เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการเกร็ดน่ารู้ » รายละเอียดเกร็ดน่ารู้

เกร็ดน่ารู้ เรื่อง Augmented Reality (AR) เทคโนโลยีล้ำสมัย ต่อยอดธุรกิจ (1)




          ภายในเดือนแรกของการให้บริการ โดยปัจจัยแห่งความสำเร็จของ Pokemon GO คือ การนำเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) มา สร้างตัวการ์ตูนให้ปรากฏเป็นภาพเสมือน และเคลื่อนไหวได้เหมือนมีชีวิตจริงบน Smartphone ในสถานที่ต่างๆ ที่ผู้เล่นเกมเดินทางไปเพื่อตามหาตัวการ์ตูน และด้วยความโด่งดังของเกมดังกล่าว ทำให้เทคโนโลยี AR เป็นที่รู้จักมากขึ้น

          ดังนั้น เพื่อก้าวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัล ส่องเทรนด์โลกฉบับนี้จะนำท่านผู้อ่านทำความรู้จักกับเทคโนโลยี AR ให้มากขึ้น พร้อมยกตัวอย่างประสบการณ์ของบริษัทชั้นนำของโลกในธุรกิจต่างๆ ที่นำเทคโนโลยี AR มาประยุกต์ใช้

          ทำความรู้จักกับเทคโนโลยี AR

          Augmented Reality (AR) คือเทคโนโลยีที่ใช้สร้างตัวอักษร ข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอให้เกิดขึ้นเป็นภาพเสมือนซ้อนทับกับภาพจริงปรากฏบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ Smartphone, Tablet, แว่นตาอัจฉริยะ (Smart Glasses) และอุปกรณ์แสดงภาพเสมือนแบบสวมศีรษะ (Head Mounted Display)  ซึ่งติดตั้งแอพพลิเคชั่น AR ทั้งนี้ ตัวอย่างแอพพลิเคชั่น AR ที่แบ่งตามลักษณะการทำงานมีดังนี้

          1.Marker-based เป็นแอพพลิเคชั่น AR ที่อ่านสัญลักษณ์ AR Code ซึ่งเมื่อผู้ใช้งานส่องกล้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปยังภาพหรือบริเวณที่มีสัญลักษณ์ AR Code ระบบจะประมวลผลสัญลักษณ์ดังกล่าวออกมาเป็นภาพ 3 มิติ หรือภาพเคลื่อนไหวปรากฏบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

          2.Location-based คือแอพพลิเคชั่น AR ที่ทำงานร่วมกับระบบ Global Positioning System (GPS) ของ Smartphone ทำให้สามารถระบุตำแหน่งของผู้ใช้งานและเมื่อส่องกล้อง Smartphone ไปยัง สถานที่รอบตัวผู้ใช้งาน ระบบจะประมวลผลแล้วส่งภาพเสมือนหรือวิดีโอซ้อนทับกับสถานที่ที่ผู้ใช้งานอยู่ สร้างความรู้สึกให้กับผู้ใช้งานเสมือนกับเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ

          ประโยชน์ของ AR ษ

          จุดประกายสร้างโอกาสต่อยอดธุรกิจ

          Global Market Insights Inc. ประเมินว่ามูลค่าตลาดเทคโนโลยี AR ทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และซอฟต์แวร์ จะพุ่งแตะระดับ 1,650 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2567 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราวร้อยละ 81 ต่อปี (CAGR) ในช่วงปี 2559-2567 โดยคาดว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจทางการแพทย์จะนำเทคโนโลยี AR ไปใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย ปัจจุบันตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน AR ในธุรกิจต่างๆ มีดังนี้

          ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าระดับโลกเล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยี AR และนำมาต่อยอดใช้ในงานประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขาย เพื่อสร้างโอกาสให้ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น อาทิ IKEA (ผู้จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่ของโลก) นำเสนอแอพพลิเคชั่น AR ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกเฟอร์นิเจอร์จากหนังสือแสดงรายการสินค้าที่มี AR Code และใช้ Smartphone หรือ Tablet ส่องไปยังบริเวณที่ต้องการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งภาพเฟอร์นิเจอร์เสมือนจริงจะปรากฏในบริเวณดังกล่าว ช่วยให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ให้เข้ากับสถานที่ติดตั้งได้อย่างเหมาะสม

          ขณะที่ SEPHORA (ร้านจำหน่ายเครื่องสำอางของฝรั่งเศสที่มีสาขาทั่วโลก) นำเทคโนโลยี AR มาจำลองภาพการแต่งหน้าให้กับลูกค้า ช่วยให้ลูกค้าสามารถเลือกสีเครื่องสำอางให้เข้ากับสีผิวของตนเองได้ดียิ่งขึ้น ส่วน Heinz (ผู้ผลิตและจำหน่ายซอสมะเขือเทศชื่อดังของโลก) กระตุ้นยอดจำหน่ายสินค้าด้วยหนังสือสอนทำอาหาร 3 มิติ ซึ่งจะปรากฏอยู่ข้างขวด เมื่อมองผ่านแอพพลิเคชั่นบน Smartphone หรือ Tablet กลยุทธ์ดังกล่าวจูงใจให้ลูกค้าอยากซื้อสินค้าเพื่อกลับไปทดลองประกอบอาหารตามรายการดังกล่าวที่บ้าน

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 28 เมษายน 2560