เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ฐานข้อมูลองค์ความรู้

            ตามที่ธนาคารกำหนดวิสัยทัศน์ “เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่มั่นคง มีการจัดการที่ทันสมัยให้บริการทางการเงินครบวงจร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร”กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานเพื่อพัฒนาภาคการเกษตรและภาคชนบท โดยให้คนและชุมชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ตามยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มขีดความสามารถภาคการเกษตร สนับสนุนการให้ความรู้และเงินทุนเพื่อพัฒนาภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยี โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อปรับโครงสร้างภาคการเกษตรโดยมุ่งเน้นความยั่งยืนของชุมชน และเชื่อมโยงการเกษตรพื้นฐานสู่การพัฒนาการเกษตรแบบครบห่วงโซ่มูลค่า ครอบคลุมถึงกลุ่มวิสาหกิจ สหกรณ์ และเครือข่ายโครงการประชารัฐ และโครงการสำคัญ(Flagship) ที่ 1 สนับสนุนภาคการเกษตรสู่ความยั่งยืนและทันสมัย

 

            ฝ่ายพัฒนาลูกค้าและชนบท (ฝพช.) จึงจัดทำโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงปีบัญชี 2560 เพื่อตอบสนองภารกิจตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว โดยยกระดับการพัฒนาชุมชนขั้นที่ 1 (พึ่งพาตนเอง ) ไปสู่ชุมชนขั้นที่ 2 (การพึ่งพาซึ่งกันและกัน ) และพัฒนาสู่ขั้นที่ 3 (สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงธุรกิจ ) การพัฒนาดังกล่าวใช้กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินงาน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (พ.ศ.2557 – 2560) ของรัฐบาล 

 

            ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนได้อย่างยั่งยืนธนาคารจึงกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ 


            1. พัฒนาชุมชนต้นแบบฯ ให้เกิดความเข้มแข็งทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมตามระดับขั้นการพัฒนา ที่สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละชุมชน

            2. พัฒนาชุนชนต้นแบบฯ ให้สามารถตอบสนองต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรลูกค้า และสมาชิกในชุมชน โดยบูรณาการร่วมกับโครงการต่างๆ ของธนาคาร เช่น โครงการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนในชุมชนต้นแบบฯ โครงการสินเชื่อ 1 ตำบล 1 SMEเกษตร เพื่อสร้างความยั่งยืนของเกษตรกรไทย โครงการ 1 สนจ. 1 ผลผลิตหลัก การสนับสนุนให้เกิดกลุ่มการเงินเพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นสถาบันการเงินชุมชนรองรับธุรกิจ SMEเกษตรในอนาคต พัฒนากลุ่มอาชีพของเกษตรกรให้เป็นวิสาหกิจชุมชน พัฒนาลูกค้าให้เป็นผู้ประกอบการ Smart Farmer และพัฒนาช่องทางการตลาดผ่านระบบการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Market) โดยให้มีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย เพื่อเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก  

            3. สนับสนุนให้มีร้านค้าชุมชนในชุมชนต้นแบบฯ ขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 เพื่อเป็นสถานที่จำหน่ายผลผลิตของชุมชน ปัจจัยการผลิต สินค้าอุปโภคบริโภคในราคาที่เป็นธรรมให้กับสมาชิกในชุมชนและเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมผลผลิตหลักของชุมชนเขื่อมโยงสู่ตลาดภายนอกอย่างเป็นระบบ

            4. กำหนดชุมชนต้นแบบ ฯ ขั้นที่ 2 หรือ ขั้นที่ 3 เป็นชุมชนของการเรียนรู้ร่วมกันของพนักงานสาขาละ 1 ชุมชน โดยมอบหมายให้พนักงานพัฒนาลูกค้าประจำ สนจ. ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงและผู้สอนงาน (On the job Training ) 

            5 สนับสนุนชุมชนต้นแบบฯขั้นที่ 3 ที่มีการดำรงสถานะครบ 1 ปีเป็นแม่ข่ายขยายงานด้านการพัฒนาไปยังชุมชนข้างเคียงให้เกิดเป็นชุมชนลูกข่ายการพัฒนา เพื่อขยายผลการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ชุมชนอื่น ๆ 

            6. พัฒนาชุมชนต้นแบบฯขั้นที่ 3 สู่การเป็นชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพสูง (ขั้นที่ 3+) 

            7. ส่งเสริมความรู้ทางด้านการเงิน ( Financial Literacy) เพื่อให้เกิดวินัยทางการเงินรู้จักการใช้เงินอย่างถูกต้องโดยใช้หลัก 3 รู้ คือ รู้ชีวิต รู้การออม รู้ก่อนกู้ สามารถบริหารจัดการหนี้ในชุมชนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม

ผู้เข้าชม 754