เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการ E-clipping » รายละเอียด E-clipping
รัฐจ่อควัก 5 พันล้านชดเชย "กองทุนอ้อยฯ"

          พิษราคาน้ำตาลตกต่ำ รัฐบาลจ่อควักเพิ่ม 5 พันล้าน ชดเชยกองทุนอ้อยและน้ำตาล หลังปริมาณผลิตน้ำตาลล้นตลาด"จักรมณฑ์" แจงครม.หวั่นกระทบนโยบายโซนนิ่งเกษตร  เปลี่ยนนาข้าวปลูกอ้อยแทน

          แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม  เปิดเผยว่า ปัจจุบันราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลก ได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยราคาน้ำตาลทรายดิบซื้อขายล่วงหน้างวดส่งมอบเดือน  ก.ค. 2558 ราคาลดลงเหลือ 12.5 เซนต์ต่อปอนด์ ถือเป็นราคา ที่ต่ำกว่าต้นทุน ที่ใช้คำนวณราคาอ้อยขั้นต้น ปีการผลิต  2557/58 อยู่ที่ 18 เซนต์ต่อปอนด์ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวได้นำมาคำนวณราคาอ้อยขั้นต้น ให้แก่ชาวไร่ที่  900 บาทต่อตันอ้อย

          แหล่งข่าวกล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคา น้ำตาลลดลงต่อเนื่อง   เป็นผลจากปริมาณน้ำตาล ที่ล้นตลาด  โดยเฉพาะจากบราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิต และส่งออกรายใหญ่ของโลก  ขณะที่ความต้องการในตลาดไม่ได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยัง ไม่ฟื้นตัว  ค่าเงินเรียลของบราซิลได้อ่อนค่าลง กว่า 50% จากเดิม 2 เรียลต่อดอลลาร์ มาเป็น 3.5 เรียลต่อดอลลาร์ ทำให้บราซิลต้องเร่งส่งออก น้ำตาลเพิ่มขึ้น ปัจจุบันบราซิลเป็นประเทศผู้ส่งออก น้ำตาลทรายอันดับ 1 ของโลก ในปริมาณ  30 ล้าน ตันต่อปี ขณะที่ไทยส่งออกอันดับ 2 ปริมาณ 8 ล้านตัน ต่อปี  ส่วนอินเดียการส่งออกอยู่ 2  ล้านตันต่อปี

          สำหรับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายชดเชยโรงงานน้ำตาลเพิ่ม จากราคาน้ำตาลที่ปรับตัวลดลงจากการ ประเมินเบื้องต้นคาดว่าอยู่ที่  1.3  หมื่นล้านบาท ซึ่งประเมินจากน้ำตาลที่บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทยขายน้ำตาลออกไปแล้ว  87%  ราคาเฉลี่ย 15 เซนต์ ต่อปอนด์  ถ้าขายส่วนที่เหลืออีก 13%  ราคาปัจจุบัน คือ 12 เซนต์ต่อปอนด์ คาดว่าราคาน้ำตาลเฉลี่ย ที่ขายได้ปีนี้จะอยู่ที่ 15.1 เซนต์ต่อปอนด์

          แหล่งข่าว กล่าวว่า สิ่งที่น่ากังวลถ้าราคาน้ำตาลในตลาดโลกยังตกต่ำต่อเนื่อง  อาจจะทำให้ ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายที่จะประกาศเมื่อสิ้นฤดูกาลออกมาต่ำกว่าอ้อยขั้นต้น ถ้าเป็นแบบนี้จะทำให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายต้องจ่ายเงินชดเชย ให้กับโรงงานน้ำตาลในส่วนของส่วนต่างระหว่างราคาอ้อย  ขั้นต้นและขั้นสุดท้ายเพิ่มขึ้น  เรื่องนี้ สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีแล้ว  ถ้าต้องจ่ายจำนวนดังกล่าวและโรงงานน้ำตาลต้องการเงินเลยกองทุนน้ำตาล มีเงินที่นำออกมาใช้ได้ประมาณ  7,000-8,000 ล้านบาท อาจต้องจัดสรรงบประมาณหรือ กู้เพิ่มอีก 5,000 ล้านบาท

          "ข้อกังวลนี้ นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรมได้รายงานที่ประชุมครม. แล้ว  รวมถึงกรณีที่บราซิลและอินเดียเตรียมจะฟ้องต่อองค์การการค้าโลก(WTO)  กรณีที่รัฐบาลใช้นโยบายอุดหนุนผู้ผลิตอ้อยด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้สั่งที่ประชุมครม. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมไปปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายโดยด่วน  ศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับการทำนโยบายโซนนิ่งเกษตรส่งเสริม ให้ปลูกอ้อย แทนการปลูกข้าว   หากมีการปลูกอ้อย เพิ่มขึ้นแต่ราคาน้ำตาลตกต่ำ" แหล่งข่าว กล่าว สำหรับเงินที่จะนำไปจ่ายเป็นเงินเพิ่ม ค่าอ้อยฤดูผลิต 2558/59  ล่าสุดครม.ได้อนุมัติให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  (ธกส.) จำนวน 1.6 หมื่นล้านบาท ทำให้หนี้ ล่าสุดที่กองทุนอ้อยและน้ำตาลต้องชำระให้ ธ.ก.ส. ล่าสุดอยู่ที่ 1.7  หมื่นล้านบาท  โดย หนี้จากฤดูกาลก่อนหน้าแทบไม่เหลือ เนื่องจาก กองทุนอ้อยและน้ำตาลได้นำเงินที่มีอยู่ไป ชำระกับ ธ.ก.ส.ก่อนประมาณ 6,000 ล้านบาท เพื่อลดภาระดอกเบี้ย

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 9 มิถุนายน 2558  หน้า 7

 



เอกสารที่เกี่ยวข้อง