำนักงานเกษตรอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา โดยนายไพบูลย์ ทองสุข เกษตรอำเภอทับปุด มอบหมายให้นางสาวรุ่งทิวา รักษาแก้ว และนางสาวรธิดา ทองนุ่น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ พร้อมด้วยนายปรีชา พลันการ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ติดตามอาการแปลงปาล์มน้ำมันของนายสมใจ ทองเจิม หมู่ 7 ตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา
          สำนักงานเกษตรอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา โดยนายไพบูลย์ ทองสุข เกษตรอำเภอทับปุด มอบหมายให้นางสาวรุ่งทิวา รักษาแก้ว และนางสาวรธิดา ทองนุ่น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ พร้อมด้วยนายปรีชา พลันการ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ติดตามอาการแปลงปาล์มน้ำมันของนายสมใจ ทองเจิม หมู่ 7 ตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา
          ตามที่เกษตรกรแจ้งว่าต้นปาล์มที่ปลูกมีอาการคล้ายกับการถูกแมลงศัตรูพืชเข้ากัดกินเสียหายเป็นวงกว้าง ซึ่งจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่พบว่ามีใบปาล์มน้ำมันโดนกัดกินจนใบพรุนโดยทั่วไปในปริมาณที่มากพอสมควรในแต่ละต้น
          ซึ่งคาดว่าน่าเกิดจากศัตรูพืชชนิดด้วงกุหลาบเข้ามากัดกินใบปาล์มน้ำมัน เนื่องจากเป็นต้นปาล์มที่เพิ่งปลูกมีอายุประมาณ 1-2 ปี ซึ่งด้วงกุหลาบมักจะเข้ามากัดกินใบปาล์มน้ำมันที่เพิ่งปลูกใหม่เช่นนี้โดยจะเข้ามากัดกินในช่วงเวลากลางคืน
          สำหรับด้วงกุหลาบนั้น เป็นด้วงปีกแข็งหนิดหนึ่งที่มักพบระบาดรุนแรงในฤดูฝน มี 2 ชนิด คือ ชนิดสีน้ำตาล และชนิดสีดำ แต่ส่วนใหญ่จะพบเป็นชนิดสีน้ำตาล โดยทั่วไปมีขนาดลำตัวประมาณ 0.5-1 เซน ติเมตร ขยายพันธุ์โดยการวางไข่ตามสนามหญ้า ตัวอ่อนจะกินรากหญ้าเป็นอาหาร จนกระทั่งตัวโตเต็มวัย จึงจะออกมากัดกินใบพืช อย่างใบปาล์มน้ำมันอ่อน เป็นอาหารในเวลากลางคืน โดยจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนที่ตาของแมลงชนิดนี้จะมีสีแดงเข้ม
          โดยตัวเมียวางไข่กองอยู่ประมาณ 20-50 ฟอง ตามกองซากพืช กองมูลสัตว์ หรือกองปุ๋ยหมักต่าง ๆ ไข่มีลักษณะเป็นวงรี เปลือกเรียบสีขาวขุ่น ระยะไข่ประมาณ 6-9 วัน ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่จะกินอาหารตามผิวดิน หรือกองมูลสัตว์ หนอนมี 3 วัย ระยะตัวหนอนประมาณ 52-95 วัน หนอนโตเต็มที่ยาว 2-2.5 เซนติเมตร ระยะดักแด้ประมาณ 11-14 วัน
          ตัวเต็มวัยมีลักษณะลำตัวอ้วนป้อมค่อนข้างแบน สีน้ำตาลอ่อน ตาสีดำ ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ตัวเมียอายุ 7-57 วัน เฉลี่ย 28 วัน ส่วนตัวผู้อายุ 7-16 วัน เฉลี่ย 18 วัน
          ด้วงกุหลาบจะออกหากินในเวลากลางคืนระหว่าง 19.00-21.00 น. โดยการกัดกินใบ และดอกทำให้ต้นพืชเสียคุณภาพ ส่วนในเวลากลางวันจะพบตามดินใกล้รากพืช แมลงจะเกาะอยู่ตามใต้ใบแล้วกัดกินใบเป็นอาหาร
          ในต่างประเทศพบเคยระบาดในประเทศ มาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเมียนมา ประเทศอินเดีย ประเทศฟิลิปปินส์ ไปจนถึงประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลีใต้ การป้องกันกำจัด เกษตรกรทำได้ด้วยการเก็บตัวเต็มวัยในเวลากลางคืน หรือติดตั้งกับดักแสงไฟ ควบคู่กับทำลายกองหญ้า หรือ กองมูลสัตว์ไม่ให้เป็นที่เพาะขยายพันธุ์บริเวณแปลงปลูกปาล์มที่เริ่มปลูกใหม่
          ทั้งนี้ด้วงกุหลาบหากลงกัดกินใบแปลงปลูกปาล์มน้ำมันที่ปลูกใหม่แปลงใดแล้ว มันจะชักชวนกันมาเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น เมื่อพบหากไม่รีบดำเนินการกำจัด ต้นปาล์มน้ำมันจะถูกกัดกินจนต้นโทรมและตายหมดทั้งแปลงได้ โดยเฉพาะปาล์มที่ปลูกใหม่อายุ 1-2 ปี


ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก  :  www.dailynews.co.th