ประวัติความเป็นมาและการก่อตั้ง ธ.ก.ส.   | กำเนิด ธ.ก.ส.   |  ผู้ก่อตั้ง ธ.ก.ส. |  ธ.ก.ส. : ๕ ทศวรรษ

การประชุมหอจดหมายเหตุ

เอกสารสรุปการบรรยาย

 ภาพกิจกรรม

        ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีแนวความคิดที่จะจัดตั้งธนาคารของชาวไร่ชาวนา หรือ ธนาคารเกษตร   เพื่อช่วยปลดเปลื้องหนี้สินของเกษตรกร  ทั้งนี้  เนื่องจากเกษตรกรมีเงินทุนไม่เพียงพอสำหรับเป็น  ค่าใช้จ่ายในระหว่างฤดูการเพาะปลูก   ดังนั้น  เกษตรกร   จึงต้องกู้ยืมเงินจากเอกชนโดยเสียดอกเบี้ยอัตราสูง  หรือบางครั้งต้องขายผลผลิตให้แก่ผู้ให้กู้เงิน  ซึ่งกำหนดราคาตามชอบใจ   เกษตรกรอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบและมีหนี้สินพอกพูนตลอดเวลา
     
      อย่างไรก็ตาม  ขณะนั้นรัฐบาลมีปัญหาด้านเงินทุนในการจัดตั้งธนาคาร  เนื่องจากท้องพระคลังมีเงินจำกัดประกอบกับมีสหกรณ์การเกษตรในรูปของสหกรณ์ที่อาศัยเงินทุนหมุนเวียนจากธนาคารสยามกัมมาจลจำกัด   และจากพระคลังออมสิน  ดังนั้นเกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์จึงได้อาศัยเงินทุนจากสหกรณ์เพื่อนำไปใช้ลงทุนประกอบอาชีพเกษตร  ความคิดที่จะตั้งธนาคารเกษตร  หรือธนาคารชาวนาในครั้งนั้นจึงได้ล้มเลิกไป

      นับจากปี  พ.ศ. ๒๔๙๐  เป็นต้นมา  กิจการสหกรณ์เริ่มเติบใหญ่ขึ้น  รัฐบาลจึงได้จัดตั้ง ธนาคารเพื่อการสหกรณ์  เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนอำนวย     สินเชื่อแก่สหกรณ์เพื่อทำหน้าที่เป็นแหล่งทุนอำนวยสินเชื่อแก่สหกรณ์ทั้งหลายที่มีอยู่ในประเทศไทย        จนกระทั่งในปีพ.ศ. ๒๕๐๙  รัฐบาลได้ทบทวนและพิจารณาการจัดตั้งธนาคารขึ้นใหม่  เพื่อทำหน้าที่แทนธนาคารเพื่อการสหกรณ์