เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ราชามะเขือเทศ เกษตรกรยุค 4.0 ติดอาวุธ IoT ฟาร์มแม่นยำ

ข่าววันที่ :23 ส.ค. 2560

Share

tmp_20172308105744_1.jpg

          ว่ากันว่ายุคเปลี่ยนผ่านสู่ "ดิจิตอล" ใครปรับตัวได้เร็ว ย่อมมีความได้เปรียบการแข่งขัน วันนี้ทุกภาคส่วนกาลังประยุกต์ใช้ "เทคโนโลยี" เพื่อการปรับเข้าสู่โลกดิจิตอล ไม่เว้นแม้แต่ภาคการเกษตรที่เป็นเส้น เลือดใหญ่หล่อเลี้ยง ที่เริ่มนาเทคโนโลยี "อินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง" หรือ IoT (Internet of Things) มาใช้

          "ฐานเศรษฐกิจ" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ "ชาตรี รักธรรม" เจ้าของสวนกล้วยอู่ทอง ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ข้าราชการส่งเสริมการเกษตร มนุษย์เงินเดือนที่ ผันตัวเองมาประกอบอาชีพเกษตรกรเต็มตัว  โดยเริ่มปรับปรุงพื้นที่ดินเลื่อมสภาพ 50 ไร่ ที่เคยเป็นไร่ยาสูบเมื่อ 40 ปีก่อน มาเป็นสวนกล้วยอู่ทอง โดยปลูกกล้วย ปลูกฟืชแบบผสมผสานตามการทาเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพดินให้ดีขึ้น ก่อนพัฒนาต่อยอดสู่ "ฟาร์มมะเขือเทศราชา"  ซึ่งเป็นฟาร์มมะเขือเทศแห่งแรกที่มีการนาเทคโนโลยี IoT มาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มผลผลิต

          ชาตรี เล่าว่าเริ่มสร้างโรงเรือนปลูกมะเชือเทศเมื่อเมษายน 2559 เริ่มต้นสร้างโรงเรือนปลูกมะเขือเทศจาก 2 หลัง และมีการประยุกต์นาเทคโนโลยี IoT มาใช้ในการวัดอุณหภูมิ ความชื้น สภาพแสง โดยได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์จาก ดีแทค ซึ่งการนาเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อมะเขือเทศ 1 ต้น จาก 1-2 กิโลกรัม เป็น 3-5 กิโลกรัม เพิ่มรายได้จากต้นละ 100 บาท เป็น 300-500 บาท ภายในระยะ 1 ปี 4 เดือน สามารถขยายโรงเรือนเพิ่มขึ้นเป็น 8 หลัง ภายในปีนี้จะขยายเพิ่มอีก 6 หลัง และเพิ่มอีก 10 หลัง ภายในปีหน้า

          นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์จากช่องทางโซเชียลมีเดีย  โดยเปิดเพจเฟซบุ๊กขึ้นมาเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของการปลูกมะเขือเทศ ในฟาร์มราชามะเขือเทศ ไม่ได้ใช้เป็นช่องทางขายสินค้า เพราะมีความเชื่อว่าถ้าใช้เฟซบุ๊กเพื่อขายสินค้าคนจะไม่ดู อย่างไรก็ตามก็ได้รับอานิสงส์จากคนที่มาเที่ยวในฟาร์ม ที่มีการถ่ายรูป และแชร์บนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ทาให้คนรู้จักฟาร์มราชามะเขือเทศมากขึ้น ซึ่งถือเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์ฟาร์มให้เป็นที่รู้จักโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

          ชาตรี ยังได้แนะนาเกษตรกรที่ต้องการปรับตัวสู่เกษตรกรยุค 4.0 ว่า ก่อนอื่นต้องเริ่มเปลี่ยนความคิดตัวเอง จากเกษตรกรยุคเก่าไปสู่เกษตรกรยุคใหม่  ซึ่งเทคโนโลยีเป็นเพียงตัวช่วย เสริม โดยในยุคไทยแลนด์ 4.0 เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วยสร้างช่องทางตลาดใหม่ และข้อมูล ที่ใช้ในการวางแผนจัดการ ขณะที่ภาครัฐจะต้องเร่งสร้างเกษตรกรตัวอย่างขึ้นมาเป็นต้นแบบ และสร้างองค์ความรู้ให้เกษตรกร

          "ยุคไทยแลนด์ 4.0 เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วยสร้างช่องทางตลาดใหม่"


ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก  :  หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 24 - 26 ส.ค. 2560