เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการเกร็ดน่ารู้ » รายละเอียดเกร็ดน่ารู้

เกร็ดน่ารู้ เรื่อง ถ้าคุณแน่...อย่าแก่ก่อนรวย




          ทุนมนุษย์ (Human Capital) มันคือเวลาในชีวิตแต่ละวัน ไม่ว่าจะทำงาน เที่ยวหรือ ไปล่าแสงเหนือ ในช่วงวัยหนุ่มสาว เรียนจบใหม่ เราจะมีทุนส่วนนี้มาก คือ ความกระหาย ไฟแรง แต่ข่าวร้ายคือ ทุนส่วนนี้จะค่อยๆ ลดลงตามอายุที่มากขึ้นมีความอิ่มตัว ทั้งทางร่างกายและจิตใจ พลังงานที่ควักออกมาใช้ได้ในแต่ละวันน้อยลงเรื่อยๆ จนถึงวัยเกษียณที่ทุนมนุษย์ของคุณจะเท่ากับศูนย์ คือจุดที่เลิกทำงาน

          ทุนการเงิน (Financial Capital) ก็คือ ทรัพย์สินสะสมของคุณที่เกิดจากการออม เงิน ลงทุน ซื้อที่ ซื้ออสังหาฯ หักภาระหนี้และค่าเสื่อมทั้งหมดออก แน่นอนว่าถ้าคุณมีการจัดการเงินสักหน่อย ทุนการเงินจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น ตามระยะเวลาและจะแตะระดับสูงสุด (ไม่ว่า มันจะเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่) ในวันที่คุณเกษียณ เพราะหลังจากนั้น ทุนการเงินจะค่อยๆ ลดลงจากการทยอยนำเงินมาใช้ในชีวิตบั้นปลาย (อย่าลืมว่าตอนนั้น ทุนมนุษย์คุณหมดแล้ว)

          ทุกๆ วันโดยธรรมชาติ เราเหมือนจะทยอย เอาพลังชีวิตของเรามาเปลี่ยนเป็นตัวเงินทีละน้อยๆ ซึ่งทั้งสองส่วนมีความสัมพันธ์ ในลักษณะสวนทางกันชัดเจน (ภาพที่ 1) ประเด็นก็คือ ท่านจะมีชีวิตที่มีความสุขในยามเกษียณได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าท่านพัฒนาทุนสองส่วนนี้ได้ดีแค่ไหน วัตถุประสงค์ คือทำให้ทุนการเงินมีมูลค่าสูงสุดบนทุนมนุษย์(ระยะเวลา) ที่มีเท่ากันทุกคน

          แล้วจะทำอย่างไรได้บ้าง ผมขอนำเสนอการพัฒนาใน 2 ส่วน

          1.พัฒนาทุนมนุษย์ คนส่วนหนึ่งที่มีศักยภาพ ในตนเองสูง อาจนำทุนการเงินบางส่วนกลับมา สร้างให้ตัวเองมีมูลค่าสูงขึ้น เช่น การเรียนต่อ หรือสอบใบอนุญาตเพื่อยกระดับหน้าที่การงาน เพื่อให้ในแต่ละวันสามารถเปลี่ยนทุนมนุษย์ให้เป็นทุนการเงินในปริมาณที่มากขึ้นได้

          2.จัดการให้ทุนการเงินโตอย่างต่อเนื่อง เริ่ม จากทยอยสะสมเงินเก็บ ต่อยอดนำไปลงทุนเพิ่มเติม เช่น พันธบัตร หรือกองทุนรวม หรือ หุ้นรายตัวแบบทยอยซื้อ DCA และต่อเนื่องรวมไปถึงที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ถ้าท่านมีทุนการเงินที่เพิ่มมากขึ้นตามช่วงอายุ

          ข้อชวนสังเกตและพึงระวัง

          * ในส่วนแรก เป็นสิ่งที่ทุกท่านเข้าใจและ ทำอยู่แล้ว แต่อาจจำกัดอยู่เพียงแค่การศึกษา ซึ่งที่จริงแล้ว การเรียนรู้จากการทำงานนอกเหนือ ขอบเขตหน้าที่ พื้นที่ใหม่ๆ ก็เป็นบทเรียนที่ดี ได้เช่นกัน

          * สำหรับส่วนที่สอง หลายท่านเลือกการฝากธนาคารหวังไปใช้ยามเกษียณ แต่ผมคิดว่าเป็น วิธีที่มีความเสี่ยงอยู่ในตัว เพราะอัตราดอกเบี้ย ในระดับต่ำและเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นอาจทำ ให้มูลค่าของเงินลดลงจนไม่พอใช้อย่างน่าใจหาย โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลที่ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ค่าเตียงเดี่ยวโรงพยาบาลเอกชน แพงขึ้นประมาณปีละ 6.8% โดยเฉลี่ย (ดอกเบี้ยฝากไม่ถึง 1% ขนลุกไหมครับ)

          * บางคนหวังพึ่งพา "ตัวเองในอนาคต" มากเกินไป โดยการใช้จ่ายเกินตัวและหวังใช้ รายได้ในอนาคตมาชดเชย เพิ่มภาระและข้อจำกัด ให้ตัวเองในอนาคตโดยอัตโนมัติ ซึ่งนอกจากจะทำให้ทุนการเงินในปัจจุบันลดลงอย่างมีนัยสำคัญแล้ว ยังทำให้ไม่สามารถพัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

          * จากการค้นคว้าทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติด้วยตัวเอง พบว่า ทั้งสองส่วนยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีเพราะมีผลของดอกเบี้ยทบต้นด้วยกันทั้งคู่ เช่น หากคุณลงทุนด้วยเงินเท่าๆ กันทุกเดือนตั้งแต่อายุ 25 จนถึงอายุ 65 ปี ส่วนของเงินที่ปลายทางจะมาจากเงินที่ลงทุนช่วง 10 ปีแรกมากกว่า 30 ปีหลังเสียอีก

          อธิบายจนเข้าใจกระจ่างแล้ว หากต้องการเริ่มลงมือ วันนี้ทำอย่างไรได้บ้าง

          NTER by FINNOMENA ช่วยท่านพัฒนา ทุนการเงินให้มีประสิทธิภาพ สะดวกและสอดคล้องกับชีวิตคุณมากขึ้น

          เราเป็นทีมผู้มีประสบการณ์ตรงด้านการลงทุนในกองทุนรวม ให้บริการจัดพอร์ตและลงทุนจริง แนะนำปรับพอร์ตตามสภาวะการลงทุน ผ่านระบบ NTER.io

          ข่าวดี NTER ให้บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เพิ่มเติม สามารถลงทะเบียนเพื่อทดลองใข้งาน ได้ที่ http://bit.ly/NTER-Posttoday

          สุดท้ายขอฝากไว้สั้นๆ ว่า "ทำ-วัน-นี้-ดี-กว่า-พรุ่ง-นี้" แน่นอนครับ

 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 7 ก.พ. 2560