เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการ E-clipping » รายละเอียด E-clipping
คอลัมน์: ทำกินถิ่นอาเซียน: อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทยแข่งขันไม่ได้ในอาเซียน

          ความต้องการน้ำมันปาล์มที่เพิ่มขึ้นในยุคนั้นเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการขยายตัวของแหล่งผลิตปาล์มน้ำมันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามมา โดยเฉพาะพื้นที่ในเกาะชวาและเกาะสุมาตราของอินโดนีเซียตลอดจนคาบสมุทรมลายูและเกาะบอร์เนียวของมาเลเซีย เพราะการผลิตน้ำมันหล่อลื่นจากน้ำมันปาล์มมีต้นทุนต่ำกว่าการผลิตจากวัตถุดิบประเภทอื่น

          ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 แม้การใช้น้ำมันปาล์มเพื่อเป็นน้ำมันหล่อลื่นจะหดตัวไปแต่ความสำคัญของการใช้น้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชเพื่อการบริโภคในครัวเรือนกลับมีการค้าขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เพราะมีราคาเปรียบเทียบต่ำกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ระดับราคาพลังงานจากฟอสซิลที่มีราคาปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ทำให้ปาล์มน้ำมันเพิ่มมิติจากพืชอาหารมาเป็นพืชพลังงานโดยการนำมาใช้ในการผลิตไบโอดีเซลอีกมิติหนึ่งอีกทั้งในปัจจุบันปาล์มน้ำมันยังเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของสารสังเคราะห์ต่างๆ ที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมปลายน้ำต่างๆ เช่น สบู่ นมข้นหวาน เนยเทียม ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น

          ในประชาคมอาเซียนมีผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบคิดเป็นร้อยละ  88.9 ของผลผลิตน้ำมันปาล์มโลกจำนวน 52.81 ล้านตัน ในจำนวนนี้มีอินโดนีเซียและมาเลเซียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่หรือร้อยละ 94 ของผลผลิตปาล์มในอาเซียนทั้งหมด อีกทั้งทั้งสองประเทศเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ในตลาดการค้าน้ำมันปาล์มของโลกด้วยเช่นกัน

          สำหรับประเทศไทยการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มเป็นเพียงการผลิตเพื่อพึ่งพิงตนเองเท่านั้น โดยมีผลผลิตผลปาล์มเพียง 12.5 ล้านตัน หรือร้อยละ 5 ของผลผลิตผลปาล์มในอาเซียน ผลผลิตจำนวนนี้ผลิตเป็นน้ำมันปาล์มดิบได้ประมาณ 2.15 ล้านตันเท่านั้น ทั้งนี้ เพราะนโยบายในอดีตของไทยขาดการพัฒนาในกระบวนการผลิตต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตผลปาล์มและรวมถึง น้ำมันปาล์มของไทยแข่งขันไม่ได้หากเทียบกับความก้าวหน้าของมาเลเซีย

          อีกทั้งมาเลเซียยังได้สร้างวิสัยทัศน์ไว้ชัดเจนว่าในอีกสองทศวรรษข้างหน้าจะพัฒนาปาล์มน้ำมันให้เป็นหนึ่งในฐานเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศเพื่อยกระดับมูลค่าเพิ่มให้วัตถุดิบและตัวสินค้าในตลอดห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันอีกด้วย

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 10 มิถุนายน 2559 หน้า 6



เอกสารที่เกี่ยวข้อง